ฝุ่นพิษ PM2.5 สัญญาณเตือนไทย เร่งหันไปใช้รถไฟฟ้า

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 22 ก.พ 2561
แชร์ 0

ความเปลี่ยนแปลงกระแสระบบขับเคลื่อนในยานพาหนะ จากเครื่องยนต์ใช้น้ำมันสู่มอเตอร์ไฟฟ้า (EV) พึ่งพาแค่การชาร์จกำลังเป็นที่สนใจ และได้รับความนิยมมากขึ้นทั่วโลก แม้ประเทศสยามบ้านเรายังอยู่ในจุดที่เรียกว่า “ตั้งไข่” ปูพื้นฐานเพื่อรอการเข้ามาอย่างเต็มรูปแบบของรถไฟฟ้า แต่ทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว รถประเภทนี้ไม่ใช่แค่กระแสลมเบาๆ พัดมาแล้วก็ไป แต่พวกเขาจริงจังจนตอนนี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างแล้ว

 ฝุ่นพิษ PM2.5 สัญญาณเตือนไทย เร่งหันไปใช้รถไฟฟ้า

ฝุ่นพิษ PM2.5 สัญญาณเตือนไทย เร่งหันไปใช้รถไฟฟ้า

ส่วนในไทยก็เริ่มจะรับรู้ถึงความสำคัญในรถประเภทนี้แล้วด้วยเช่นกัน หลังวิกฤติมลภาวะทางอากาศเมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มหมอกควันที่ไม่ได้เกิดจากอากาศหนาวแต่เป็นฝุ่นพิษที่เรียกว่า PM 2.5 คือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมคอน ที่ขนจมูกไม่สามารถคัดกรองได้ แต่สามารถเข้าไปในร่างกายผ่านทางเดินหายใจ กระแสเลือด แทรกซึมไปในการทำงานของอวัยวะต่างๆ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมากมายอย่าง มะเร็ง และสาเหตุของการเกิดฝุ่นพิษนี้ หนึ่งส่วนสำคัญมาจากมลภาวะที่เกิดจากการคมนาคมขน รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในที่สร้าง PM2.5 ออกมากว่า 50,240 ตันต่อปี

ฝุ่นควันจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ในรถ คือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ

ฝุ่นควันจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ในรถ คือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศ

โลกกำลังเอาคืนความมักง่ายรักสบายของมนุษยชาติ ความประนีประนอมด้วยการนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปได้ปกติ หวังให้เรื่องวิกฤตการณ์เรือนกระจกครี่คลาย ลดการปล่อยมลภาวะทางอากาศจากรถยนต์ซึ่งมาจากที่เราทุกคนสร้างขึ้นมาจากเครื่องยนต์ที่อยู่ในรถ มีหลายประเทศตื่นตัวกับปัญหาเหล่านี้แล้ว ไม่ว่าจะเป็น

  • อังกฤษจะแบนรถใช้เครื่องยนต์เบนซินและดีเซลภายในปี 2040

  • ฝรั่งเศสตั้งเป้าห้ามขายรถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในปี 2040

  • จีนวางแผนยกเลิกผลิตและจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันภายในปี 2030

  • เยอรมนี มีมติเรียกร้องให้ห้ามขายยานพาหนะที่ขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์สันดาปภายในทั้งเบนซิน และดีเซลหลังปี 2030

ตัวอย่างของมหาอำนาจทางเศรฐกิจ ที่พร้อมใจกันยกเลิกการใช้รถยนต์ที่ยังต้องพึ่งพาเครื่องยนต์สันดาป เผาไหม้ภายใน ปล่อยมลภาวะทำลายชั้นบรรยากาศ ด้วยเป้าหมายในการลดมลภาวะทางอากาศ สิ่งที่จะมาทดแทนเครื่องยนต์ของรถได้ดีที่สุด และเห็นภาพความเป็นไปได้มากที่สุดในตอนนี้คือมอเตอร์ไฟฟ้าที่ปล่อยมลภาวะออกมาเป็นศูนย์หรือ Zero Emission

แรงผลักดันทั้งในแง่กระแสโลก และการเตือนภัยจากธรรมชาติผ่านวิกฤตการณ์ทำให้ รถไฟฟ้า เป็นทางออกที่ดูเหมือนจะลงตัวที่สุดสำหรับนิยามของการเดินทางในอนาคต แต่จะมีปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยส่งเสริมให้รถไฟฟ้าเกิดขึ้นจริง จนได้รับความนิยมในประเทศไทยบ้าง  

