จะติดฟิล์มกรองแสงต้องเลือกแบบไหนถึงจะดี

ประสบการณ์ใช้รถ | 6 ธ.ค 2561
แชร์ 0

การติดฟิล์มกรองแสงไม่ได้เพียงแค่ช่วยให้สายตาได้ไม่ต้องทำงานหนักเมื่อเจอแสงจ้าเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวกันความร้อนจากอากาศที่ร้อนมหาศาลของบ้านเราอีกด้วย แต่การติดฟิล์มกรองแสงก็มีข้อจำกัดเหมือนกันนะคะ บทความนี้เลยจะมาแนะนำเรื่องการติดฟิล์มกรองแสงว่าติดแบบไหนถึงจะดี และติดฟิล์มกรองแสงในความเข้มระดับเท่าไหร่ดีค่ะ

ติดฟิล์มกรองแสงทั้งทีจะเลือกติดแบบไหนดี?

ติดฟิล์มกรองแสงทั้งทีจะเลือกติดแบบไหนดี?

แม้ว่าบ้านเราจะยกเลิกกฎหมายควบคุมความเข้มฟิล์มกรองแสงไปตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งข้อดีก็คือมีอิสระในการเลือกใช้ แต่ก็มีผลเสียอยู่บ้าง เพราะอาจมีผู้ไม่หวังดีใช้ประโยชน์จากความเข้มของฟิล์มก่ออาชญากรรมโดยใช้รถยนต์ได้ และไม่เพียงแต่เรื่องของความเข้มเท่านั้น สิ่งหนึ่งที่เราเข้าใจผิดกันบ่อยๆ ก็คือเรื่องระดับความเข้มที่มีผลต่อการช่วยลดความร้อนภายในตัวรถ และนั่นคือความเข้าใจที่ผิด เพราะสิ่งที่ช่วยลดความร้อยของรถยนต์ไม่ใช่สีของฟิล์ม แต่เป็นสารเคลือบตัวอื่นต่างหาก

ฟิล์มกรองแสงเป็นวัสดุโปร่งใสที่มีคุณสมบัติลดความร้อน ลดรังสียูวี หรืออัลตร้าไวโอเลต รังสีอินฟราเรด และช่วยลดความร้อนจากแสงแดดที่จะเข้ามาภายในห้องโดยสารรถยนต์ สำหรับฟิล์มกรองแสงแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ดังนี้

ดูเพิ่มเติม
>> 
7 ทิปเลือกฟิล์มกรองแสงเพื่อสไตล์และประโยชน์ต่อผู้ใช้รถ
>> 
ความเข้มของฟิล์มกรองแสง ผิดกฎหมายหรือเปล่า?​

 

ถ้าหากเป็นฟิล์มย้อมสีหลังจากที่ใช้ไปได้สักพักสีจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีม่วง ซึ่งเป็นอันตรายต่อวิสัยทัศน์การขับขี่อย่างมาก

ถ้าหากเป็นฟิล์มย้อมสีหลังจากที่ใช้ไปได้สักพักสีจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีม่วง ซึ่งเป็นอันตรายต่อวิสัยทัศน์การขับขี่อย่างมาก

1. ฟิล์มย้อมสีธรรมดา เป็นฟิล์มแบบไม่มีส่วนผสมของสารป้องกันรังสีที่มาจากแสงแดด ฟิล์มชนิดนี้จะมีคุณสมบัติเฉพาะในส่วนของการกรองแสงจากดวงอาทิตย์ให้อ่อนลงเมื่อส่องผ่านกระจกเข้ามาภายในตัวรถเท่านั้น ฟิล์มประเภทนี้จะลดความเข้มของแสงได้เพียงอย่างเดียว แต่จะไม่สามารถกรอง หรือลดอันตราย และความเข้มของรังสีต่างๆ ที่แฝงมากับแสงแดดได้ ฟิล์มชนิดนี้จึงไม่ค่อยได้รับความนิยม และฟิล์มแบบนี้ก็กันความร้อนได้ไม่เกิน 50% มักมีราคาถูกประมาณ 800-1,500 บาท/คัน และอายุการใช้งานสั้นประมาณ 3-5 ปี

2. ฟิล์มกันความร้อน เป็นฟิล์มที่มีส่วนผสมของสารป้องกันรังสีที่มาจากแสงแดด ตัวเนื้อฟิล์มจะมีการเพิ่มวัสดุพิเศษซ้อนเข้าไปเพื่อเป็นตัวป้องกันรังสีต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อทั้งผู้โดยสาร และชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ถูกแสงแดด ซึ่งฟิล์มประเภทนี้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆ ได้อีก 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่

- ฟิล์มปรอท, ฟิล์มเคลือบโลหะ และฟิล์มลดความร้อน มีคุณภาพในการลดความร้อนอยู่ที่ 35-90% ตัวเนื้อฟิล์มจะเป็นสีสะท้อนแสงคล้ายกระจกเงา ค่อนข้างอันตรายสำหรับรถที่ขับตามหลังในเวลากลางวัน เพราะจะมองลอดผ่านกระจกไม่ได้เลย แต่ฟิล์มชนิดนี้เมื่อเอามือป้องที่กระจกจะสามารถมองผ่านเห็นด้านในได้ หรือหากเปิดไฟในรถเวลากลางคืนจะสามารถเห็นได้จากภายนอก ราคา 2,000-5,000 บาท/คัน อายุการใช้งานประมาณ 3-7 ปี

