มาตรฐาน Euro5 บังคับใช้ในไทยแล้วตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 ก่อนขยับเป็นมาตรฐาน Euro6 ในปี 2569 แล้วอะไรคือมาตรฐานยูโร ทำความเข้าใจกันแบบละเอียด และอนาคตที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเราอาจจะไม่ได้เห็นรถยนต์ดีเซลหลายรุ่นเลิกทำตลาด เหมือนกับ Hyundai H-1 ที่ต้องยุติลง
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมบังคับใช้มาตรฐานยูโร 5 (Euro5) ในเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศในระยะยาว
กระทรวงอุตสาหกรรมได้เปิดรับให้ยื่นคำขอตรวจประเมินระบบควบคุมคุณภาพของโรงงาน และคำขอรับบริการทดสอบผลิตภัณฑ์รถยนต์ ผ่านระบบ E-license ตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2023 ที่ผ่านมา รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์เฉพาะในการตรวจสอบเพื่อการอนุญาตสำหรับมาตรฐานยูโร 5 (Euro5) มีจำนวน 50 คำขอ รวม 25 ราย เช่น บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด, บริษัท อีซูซุมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น
ไทมไลน์บังคับใช้มาตรฐาน Euro ในไทย
นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการ สมอ. ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า การบังคับใช้มาตรฐานยูโร 6 สมอ. มีแผนจะบังคับใช้กับรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์เบนซิน วันที่ 1 มกราคม 2026 สำหรับการบังคับใช้มาตรฐาน Euro6 กับรถประเภทอื่นที่เหลือ จะต้องพิจารณาดูความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมอีกครั้ง เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยพัฒนาไปสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์สมัยใหม่ในภูมิภาคอาเซียน
สำหรับมาตรฐาน Euro6 นั้นในยุโรปบังคับมาตั้งแต่ปี 2014
มาตรฐาน Euro เป็นมาตรฐานการปล่อยมลพิษจากเครื่องยนต์ยานพาหนะที่กำหนดโดยสหภาพยุโรป กำหนดให้ยานพาหนะใหม่ทุกคันที่ผลิตและจำหน่ายในสหภาพยุโรปต้องเป็นไปตามมาตรฐานการปล่อยมลพิษนี้
ปัจจุบันมาตรฐานสูงสุดที่ได้การรับรองแล้วคือ Euro7 โดยมีกำหนดบังคับใช้ในสหภาพยุโรปปี 2038 บังคับให้ปล่อยไอเสียได้ต่ำมาก ทำให้ช่วงร่างมาตรฐานหลายแบรนด์ในยุโรปออกมาประกาศเลิกพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลเพราะไม่คุ้มที่พัฒนาต่อ พร้อมเบนเข็มสู่เทคโนโลยีปลั๊กอินไฮบริดและรถยนต์ EV
มาตรฐาน Euro5 ไม่มีค่อยมีปัญหากับเครื่องยนต์เบนซินเพราะใช้หัวเทียนจุดระเบิดเชื้อเพลิงเผาไหม้หมดจด แต่สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลเป็นการอัดระเบิดทำให้มีอนุภาคขนาดเล็กจากเชื้อเพลิงเหลือจำนวนมาก ทำให้เกิดการพัฒนาตัวกรองอนุภาคดีเซลหรือที่เรียกกันว่า DPF (Diesel Particulate Filter) เมื่อกรองมาก ๆ อุปกรณ์ DPF นี้สามารถอุดตันได้
การพัฒนาเครื่องยนต์ดีเซลจึงมักวางอุปกรณ์ DPF ไว้หลังจากห้องเผาไหม้ เมื่อระบบตรวจจับว่าเริ่มอุดตัน รถจะสั่งตัวเองให้เครื่องยนต์ใช้รอบสูงนำความร้อนเผาอนุภาคขนาดเล็ก ซึ่งมักมีปัญหากับผู้ใช้งานที่ไม่เข้าใจ ดับเครื่องปิดระบบก่อน หรือระบบไม่ทำงานจน DPF อุดตัน เกิดปัญหากับเครื่องยนต์ได้ง่าย
สำหรับน้ำมัน มาตรฐาน Euro5 ในกลุ่มเบนซิน-แก๊สโซฮอล์ ลดปริมาณกำมะถันในน้ำมัน ไม่สูงกว่า 10 ppm และน้ำมันกลุ่มดีเซล ลดปริมาณกำมะถัน ลดปริมาณสารโพลีไซคลิก ลดปริมาณอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) จากร้อยละ 11 เป็นไม่สูงกว่าร้อยละ 8
โดยบริษัทน้ำมันต่าง ๆ ได้ ออกมาแจ้งว่าเปลี่ยนเป็นน้ำมันเป็นสูตร Euro5 เรียบร้อยแล้ว ในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2566
ปัจจุบันรถเครื่องยนต์ดีเซลในไทยเกือบทั้งหมดจะเป็นมาตรฐาน Euro4 และเราจะได้เห็นการกระบะรุ่นใหม่ในปี 2024 ไมเนอร์เชนจ์พร้อมปรับราคาขึ้นเล็กน้อย พร้อมพ่วงการติดตั้ง DPF เข้ามา
สำหรับ Hyundai H-1 เลิกจำหน่ายในไทยสาเหตุหนึ่งก็มาจากการบังคับใช้ Euro5 ในไทย เพราะเครื่องยนต์ดีเซล D4CB ความจุ 2.5 ลิตร ต้องปรับปรุงใหม่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ประกอบกับมีรถตู้รุ่นใหม่ STARIA ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตรในช่วงราคาเดียวกัน
สำหรับรถยุโรปมีความนิยมเครื่องยนต์ดีเซล เพื่อให้ผ่านมาตรฐาน Euro6 ต้องเติมสารทำความสะอาด AdBlue ซึ่งหากสาร AdBlue หมดแล้วใช้รถ ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย โดยราคาจำหน่าย AdBlue อยู่ที่ราว ๆ 2 พันบาทต่อ 10 ลิตร รวมถึงต้นทุนของระบบต่าง ๆ ทำให้ เครื่องยนต์ดีเซลมีแพงขึ้น มีเงื่อนไขและปัญหาจุกจิกหลายส่วน
สำหรับค่ายรถญี่ปุ่น เครื่องยนต์ดีเซลจะอยู่ในกลุ่มกระบะและรถ PPV ซึ่งแผนการรับมือ Euro5 จบลงไปแล้ว แต่ในส่วนของการพัฒนาเพื่อรับมือ Euro6 ยังเป็นปัญหาอยู่ เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้รถกระบะในไทยมีความต้องการ รถใช้งานง่าย ปัญหาน้อย ทนทานไว้ใจได้ ซ่อมบำรุงไม่ยาก ซึ่งเป็นโจทย์ที่วิศวกรรถญี่ปุ่นกำลังทำงานหนักพัฒนาให้ได้โดยไม่ผลักค่าใช้จ่ายและความจุกจิกไปสู่ลูกค้า
ตลาดรถมือสอง มีรถมากมายให้เลือกในราคาที่ถูกใจ