มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น บริษัทแม่ในญี่ปุ่น ประกาศแผนการบริหารงาน ให้สัญญาณชัด เตรียมเปิดตัวกลุ่มรถไฮบริด ปลั๊กอิน และรถยนต์ไฟฟ้าในไทย
Mazda Vision
"รถยนต์ไฟฟ้าคืออนาคต" ผู้ผลิตรถยนต์กลายค่ายออกมายืนยัน และทยอยเปิดแผนงานตัวเองที่พร้อมปรับเปลี่ยนไปสู่อนาคต เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564 มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประกาศเกี่ยวกับแผนการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด พร้อมแถลงนโยบายด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามวิสัยทัศน์ระยะยาว Sustainable Zoom-Zoom 2030 มุ่งมั่นเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ภายในปี 2030 ตามแผนงาน 5 หัวข้อหลัก
ซึ่งมาสด้า เปรียบเทียบรากฐานทางเทคโนโลยีตัวเองเป็น "บล็อก" คือ เทคโนโลยีสกายแอคทีฟ (SKYACTIV) กำเนิดเมื่อ 2007 พัฒนาปรับปรุงเครื่องยนต์สันดาปภายใน จากนั้นจึงเพิ่มเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าพื้นฐานเข้ามาใน Building-Block ชิ้นแรก จึงใช้กับรถยนต์มาสด้าได้หลายรุ่น และแพลตฟอร์มนี้ได้กลายมาเป็นองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่นำมาใช้พัฒนาขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์ของมาสด้ามาตั้งแต่ปี 2012
พัฒนาเครื่องยนต์สันดาปภายในคุณภาพสูงคือ SKYACTIV-X และเครื่องยนต์ 6 สูบ แถวเรียง
เทคโนโลยีที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม SKYACTIV Multi-Solution Scalable Architecture / TPU (Transverse power units หรือการวางเครื่องตามแนวขวาง) ในรถยนต์ขนาดเล็ก / LPU (Longitudinal power units หรือการวางเครื่องตามแนวยาว) ในรถยนต์ขนาดใหญ่
ซึ่งจากแพลตฟอร์มนี้ทำให้สามารถพัฒนารถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าได้หลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน รวมถึงก้าวผ่านข้อกำหนดทางด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานด้านการผลิตไฟฟ้าในตลาด
มาสด้าจะทำการเปิดตัวแพลตฟอร์ม EV ที่มีชื่อว่า SKYACTIV EV Scalable Architecture ภายในปี 2025 สำหรับรถยนต์ EVs หลายขนาดและหลายรูปแบบตัวถัง
จากพื้นฐานกลยุทธ์เหล่านี้ มาสด้าจะทำการปรับปรุงกระบวนการในการพัฒนารถยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูง ได้แก่ แนวทาง Common Architecture, Bundled Planning และ Model Based Development เพื่อที่จะเพิ่มองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี และเตรียมความพร้อมสำหรับยุครถยนต์ไฟฟ้าแบบเต็มรูปแบบโดยความร่วมมือกับพันธมิตร
ภายใต้แพลตฟอร์ม SKYACTIV Multi-Solution Scalable Architecture จะเปิดตัวแนะนำในตลาดหลัก อาทิ ญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกา จีน และภูมิภาคอาเซียน ระหว่างปี 2022 - 2025 ซึ่งจะประกอบด้วยรถยนต์ Hybrid จำนวน 5 รุ่น ซึ่งจะไม่นับ Mid hybrid แต่นับรถที่ใช้ระบบไฮบริดของโตโยต้า, Plug-in hybrid จำนวน 5 รุ่น และรถยนต์ EV จำนวน 3 รุ่น
SKYACTIV Multi-Solution Scalable Architecture กับ Mid hybrid