- ฟิล์มอินฟราเรด (Infrared Film) เป็นฟิล์มชนิดที่เคลือบสารพิเศษในการไปตัดรังสีอินฟราเรด ซึ่งเป็นฟิล์มที่กันความร้อนได้ค่อนข้างดีที่สุด และมีราคาที่สูงมาก แต่ในปัจจุบันเริ่มมีหลายบริษัทผู้ผลิตฟิล์มจำหน่ายมากขึ้น ทำให้ราคาเริ่มปรับลดลง

- ฟิล์มนิรภัย มีความหนาตั้งแต่ 4 MIL ขึ้นไป (1 MIL = 1/1,000 นิ้ว) มีทั้งชนิดลดความร้อน และไม่ลดความร้อน คุณสมบัติคือ จะช่วยยึดเกาะแผ่นกระจกให้คงรูปเดิมมากที่สุดเมื่อกระจกถูกแรงกระแทก และแตกเป็นเม็ดละเอียด และเนื้อฟิล์มก็ยังช่วยซับแรงได้อีกชั้นหนึ่ง ส่วนมากจะใช้ในงานอาคารสูงเพื่อยึดกระจกไว้เวลากระจกแตก แต่ปัจจุบันก็เริ่มนำมาใช้ในรถยนต์มากขึ้น

- ฟิล์มใสประเภทนาโน ฟิล์มประเภทนี้ แสงส่องผ่านได้มากกว่า 60% และไม่มีเงา แต่ลดความร้อนได้สูง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ผลิตและนำมาเคลือบฟิล์ม และมีราคาค่อนข้างสูง

ยิ่งเปอร์เซ็นต์ฟิล์มเยอะเท่าไหร่ หมายความว่าแสงก็จะส่องผ่านเข้ามาได้น้อยเท่านั้น

ยิ่งเปอร์เซ็นต์ฟิล์มเยอะเท่าไหร่ หมายความว่าแสงก็จะส่องผ่านเข้ามาได้น้อยเท่านั้น

หลังจากที่รู้จักประเภทของฟิล์มแล้ว เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าจะติดฟิล์มกี่เปอร์เซ็นต์ดีล่ะ

สำหรับเปอร์เซ็นต์ของฟิล์มหมายถึงเปอร์เซ็นต์ที่แสงจะลอดผ่านเข้ามาได้ โดยปกติจะมีระดับ คือ 40, 60, 80 ซึ่งเป็นภาษาทั่วไปที่มักเรียกตามระดับความเข้มของฟิล์ม ซึ่งไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการวัด ซึ่งฟิล์มแต่ละยี่ห้อก็มีค่ากำหนดที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ฟิล์ม40% บางยี่ห้ออาจหมายถึงฟิล์มใส ที่มีค่าแสงส่องผ่านได้ประมาณ 35% ขึ้นไป เช่น ตัวเลขที่ระบุบนเนื้อฟิล์มเช่น APL35N, POP35N, APL45NX, L80BL ฯลฯ หรือฟิล์ม 60% ที่หมายถึง ฟิล์มเข้มที่มีค่าแสงส่องผ่านได้ประมาณ 20%  เช่น ANL20N, ARL20C, ARL20BX, L20N, POP20N ฯลฯ อีกหนึ่งตัวอย่างก็คือ ฟิล์ม 80%  ซึ่งหมายถึงฟิล์มที่เข้มที่สุด มีค่าแสงส่องผ่านได้ประมาณ  5%  เช่น  ARL05C, ANL05N, POP05C, L05 Digital CTX  ฯลฯ

ดูเพิ่มเติม
>> 
เลือก “ฟิล์มกรองแสง” รถยนต์ยังไง ให้ไม่โดนหลอก
>> 
แนะนำ 7 ร้านซ่อมรถในกรุงเทพ รับรองมาเเล้วจบเลยที่เดียว !!!​

หากฟิล์มที่ติดอยู่มืดเกินไปอาจกระทบต่อการมองเห็นในเวลากลางคืนได้

หากฟิล์มที่ติดอยู่มืดเกินไปอาจกระทบต่อการมองเห็นในเวลากลางคืนได้

เรียกได้ว่าฟิล์มกรองแสงก็มีหลากหลายชนิด หลากหลายรูปแบบให้เลือก ซึ่งผู้ซื้อก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น งบประมาณ คุณภาพ ฉะนั้นแล้วเวลาเลือกฟิล์มที่จะมาติดก็ควรเลือกฟิล์มที่เหมาะสมกับตัวรถยนต์ และลักษณะการใช้งาน เพราะหากเลือกความเข้มมากเกินไป อาจก่อให้เกิดปัญหาเมื่อต้องขับรถในเวลากลางคืนได้ แต่หากใช้รถในเวลากลางวันเป็นส่วนใหญ่ ก็ควรเลือกที่มีความเข้มมากสักหน่อย และเลือกรุ่น หรือยี่ห้อที่ป้องกันรังสีได้มากที่สุดกันนะคะ สำหรับบทความดีๆ เกี่ยวกับเรื่องรถก็ยังสามารถติดตามได้ดี Chobrod.com นะคะ

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่  
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้