ปัจจุบันนี้รถยนต์ก็ได้ผลิตออกมามากมายหลายรุ่น ซึ่งได้มีการพัฒนาระบบ และกลไกเครื่องยนต์มาอย่างต่อเนื่อง จากการใช้เครื่องยนต์เชื้อเพลิง มาเป็นเครื่องยนต์ไฮบริดจ์ และปัจจุบันก็ได้มีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ รวมถึงการพัฒนาเครื่องยนต์พลังงานไฮโดรเจนอีกด้วย แล้วในปัจจุบันหากจะเลือกซื้อรถยนต์สักคัน ควรเลือกซื้อรถยนต์แบบไหนกันล่ะ
ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเติบโตขึ้นมาก แต่รถยนต์ไฟฟ้ากับรถทั่วไปควรเลือกอะไรดีกว่ากัน
หลังจากที่ในปีที่ผ่านมาค่ายรถยนต์ต่างๆ ได้มีการพัฒนาเครื่องยนต์ระบบไฟฟ้าออกมาเป็นจำนวนมาก อาจทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า ควรจะเลือกรถยนต์แบบไหนดีล่ะ ระหว่างรถยนต์ไฟฟ้า กับรถยนต์พลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันค่ะ
รถยนต์ไฟฟ้าได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัย แต่สมรรถนะในการขับขี่ก็ไม่ด้อยไปกว่าเครื่องยนต์ทั่วไป
สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่เรียกได้ว่ามีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในความสนใจของคนทั้งโลกท่ามกลางสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ผู้คนให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะรถยนต์ไฟฟ้าต่างก็ปล่อยมลภาวะ และสารพิษออกสู่สภาพแวดล้อมน้อยกว่ารถยนต์พลังงานเชื้อเพลิง แต่นอกเหนือไปจากเรื่องราวของความใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม เราจะพามาดูกันถึงรายละเอียดของรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์พลังงานเชื้อเพลิงทั่วไปกันค่ะ
ดูเพิ่มเติม
>> Five FACT : 5 เรื่องน่ารู้ของรถพลังงานไฟฟ้าที่กำลังจะมาเป็นรถคันต่อไปของคุณ !
>> 5 รถพลังงานไฟฟ้าที่จะได้เห็นบนถนนไทยในปี 2019
รถไฟฟ้า EV คือรถที่ขับเคลื่อนจากการใช้พลังงานแบตเตอรี่ หรืออุปกรณ์เก็บพลังงานไฟฟ้ารูปแบบอื่นๆ
รถยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicles (EV) คือ รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนจากการใช้พลังงานแบตเตอรี่ หรืออุปกรณ์เก็บพลังงานไฟฟ้ารูปแบบอื่น โดยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกในปีพ.ศ. 2513 – 2523 เนื่องจากวิกฤตการณ์พลังงาน ซึ่งก็ได้รับความนิยมเป็นเวลาสั้นๆ ต่อมาในปีพ.ศ. 2551 รถยนต์ไฟฟ้าก็ได้รับการฟื้นฟูอย่างจริงจัง เนื่องจากปัจจัยในเรื่องของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ทำให้สามารถพัฒนาศักยภาพของแบตเตอรี่ได้ดียิ่งขึ้น ปัจจัยของราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นสูง รวมไปถึงการรณรงค์ลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก
กลไกการทำงานของเครื่องยนต์ e-Hybrid
กลไกการทำงานของรถยนต์ไฟฟ้า EV
ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้ามีทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ 1 รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid electric vehicles) 2.รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (Plug-in hybrid electric vehicles) 3.รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery electric vehicles) 4.รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel-cell electric vehicles)
สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid electric vehicles) และรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (Plug-in hybrid electric vehicles) เป็นการผสมผสานระหว่างการใช้น้ำมันเครื่องกับแบตเตอรี่รถยนต์ ต่างกันแค่รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน สามารถชาร์ตแบตเตอรี่ที่บ้านได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ารถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดแบบธรรมดาทั่วไป
รถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ มีมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งได้รับพลังงานจากแบตเตอรี่โดยไม่ต้องมีเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal combustion engine) ส่วนรถยนต์ที่ใช้น้ํามันเชื้อเพลิง ข้อดีคล้ายกับรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่แต่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงแทนแบตเตอรี่ ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง
รถยนต์พลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป คือ รถยนต์ยนต์ที่ใช้พลังงานจากปิโตรเลียม อาทิ น้ำมัน หรือแก๊สธรรมชาติ ในการขับเคลื่อน
ในขณะที่รถยนต์พลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป คือ รถยนต์ที่ใช้พลังงานจากผลิตภัณฑ์ของกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมที่มีหลายชนิดในการเป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อน สามารถนำมาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมายทั้งทางตรง และทางอ้อม สำหรับคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อให้ทันกับวิวัฒนาการของเครื่องยนต์ที่เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมีน้ำมันเชื้อเพลิงที่คุ้นเคย และนิยมใช้อย่างกว้างขวางอยู่ 2 ชนิด คือ น้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล รวมถึงมีการติดตั้งระบบแก๊สธรรมชาติเพื่อเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนอีก 2 รูปแบบด้วยกัน
เครื่องยนต์สันดาปภายใน ชนิดเบนซิน
รถยนต์ส่วนใหญ่ในตลาดส่วนใหญ่จะมีทั้งรุ่นที่ใช้เครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซล
*สนใจตลาดรถ EV มือสองราคาสวยๆ กดดูที่นี่ได้นะคะ
1. น้ำมันเบนซิน เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายใน ชนิดเบนซิน ซึ่งเป็นน้ำมันที่ได้จากการกลั่นน้ำมันโดยตรง และอาจได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแก๊สโซลีนธรรมชาติ แล้วนำมาผสมสารเพิ่มคุณภาพ และสารเติมแต่ง เช่น MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) เอทานอล สีย้อม สารต้านการรวมตัวกับอากาศ สารเคมีป้องกันสนิม ป้องกันการกัดกร่อนในถังน้ำมัน และท่อทางเดินน้ำมัน เพื่อให้เหมาะที่จะใช้กับยานพาหนะ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถโดยสาร หรือเครื่องยนต์ทั่วไป เช่น เครื่องสูบน้ำ เครื่องปั่นไฟขนาดเล็ก เรือ เป็นต้น
น้ำมันเบนซินที่ใช้กับเครื่องยนต์ทั่วไปมีอยู่หลายชนิด ได้แก่
- น้ำมันเบนซินพิเศษ (Premium Motor Gasoline) มีค่าออกเทนนัมเบอร์ 95 (และ 98 ในต่างประเทศ) เหมาะสมกับเครื่องยนต์เบนซินที่มีอัตราส่วนกำลังอัดสูงกว่า 8:1 ขึ้นไปซึ่งได้แก่ รถยนต์นั่งทั่วไป รถบรรทุกเล็ก (เครื่องยนต์เบนซิน)
- น้ำมันเบนซินธรรมดา (Regular Motor Gasoline) มีเลขจำนวนออกเทน 91 ใช้กับน้ำมันเครื่องยนต์เบนซินที่มีอัตราส่วนกำลังอัดต่ำกว่า 8:1 ซึ่งได้แก่ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก รถมอเตอร์ไซค์ เครื่องยนต์ขนาดเล็ก เช่น เครื่องปั่นไฟ, รถตัดหญ้า หรือ ปั๊มน้ำ