1. ต้องเริ่มให้เป็นที่นิยม

ในปี 2008 มีการเปิดตัวรถไฟฟ้า (EV) สู่ตลาดสหรัฐฯ เป็นครั้งแรก สร้างเสียงฮืฮฮาให้กับมวลชนจนเป็นที่ตื่นตาตื่นใจไปทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมคาดการณ์กันว่าจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนทั่วโลกจะเกินสองล้านคันภายในสิ้นปี 2016 และยังคาดกันว่ารถไฟฟ้าจะมีส่วนในตลาดรถยนต์ทั่วโลกสูงกว่า 35% ภายในปี 2040

เมื่อผู้ใช้มากขึ้น แน่นอนว่าแรงรกะเพื่อมต้องมาถึงเมืองไทย บริษัทเอกชนมองไกล เริ่มสร้างสถานีชาร์จไฟเพื่อรถยนต์ไฟฟ้ารอไว้แล้ว ตามโครงการ “EA Anywhere” ที่วางเป้าไว้ 1,000 สถานีทั่วกรุงเทพฯ ภายในสิ้นปี ส่วนเรื่องตัวรถที่น่าสนใจที่สุดคงหนีไม่พ้นค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่อย่าง Nissan ก็ออกมายันแล้วผ่านผู้บริหารว่า Nissan LEAF รถไฟฟ้ารุ่นสร้างชื่อของค่ายจะถูกนำมาขายอย่างแน่นอนในไทย นิมิตรหมายอันดีสำหรับค่ายใหญ่คุ้นหน้า กับรถไฟฟ้าที่ราคาไม่ไกลเกินเอื้อม เมื่อ Nissan มาแล้ว เหตุใดค่ายใหญ่อื่นๆ จะไม่ลงมาเล่นด้วยละ? ความเป็นไปได้ที่จะเห็นรถมลภาวะเป็นศูนย์วิ่งเกลื่อนถนนก็คงไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน

EA Anywhere สถานีชาร์จไฟที่มีแผนจะติดตั้งให้ครบ 1,000 สถานีในสิ้นปีนี้

2. ภาครัฐฯ ดันให้ประชาชนหันมาใช้

หลายประเทศทั่วโลกใช้มาตรการสนับสนุนรถไฟฟ้า ทั้งทางตรง และทางอ้อม เพื่อส่งเสริม จูงใจให้ประชาชนของตนตัดสินใจเลือกรถไฟฟ้าเป็นรถคันต่อไป รัฐบาลจีนชดเชยค่าแบตเตอรี่ให้กับทุกคนที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเงิน 60,000 หยวน (ราว 309,000 บาท), ประเทศญี่ปุ่นในช่วงปี 2009-2012 มีการลดภาษีการซื้อขายให้ 1.6% - 2.7% หรือระหว่าง 150,000-300.000 เยน (ราว 46,000 - 92,000 บาท) สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า รวมทั้งการลดภาษีประจำปีให้อีก 50%, ประเทศนอร์เวย์ยกเลิกการเก็บภาษีมูลค่ากว่า 25% ของราคาตัวรถ พร้อมอนุญาตให้ใช้บัสเลนได้ในช่วงเวลาเร่งด่วน, ประเทศฝรั่งเศษ ชดเชยการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าใหม่จำนวน 6,300 ยูโร (ราว 237,000 บาท), ประเทศเยอรมนีงดเก็บภาษีรถยนต์รายปีนาน 10 ปี นี่คือตัวอย่างของการสนับสนุนอย่างเอาจริงของรัฐบาลแต่ละประเทศเพื่อให้ประชาชนของพวกเขาหันมาสนใจรถพลังงานสะอาด

