ความเข้มของฟิล์มกรองแสง ผิดกฎหมายหรือเปล่า?

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 21 ส.ค 2565
แชร์ 16

ฟิล์มกรองแสงรถยนต์ ยี่ห้อไหนดีที่สุด ? คำถามนี้อาจจะตอบยากสักหน่อยเพราะเรื่องยี่ห้อ บางทีก็ไม่ได้การันตีถึงคุณภาพ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือระดับความเข้มที่เลือกใช้ อย่าง 40%, 60%, 80% ที่เป็นระดับความเข้มของฟิล์มติดรถยนต์ส่วนใหญ่ใช้ และฟิล์มที่เข้มมากไปจะผิดกฎหมายด้วยหรือไม่ มีส่วนต่อการใช้งานรถในด้านต่างๆ หรือเปล่า

เลข 40%, 60%, 80% ของฟิล์มที่เรียกกันหมายถึงอะไร

เวลาที่คุณนำรถไปให้ร้านติดฟิล์มกรองแสงกระจกรถยนต์ ร้านจะมีให้เลือกระดับความเข้มของฟิล์มหรือที่เรียกกัน 40%, 60%, 80% นั่นแหละคือ ค่าที่แสงสามารถส่องผ่านฟิล์มกรองแสงไปได้ ค่าตัวเลขยิ่งมาก แสงก็ผ่านได้น้อย ฟิล์มก็จะยิ่งมืด ความสามารถในการมองผ่านทะลุกระจกก็ยิ่งน้อยลง เป็นระดับที่ผู้ใช้รถสามารถเลือกได้ตามความชอบ ตามรสนิยมความเป็นส่วนตัวของเจ้าของรถ ทำให้ลักษณะความเข้มของฟิล์มกรองแสงในรถแต่ละคันนั้นมีความแตกต่าง

  • ฟิล์ม  40%  หมายถึงฟิล์มใส  ที่มีค่าของแสงส่องผ่านได้ประมาณ 35% ขึ้นไป
  • ฟิล์ม 60%  หมายถึงฟิล์มเข้ม  ที่มีค่าของแส่งส่องผ่านได้ประมาณ 20%
  • ฟิล์ม 80%  หมายถึงฟิล์มเข้มที่สุดที่มีค่าของแส่งส่องผ่านได้ประมาณ 5%

กฎหมาย ฟิล์มรถยนต์ 2565
ฟิล์มกรองแสง ยิ่งเข้มมาก แสงผ่านได้น้อยๆ  ตัวเลขนี้บอกปริมาณที่แสงจะผ่านไปได้

“ฟิล์มกรองแสง” เข้มแค่ไหนถึงจะพอ

เกรดของฟิล์มกรองแสง มีหลายราคาและมากคุณสมบัติ ยี่ห้อที่ราคาแพงหน่อยก็จะชูจุดเด่น เรื่องกันความร้อน แสง UV ราคาถูกลงมาก็อาจจะได้เพียงแค่แค่ความเข้มของฟิล์มไม่ได้ช่วยกันความร้อน ซึ่งระดับความเข้มของฟิล์มกรองแสงรถยนต์นั้นที่ใช้ในไทยส่วนใหญ่อยู่ที่ 40% ในกระจกด้านหน้าและด้านหลังส่วนกระจกประตูจะเข้มกว่าอยู่ที่ความเข้ม 60% ถามว่าทำไมต้องเป็นเลข 40%, 60% นั้นคืออะไร คือความเข้มของฟิล์มกรองแสงในระดับที่กำลังพอดีเหมาะสำหรับทัศนวิสัยในการขับขี่ทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่เข้มเกืนจนมืดมองไม่เห็นทางหรือใสจนเกินไปเหมือนแทบไม่ได้ติดฟิล์ม

แต่ความเข้มของฟิล์มนั้นก็ไม่จำเป็นต้องตามตัวเลข 40%, 60% เท่านั้น บางคนชอบใช้รถฟิล์มมืดๆ ก็อาจเพิ่มความเข้มของกระจกหน้าเป็น 60% และกระจกประตูเข้มถึง 80% ได้ แต่ถ้าบางคนชอบขับรถฟิล์มใสๆ โชว์หน้าตาหล่อๆ สวยๆ กันก็อาจปรับเปลี่ยนลดความเข้มของฟิล์มกรองแสงลงมาได้ตามความชอบ

ในต่างประเทศรถประเภทซีดานที่มีกระจกประตู 4 บานก็เลือกที่ให้ฟิล์มกระจกประตูบานหน้าอ่อนเพื่อช่วยในการขับขี่เวลามองกระจกข้างได้สะดวกกว่าและเลือกติดฟิล์มที่ความเข้มสูงจนไปถึงฟิล์มมืดที่กระตูประตูบานหลัง เพราะสองบานหลังนั้นไม่ได้ใช้ในการขับขี่ ซึ่งกระจกแต่ละบานคุณสามารถเลือกระดับความเข็ม หรือลักษณะฟิล์มเช่น ฟิล์มดำ ฟิล์มปรอทได้ตามความชอบ

กระจกแต่ละบาน
กระจกแต่ละบานสามารถเลือกความเข้มและประเภทฟิล์มได้ตามใจเจ้าของรถ

ติดฟิล์มเข้มๆ ฟิล์มมืดผิดกฎหมาย ?

มีอยู่ช่วยหนึ่งที่พี่ตำรวจเมืองไทยไล่จับรถที่ติดฟิล์มมืด มองไม่เห็นภายในรถ แต่ปัจจุบันมีการยกเลิกใช้กฏหมาย ฟิล์มกรองแสง ในไทยไปเเล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543

แต่ที่ยังผิดกฎหมายอยู่คือ ฟิล์มประเภท “ปรอท” ที่สามารถสะท้อนแสงได้ปริมาณมากๆ ส่งผลให้รบกวนต่อการขับขี่ของผู้อื่นได้ ตามกฎหมาย พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12  รถใดที่จดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ารถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออกแล้ว หมายถึงเเสงสะท้อนจาก ฟิล์มปรอท อาจย้อนแยงสายตาของผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ จนเกิดอุบัติเหตุได้

ฟิล์มปรอทรบกวนการขับขี่ของผู้ใช้รถท่านอื่นๆ
ฟิล์มปรอทรบกวนการขับขี่ของผู้ใช้รถท่านอื่นๆ

การเลือกติดฟิล์มกรองแสง สามารถเลือกความเข้มได้แบบที่คุณชอบ แต่อย่าลืมเรื่องการใช้งานจริงด้วยเป็นสำคัญ ชอบฟิล์มดำ ฟิล์มมืด แต่พอการใช้งานจริงๆ ตอนกลางคืนต้องเปิดกระจกขับ มองไม่เห็นทาง ชอบฟิล์มใสๆ แต่ขับรถกลางวันร้อนๆ แดดเปรี้ยงๆ บ่อยครั้งก็จะยิ่งทำให้ทรมาณ

ดังนั้นเลือกระดับความเข้มที่กลางๆ ให้เหมาะทุกการใช้งานทั้งกลางวันและกลางคืน ไม่ให้รบกวนทัศนวิสัยการขับขี่ของตัวเองและผู้อื่น ข้อนี้น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณและรถของคุณ

>> ดูเพิ่มเติม:

- ติดตราราชการหน้ารถ ตำรวจไม่จับ ไม่เรียก จริงหรือ??

- จอดรถแย่ ต้องโดน!! มาชมปฏิกิริยาเจ้าของรถ ที่โดนแก้เผ็ดกัน ว่าเป็นอย่างไร