- น้ำมันแก๊สโซฮอลล์ (Gasohol) หรือที่นิยมเรียกว่า แก๊สโซฮอลล์ E10-E20 คือ น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ ที่ผสมน้ำมันเบนซิน 90% กับแอลกอฮอล์ หรือเอทานอลที่ผลิตจากพืชผลการเกษตร เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ในปริมาณ 10% หรือ 20 % แก๊สโซฮอลล์ถือเป็นเชื้อเพลิงที่นิยมใช้แพร่หลายไปทั่วโลก เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่า การเผาไหม้ที่สมบูรณ์กว่า และลดมลพิษ ปัจจุบันน้ำมันแก๊สโซฮอลล์ ที่มีจำหน่าย คือ แก๊สโซฮอลล์ 95, แก๊สโซฮอลล์ 91 ซึ่งมีส่วนผสมของเอทานอลไม่เกินร้อยละ 10 โดยรถยนต์ระบบหัวฉีดสามารถใช้แทนน้ำมันเบนซินได้ทันที ไม่จำเป็นต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ แต่เครื่องยนต์ระบบคาร์บูเรเตอร์นั้นไม่ควรใช้ นอกจากนี้ยังมีแก๊สโซฮอลล์ E20 ที่มีส่วนผสมของเอทานอลร้อยละ 20 และแก๊สโซฮอลล์ E85 ซึ่งมีส่วนผสมของเอทานอลร้อยละ 85 ซึ่งรถยนต์ที่จะใช้น้ำมันประเภทนี้ได้ จะต้องได้รับการออกแบบเครื่องยนต์ให้รองรับกับน้ำมัน E85 เท่านั้น
เครื่องยนต์แรงอัดสูงเหมาะสำหรับการใช้เชื้อเพลิงประเภทดีเซล
รถ High Performance ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นส่วนมาก
2. น้ำมันดีเซล (Diesel Fuel) เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์น้ำมันดิบที่ได้จากโรงกลั่นเหมือนกับน้ำมันเบนซิน หรือเรียกว่า น้ำมันใส หรือ Distillate Fuel มีช่วงจุดเดือดประมาณ 180-370 องศาเซลเซียส น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งเป็นเครื่องยนต์แรงอัดสูง (High Compression) และจุดระเบิดเอง (Self Ignition Engine) ซึ่งการจุดระเบิดของเชื้อเพลิงเกิดขึ้นจากความร้อนจากแรงอัดสูงของอากาศในกระบอกสูบโดยไม่ต้องใช้หัวเทียน
โดยน้ำมันดีเซลได้มีการพัฒนาจนเกิดเป็นน้ำมันไบโอดีเซลขึ้นมา คือ เป็นเชื้อเพลิงที่ผลิตได้จากน้ำมันพืช และไขมันสัตว์ เช่น ปาล์ม มะพร้าว ถั่วเหลือง ทานตะวัน เมล็ดเรพ (Rape Seed) สบู่ดำ หรือ น้ำมันพืช น้ำมันสัตว์ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว และได้นำมาทำปฏิกิริยาทางเคมี Transesterification (หรือปฏิกิริยา Alcoholysis) ร่วมกับเมทานอล หรือเอทานอลจนเกิดเป็นสารเอสเตอร์ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล เรียกว่า ไบโอดีเซล (B100) ซึ่งเมื่อนำมาผสมกับน้ำมันดีเซลเกรดที่ใช้กันในปัจจุบันในสัดส่วนร้อยละ 2- 10 (B2-B10) จะสามารถนำมาใช้งานในเครื่องยนต์ดีเซลได้ โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์
กลไกการทำงานของรถยนต์ที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป
ในรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นแก๊สธรรมชาติ จะต้องใช้ถังบรรจุเฉพาะ
3. ก๊าซธรรมชาติ Liquefied Petroleum Gas หรือที่คุ้นหูกันในชื่อ LPG เป็นหนึ่งในพลังงานทางเลือกที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลก อยู่ในรูปของเหลว และมีความดันต่ำ เป็นหนึ่งในพลังงานจากฟอสซิล เช่นเดียวกับน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ (NGV) ที่ได้มาจากการกลั่นน้ำมันดิบหรือ Crude Oil ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า LPG นั้นเป็นผลพลอยได้ เพราะว่าบริษัทน้ำมันส่วนใหญ่ก็จะมุ่งเป้าไปที่น้ำมันซึ่งเป็นรายได้หลัก ในเมืองไทยนิยมใช้ในรถยนต์กันมานานมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นที่นิยมในรถแท็กซี่ เนื่องจากราคาถูกกว่าน้ำมัน
แก๊สธรรมชาติอัดเรียกว่า CNG แต่เราคุ้นเคยกันในชื่อ NGV เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการลดมลพิษจากการสันดาปภายในเครื่องยนต์
