กางหน้าประวัติศาสตร์ของรถเจ้าตลาด เชฟโรเลต ย้อนดูที่มาตั้งแต่เริ่มต้นกว่า 20 ปี ก่อนจะไปที่จบบันทึกหน้าสุดท้ายปลายปีนี้ !
เป็นข่าวใหญ่ที่ร้อนฉ่าทะลุทุกหน้าสื่อกับข่าวการประกาศยุติบทบาทการจำหน่ายรถยนต์ Chevrolet ในไทยของบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส ที่ส่งผลกระทบครั้งใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม หลังจากที่ต่อสู้และดำเนินการในบ้านเรามาร่วม 20 ปี
Chobrod จะพาไปย้อนที่มาจากจุดเริ่มต้นก่อนถึงจุดสิ้นสุด มาดูกันว่าก่อนที่ชื่อของเชฟโรเลตจะกลายเป็นตำนานปลายปีนี้ ค่ายโบว์ไทน์มีประวัติความเป็นมาและสร้างบทบาทเอาไว้ในไทยอย่างไรบ้าง
วันแรกของปี 1 มกราคม พ.ศ. 2543 บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) ได้ถูกก่อตั้งและเริ่มดำเนินกิจการในไทยในฐานะผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ เผยบทบาทในฐานะผู้จัดสรรรถยนต์ที่ผลิตขึ้นภายใต้ชื่อและสัญลักษณ์การค้า “เชฟโรเลต” เพื่อวางจำหน่ายผ่านในประเทศไทยผ่านเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายของบริษัท
โดยจีเอ็มในไทย ก่อตั้งศูนย์การผลิตยานยนต์ ที่จังหวัดระยอง โอยการดำเนินการทั้งหมดใช้เงินลงทุนสูงถึง 3 หมื่นล้านบาท สร้างบนพื้นที่ 440 ไร่ ภายในบริเวณนิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์น ซีบอดร์ด ที่ถูกคั้งเป็นศูนย์กลางการผลิตระดับภูมิภาค โดยผลิตรถกระบะและรถอเนกประสงค์สำหรับจัดจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปต่างประเทศ
สำหรับรถยนต์รุ่นแรกที่ทางจีเอ็มจัดจำหน่ายคือรถอเนกประสงค์ Chevrolet Zafira ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นรถที่บุกเบิกตลาดรถยนต์อเนกประสงค์รายแรงของไทย ซึ่ง Chevrolet Zafira ได้รับการตอบรับจากผู้ใช้เป็นอย่างและเป็นสัญญาณแห่งการเริ่มต้นที่น่าพึงพอใจ และนั่นได้ทำให้ทางบริษัทได้ขยายตลาดรถยนต์ประเภทอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย
โดย Chevrolet หันมาจับทางตลาดรถเก๋งที่มีทั้งรถหรูและรถที่มีราคาเอื้อมถึง เพื่อเข้าถึงผู้ใช้ทุกระดับ ตีคู่ไปกับรถที่เป็นจุดขายและชูโรงทางค่ายอย่างประเภทรถอเนกประสงค์ ที่ปล่อยออกมาตอบโจทย์ชีวิตครอบครัว ขณะเดียวกันก็นำ Colorado มาดึงดูดกลุ่มคนเล่นกระบะ เรียกได้ว่าทางเฟชโรเลตเจาะทุกกลุ่มรถในไทย และไปได้สวยเลยทีเดียว
ในขณะที่ทาง Chevrolet เผยบทบาทในฐานะรถที่มีภาพลักษณ์แบรนด์ที่ดีและดูมั่นคงในไทยเมื่อปี 2552 ก็เกิดเหตุการณ์ไม่ขาดฝันและช็อกวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก เมื่อทางจีเอ็มได้ยื่นเป็นบริษัทล้มละลาย เกิดเป็นวิกฤตที่ส่งผลกระทบไปทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ในไทยเองต้องประกาศหยุดไลน์ผลิตไป 2 เดือน และมีการปรับมาตรการใหม่ออกมารับมือกับปัญหานี้ จนกระทั่งสามารถฝ่ายช่วงเวลาที่เลวร้ายมาได้ในที่สุด โดยของไทยนั้นแก้ไขปัญหานี้ด้วยการรับการสนับสนุนจากสถาบันทางการเงินของประเทศ จนกลับมาเรียกความเชื่อมั่นคืนได้ในที่สุด ส่งผลให้ Chevrolet ยังสามารถดำเนินกิจการมาได้ต่อในที่สุด
ดูเพิ่มเติม
>> สะเทือนถึงเต็นท์! ไฟแนนซ์ไม่รับจัดสินเชื่อ สำหรับเชฟโรเลตมือสอง
>> ยุติการขาย CHEVROLET ในประเทศไทย !!