SKYACTIV Multi-Solution Scalable Architecture กับ Plug-in hybrid
SKYACTIV Multi-Solution Scalable Architecture เครื่องดีเซลกับ Mid hybrid
สอดคล้องกับ แผนมาสด้า ประเทศไทย ที่เตรียมเปิดตัวรถใหม่ทุกเซ็กเม้นท์ โดยข่าวลือล่าสุด เตรียมเปิดตัว Mazda 2 เจเนอเรชั่นใหม่ ภายในปี 2022 พร้อมพร้อมระบบไฮบริด เพราะ Life Cycle ของรุ่นนี้คือ 8 ปีรับตั้งแต่ เปิดตัวเมื่อ 2014
อ้างอิงจากแผน โอกาสที่ Mazda 2 เจเนอเรชั่นใหม่ มาพร้อมไฮบริดคือชัดเจน แต่ต้องไปรอดูกันต่อว่าจะให้ระบบ Mid hybrid ที่เป็นไฮบริดขนาดเล็ก ที่มาช่วยลดการคายไอเสีย และเพิ่มอัตราประหยัดเพียงแค่นี้ หรือจะยกระบบไฮบริดของ Toyota มาใช้งาน ซึ่งจะเป็นไฮบริดแบบเดียวกับ Collora Cross, C-HR เพื่อเข้าชนกับ Honda City Hybrid จากเวลาที่เหมาะสม คาดว่าปลายปี 2021ในงาน Motor Expo อาจทำการเปิดตัวก็เป็นได้
อ่านเพิ่มเติม
- มาสด้า จบปี 63 เจอ covid เขย่าเล็กน้อย ปี 2564 แผนเปิดตัวรุ่นใหม่ทุกเซ็กเมนต์
มาสด้ายังเตรียมรถยนต์อีกหลายรุ่นที่ถูกพัฒนาภายใต้แพลตฟอร์ม SKYACTIV Scalable EV Architecture โดยจะเปิดตัวแนะนำสู่ตลาดในระหว่างปี 2025 - 2030 ซึ่งเมื่อทำตามแผน สัดส่วนรถ EV ของมาสด้าจะอยู่ที่ 25% ของรถที่จำหน่ายทั้งหมด ภายในปี 2030
มาสด้ากำลังพัฒนาระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ใช้มนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centric Autonomous Driving System) หรือ Mazda Co-pilot ตรวจจับพฤติกรรมของผู้ขับขี่เมื่อระบบตรวจสอบพบสิ่งผิดปรกติและอันตราย ระบบจะเปลี่ยนไปใช้โหมดขับเคลื่อนอัตโนมัติเข้าจอดในที่ปลอดภัย และทำการหยุดรถ รวมถึงกดหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน ซึ่งในขณะนี้มาสด้าเรียกว่า Mazda Co-Pilot 1.0 ซึ่งกำลังจัดเตรียมแผนงานและจะเริ่มเปิดตัวแนะนำในรถยนต์ตัวถังขนาดใหญ่ โดยจะเริ่มตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไป
การพัฒนาซอฟต์แวร์ขั้นพื้นฐาน ให้สามารถรองรับการให้บริการระบบขนส่งที่เชื่อมต่อทุกเส้นทางหรือ Mobility as a Service (Maas) และอัพเดทฟังก์ชั่นรถยนต์แบบ Over the Air (OTA) การสื่อสารภายในรถยนต์เจเนอเรชั่นใหม่
มาสด้าจะผลักดันการพัฒนาเจเนอเรชั่นถัดไปของรถไฟฟ้า Electric/Electronic Architecture (EEA) ที่สามารถประมวลผลข้อมูลจากภายในและภายนอกรถให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ตามวิสัยทัศน์ในระยะยาว Sustainable Zoom-Zoom 2030 ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ เพื่อโลก เพื่อสังคม และเพื่อผู้คน มาสด้าเดินหน้าตามปรัชญาการพัฒนาโดยเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-centered development philosophy) ที่ให้คุณค่ากับมนุษย์และศักยภาพของผู้คน ไปจนถึงการนำไปสู่เป้าหมายในอนาคต นั่นคือ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ หรือ zero emission และ CASE จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของอุตสาหรรมยานยนต์
ตลาดรถมือสอง มีรถมากมายให้เลือกในราคาที่ถูกใจ
ดูราคารถเพิ่มเติม: Mazda 2 ตารางผ่อน