โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ได้ทำการเปิดตัวทีมรถแข่ง ที่ไม่ใช้น้ำมัน ! ด้วยเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงสังเคราะห์และไฮโดรเจน เพื่อเป้าหมายใหญ่สร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน
GR86 "ORC ROOKIE GR86 CNF concept" ใช้น้ำมันสังเคราะห์
COROLLA "ORC ROOKIE GR Corolla H2 concept" ใช้ไฮโดรเจน
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น หรือโตโยต้า บริษัทแม่จากญี่ปุ่น ประกาศเข้าร่วมการแข่งขันรถยนต์ในรายการ IDEMITSU 600 SUPER ENDURANCE 2023 (การแข่งขัน Endurance Race 10 ชั่วโมงในประเทศไทย) ซึ่งจะจัดขึ้นที่ สนามช้าง อินเตอร์ เนชั่นแนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ ในวันที่ 22-23 ธันวาคม โดยนำรถแข่ง 3 คัน ภายใต้ ROOKIE Racing Team ได้แก่
ชุดเก็บเชื้อเพลิงพลังงานไฮโดรเจนแบบเคลื่อนย้ายได้
นอกจากนี้รถแข่งของ TOYOTA GAZOO RACING THAILAND อย่าง COROLLA GR, GR 86 และ YARIS ก็จะเข้าร่วมการแข่งขันโดยใช้เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนด้วยเช่นกัน โดยเราจะร่วมมือกับพันธมิตรในเอเชีย เพื่อรับมือกับความท้าทายในการขยายทางเลือกที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยเริ่มจากกีฬามอเตอร์สปอร์ต
สำหรับ "CNF" ย่อมาจาก Carbon Neutral Fuels เชื้อเพลิงที่มีค่าคาร์บอนเป็นศูนย์ หรือน้ำมันสังเคราะห์ โดยรถแข่ง PRIUS CNF-HEV GR concept นอกจากใช้น้ำมันสังเคราะห์แล้วยังควบคู่กับระบบไฮบริดที่คาดว่าจะเป็นระบบเครื่องยนต์ที่โตโยต้าเตรียมออกมาสู้กับรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต
ข้อจำกัดของเชื้อเพลิง CNF ยังมีต้นทุนการผลิตที่สูง เทคโนโลยีการผลิตยังไม่แพร่หลาย และประสิทธิภาพการใช้งานต่ำ ซึ่งในการแข่งขันมอเตอร์สปอร์ตครั้งนี้ อาจเป็นการโชว์ให้เห็นศักยภาพของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน CNF ด้วย
ทั้งนี้โตโยต้าเร่งเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอนให้เกิดขึ้นจริง ผ่านการเข้าร่วมซีรีส์การแข่งขัน Super Endurance Race โดยใช้รถแข่ง COROLLA ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน และรถแข่ง GR86 ซึ่งใช้เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยเคยเข้าร่วมการแข่งขัน Endurance Race 25 ชั่วโมง ในประเทศไทยเมื่อปี 2022 ซึ่งถือเป็นความท้าทายในการนำรถมาแข่งภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากประเทศญี่ปุ่น
รถแข่งที่ใช้เชื้อเพลิงต่างชนิดกันของ Toyota
การแข่งขันในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดทางเลือกเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อนอันหลากหลายของโตโยต้า จึงเพิ่มรถอีกหนึ่งรุ่นคือ รถยนต์ระบบไฮบริด (HEV) เพื่อสร้างความเหมาะสมในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย และประเทศไทย ที่สำคัญ ยังเป็นการใช้เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนอีกด้วย
ในการแข่งขันรายการเอนดูรานซ์ 10 ชั่วโมง ปีนี้ โตโยต้าใช้พลังงานชีวภาพที่ได้มาจากมูลจากฟาร์มสัตว์ปีกของซีพี และของเสียจากเศษอาหารที่มาจาก บริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (TDEM) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเชื้อเพลิง ที่ใช้เติมในรถรุ่นโคโรลล่า ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจน
โดรนพลังไฮโดรเจน
นอกจากรถยนต์แล้วยังมี โดรนเซลล์เชื้อเพลิง ใช้ในการสาธิตการทดลองร่วมกับ CP Group จะเผยโฉมเป็นครั้งแรกในกิจกรรมนี้ สะท้อนความพยายามในการสร้างพันธมิตรที่จะร่วม "ผลิต" "ขนส่ง" และ "ใช้" ไฮโดรเจนในประเทศไทย
โตโยต้ามุ่งขยายความพยายามในการสร้างสังคมไฮโดรเจนไปยังส่วนอื่นของภูมิภาคเอเชีย โดยเริ่มต้นจากประเทศไทยเป็นประเทศแรก
ตลาดรถมือสอง มีรถมากมายให้เลือกในราคาที่ถูกใจ