4.ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ ความจริงแล้ว Natural Gas Vehicles หรือ NGV หมายถึงยานยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดที่เรียกว่า Compressed Natural Gas (CNG) แต่ในบ้านเราเรียกติดปากกันว่า "NGV" ซึ่งก็เหมือนกับก๊าซธรรมชาติ ที่นำมาใช้ในบ้านอยู่อาศัยในหลายๆ ประเทศ เพื่อการประกอบอาหาร การทำความร้อน และการทำน้ำร้อน เป็นต้น ก๊าซ NGV ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีสารพิษ ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยสูงสุดผลิตภัณฑ์หนึ่งในปัจจุบัน เมื่อเผาไหม้แล้วจะเป็นเชื้อเพลิงสะอาด และส่งผลกระทบแก่สิ่งแวดล้อมน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเตา และแก๊สหุงต้ม มีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ มีค่าออกเทนสูงถึง 120 RON (Research Octane Number) จึงสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ได้ และจะมีการใช้ อยู่ในสภาพเป็นก๊าซที่ถูกอัดจนมีความดันสูง (ประมาณ 3,000 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว) เก็บไว้ในถังที่มีความแข็งแรง ทนทานสูงเป็นพิเศษ เช่น เหล็กกล้า โดนมีรูปแบบการใช้ NGV กับรถยนต์ 3 แบบด้วยกันคือ
- ใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิงอย่างเดียว (Dedicated NGV) ส่วนใหญ่ผลิตจากโรงงานโดยตรง ใช้เครื่องยนต์ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นสำหรับใช้ก๊าซธรรมชาติโดยเฉพาะ เหมือนอย่างที่รถกระบะ ทาทา ซีนอน ทำออกมาขาย และที่รถร่วมบริการ ขสมก. ใช้กันอยู่
- รถยนต์ใช้ก๊าซ NGV ระบบสองเชื้อเพลิง (Bi-Fuel System) ซึ่งระบบที่สามารถเลือกใช้น้ำมันเบนซินหรือใช้ NGV เป็นเชื้อเพลิงโดยเพียงปรับสวิตช์เลือกใช้เชื้อเพลิงบริเวณคอนโซลรถ
- รถยนต์ใช้ก๊าซ NGV ระบบเชื้อเพลิงผสม (Dual-fuel system) ซึ่งเป็นระบบใช้น้ำมันดีเซล ผสมก๊าซ NGV โดยใช้ร่วมกัน
แม้ว่าจะมีทางเลือกมากมาย แต่เครื่องยนต์แต่ละชนิดก็มีข้อดี – ข้อเสียแตกต่างกัน
ข้อดีของรถไฟฟ้า EV คือ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
รถไฟฟ้าใช้พลังงานในราคาที่ถูกกว่าน้ำมัน
สำหรับข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่
ปัจจุบันในประเทศไทยสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ามีค่อนข้างน้อย อาจเกิดความกังวลขณะเดินทางได้
ราคารถยนต์ไฟฟ้าสูงแล้ว ยังต้องติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จแบตที่มีราคาสูงเช่นกันเพิ่มอีกด้วย ทำให้ต้องเตรียมงบประมาณมากกว่ารถทั่วไป
ในส่วนของข้อเสียรถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่
ข้อดีของรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงทั่วไปคือเติมน้ำมัน หรือแก๊สได้รวดเร็วในเวลาไม่นาน
มีสถานีให้บริการจำนวนมาก
ข้อดีของรถยนต์เครื่องยนต์เชื้อเพลิงทั่วไป
ราคาน้ำมันผันผวน มีการขึ้น - ลงอยู่ตลอด ขึ้นอยู่กับตลาดโลก โดยรวมมีราคาแพงกว่าพลังงานไฟฟ้า
ปล่อยมลพิษออกมามากกว่า เป็นสาเหตหนึ่งของภาวะโลกร้อนที่ทั่วโลกกำลังรณรงค์ให้ความสำคัญอยู่ ณ ตอนนี้
ข้อเสียของรถยนต์เครื่องยนต์เชื้อเพลิงทั่วไป
ปัจจุบันรถยนต์เชื้อเพลิง High Performance ก็เริ่มปรับตัวมาใช้เครื่องยนต์ไฟฟ้ากันมากยิ่งขึ้น
แม้ว่าจะมีข้อดี และข้อเสียที่แตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้วในปัจจุบันการเดินทางด้วยรถยนต์พลังงานเชื้อเพลิงทั่วไปย่อมสะดวกสบายกับผู้ใช้รถ ใช้ถนนในประเทศไทยมากกว่า แต่หากรัฐบาลมีการสนับสนุนด้านการลงทุน และส่งเสริมการเติบโตของรถไฟฟ้าในประเทศมากยิ่งขึ้น มีการรองรับสถานีชาร์จแบตเตอรี่มากยิ่งขึ้น เมื่อถึงวันนั้นผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศคงไม่มีอะไรให้ต้องกังวลขณะเดินทาง และอาจส่งผลให้ความคุ้มค่าในการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากยิ่งขึ้น และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ดูเพิ่มเติม
>> Honda Urban EV โปรโตไทพ์รุ่นล่าสุด !!
>> ทำความรู้จักกับรถไฟฟ้า EV พร้อมข้อดี และข้อเสียที่ต้องรู้
ดูเพิ่มเติมสำหรับ รถมือสอง ที่ขายในประเทศไทย