ระบบรองรับรถไฟฟ้าต้องครบครัน ผู้ใช้ถึงจะกล้าที่จะซื้อรถ

ระบบรองรับรถไฟฟ้าต้องครบครัน ผู้ใช้ถึงจะกล้าที่จะซื้อรถ

สำหรับประเทศไทย จำช่วงเวลานี้เอาไว้ให้ดี ยุคเริ่มแรกของยานยนต์ในอนาคต คนจำนวนมากแม้ยังรู้สึกห่างไกลกับรถไฟฟ้าด้วยเหตุเรื่องราคา แต่ถึงอย่างไรก็ตามถ้ามีการช่วยเหลืออย่างจริงใจของภาครัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลดหย่อนภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าสำหรับรุ่นนำเข้า หรือชิ้นส่วนอะไหล่ของรถประเภทนี้ ทำให้ราคารถไม่แพงเว่อจนเอื้อมถึง ซึ่งตอนนี้ครม. มีมติเห็นชอบเก็บภาษีนำเข้ารถไฟฟ้าเหลือเพียงแค่ 2% แล้ว รวมไปถึงมาตรการสนับสนุนในฝั่งของผู้ซื้อรถไฟฟ้าที่ผลิตในประเทศ ไอเดียตามรอยโครงการกระตุ้นผู้ซื้อ “รถคันแรก” เหมือนที่เคยมีในอดีตซึ่งเห็นได้ชัดว่าประสบความสำเร็จก็เป็นสิ่งที่ภาครัฐของไทยควรนำกลับมาใช้กับรถไฟฟ้า ประชาชนแห่ซื้อรถเพราะเงินช่วยเหลือกว่าแสนบาท ถ้าเป็นโครงการ “รถไฟฟ้าคันแรก” ละ ทำไมจะไม่เป็นที่นิยม ตัวอย่างก็มีให้เห็นในหลายประเทศให้ทำตามเอาอย่าง หลายๆ มาตรการ ถ้ารัฐบาลไทยนำมาปรับใช้ เชื่อว่าคงดึงดูดให้ประชาชนที่ต้องการมีรถ ต้องอยากเป็นเจ้าของรถไฟฟ้ากันไม่น้อยอย่างแน่นอน

3. ต้องส่งเสริมรอบด้าน

เมื่อช่วงต้นปีที่แล้ว ตามที่บอกไว้ข้างต้นเรื่องครม. ไฟเขียว 6 มาตรการเพื่อสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าในด้านต่างๆ รวมไปถึงรถในประเภทไฮบริดทั้ง Hybrid Electric Vehicle (HEV) และ Plug-In Hybrid Electric Vehicle (PHEV) หนึ่งในมาตรการที่น่าสนใจคือมาตรการส่งเสริมการลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้มีการส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน รวมไปถึงการตั้งสถานีชาร์จไฟ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ในด้านต่างๆ ในกิจการที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร การลดหย่อนอากรขาเข้าของวัตถุดิบ และวัสดุจำเป็น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น เพื่อให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจถึงความจริงจังจากภาครัฐฯ อันมีเป้าหมายเพื่อสร้างความแพร่หลายให้รถยนต์มลพิษเป็นศูนย์ และลดมลภาวะให้กับประเทศเพื่อประชาชน

แรงส่งเสริมสำคัญจากภาครัฐทำให้นักลงทุนกล้าที่จะเปิดโรงงานผลิตรถไฟฟ้า และอะไหล่

แรงส่งเสริมสำคัญจากภาครัฐทำให้นักลงทุนกล้าที่จะเปิดโรงงานผลิตรถไฟฟ้า และอะไหล่

4. ประชาชนผู้ใช้รถ หันมาใส่ใจในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

จำนวนประชากรที่มากขึ้นของโลกใบนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม คนในวัย Millennials จนมาถึงรุ่น Gen X คือกลุ่มช่วงอายุที่สนับสนุนการใช้รถไฟฟ้ามากกว่าครึ่งที่จำหน่ายได้ทั่วโลก 55% ของผู้ตัดสินใจซื้อรถไฟฟ้า จะอยู่ในช่วงอายุ 36 ปีถึง 55 ปี โดยเฉพาะคนวัย Millennials จะให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมกว่าคนวัยอื่นๆ และเริ่มสนใจในการซื้อรถไฟฟ้าในในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าด้วย ในการศึกษาปี 2014 พบว่า 66% ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่าพวกเขายินดีที่จะยอมจ่ายเพิ่มเพื่อสนับสนุนให้การรักษาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสำหรับเมืองไทยก็ต้องขึ้นกับปัจจัยความพร้อมด้านต่างๆ ด้วยเช่นกัน กว่าระบบความพร้อมเกี่ยวกับรถไฟฟ้าจะครบครันอาจต้องใช้เวลานานกว่าชาติอื่นๆ ที่เขาเริ่มกันไปก่อนแล้ว  

และนี่คือเหตุผลที่จะช่วยให้ประเทศไทยได้พัฒนา ก้าวสู่การใช้รถไฟฟ้าอย่างจริงจัง และแพร่หลาย ถ้าไม่เร่งทำหรือเริ่มตั้งแต่ตอนนี้ ต่อไปอีกไม่นาน ทุกครั้งที่คุณก้าวออกจากบ้านอาจจะต้องสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นตลอดเวลาก็เป็นได้

แล้วคุณละพร้อมหรือยังสำหรับรถไฟฟ้า บอกกับเรา Chobrod ให้รู้หน่อย  

ดูเพิ่มเติม