โดยนับตั้งแต่เปิดตลาดในไทย มีรุ่นรถของ Chevrolet ที่ถูกผลิตและจัดจำหน่ายมามากมายหลายรุ่น ซึ่งในระยะเวลาที่ผ่านมาร่วม 20 ปี มีรุ่นรถทั้งหมดดังนี้
ประเภทรถยนต์ส่วนบุคคล Chevrolet Optra
ประเภทรถยนต์อเนกประสงค์
ประเภทรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
สัญญาณส่อเค้าล่มที่เกิดขึ้น ทำให้ทางจีเอ็มก็ประคับประคองมาอย่างทรงตัว และตัดสินใจลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จนวางแผนชะงักการผลิตจัดจำหน่ายรถยนต์บางรุ่น ในปี 2558 จีเอ็มถอรตัวออกจากโครงการ Eco Car เฟส 2 และตัดสินใจยกเลิกการทำตลาดรถยนต์นั่งทั้งหมดในที่สุดเมื่อปี 2561 และหันมาจับตลาดรถอเนกประสงค์อย่างเต็มที่แทน คู่กับรถกระบะที่ยังมีเอาไว้เช่นกัน
โดยเหลือรถเพียง 3 รุ่นที่ทำตลาดคือ Chevrolet Captiva ,Chevrolet Trailblazer และ Chevrolet Colorado ซึ่งทางจีเอ็มเองก็ต้องทำการตลาดและแข่งขันอย่างหนัก เพราะในปัจจุบันเข้าสู่ยุคที่ตลาดรถกระบะและรถอเนกประสงค์เป็นที่ต้องการสูงมาก แต่ละค่ายต่างพากันประชันอย่างดุเดือด
ทาง Chevrolet จึงต้องพยายามงัดจุดขายออกมาสู้อย่างเต็มที่ จนกระทั่งเมื่อปลายปี 2562 ที่ผ่านก็ทำการปล่อยโฉมใหม่ของรถรุ่นยอดฮิตของค่าย Chevrolet Captiva และสามารถดึงกระแสและยอดขายกลับมาได้อยู่ในระดับหนึ่ง
การฟื้นตัวในตลาดไทยเหมือนกลายเป็นเพียงการต่อลมหายใจและใช้ชีวิตที่เหลือหลังการผ่าตัดใหญ่จากวิกฤตครั้งก่อนเท่านั้น เพราะบาดแผลครั้งนั้นยังอักเสบและไม่ได้ปิดสนิทอย่างที่ควรเป็น เพราะแผนการตลาดของกลุ่มจีเอ็มระดับโลก ไม่ได้ให้ความสำคัญทางตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกแล้ว ด้วยมองในแง่การลงทุนการผลิตรถพวงมาลัยขวา เป็นการดำเนินการที่ต้องมีค่าใช้เพิ่มขึ้น ทั้งต้องเผชิญการแข่งขันที่สูงขึ้นอีก Chevrolet จึงไม่สามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดได้อยู่ในระดับที่คุ้มทุน
จนในที่สุด 17 กุมภาพันธ์ 2563 ทางเจนเนอรัล มอเตอร์ส ประกาศยุติการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของ Chevrolet ภายในสิ้นปีนี้ และตอนนี้ก็ได้ขายโรงงานให้แก่กลุ่มองค์กรสัญชาติจีนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ปิดฉากไปอีกหนึ่งกับแบรนด์สัญชาติอเมริกันในตลาดไทย เหลือเพียงรอเวลานับถอยหลัง ที่ชื่อของค่ายโบว์ไทน์จะกลายเป็นตำนานในอีกไม่ช้า แต่สำหรับผู้ใช้ Chevrolet ไม่ต้องกังวล เพราะทางค่ายการันตีว่ายังมีศูนย์บริการที่จะรับรองทั้งการซ่อมแซม บำรุง รวมถึงอะไหล่ให้แก่ลูกค้าเก่าอยู่เช่นเดิม
ดูเพิ่มเติม
>> สรุป 10 ข่าวรถยนต์ต่างประเทศ ประจำเดือนมกราคม 2020