บังคับใช้แล้ว กฏหมายจราจร จำกัดความเร็วรถพยาบาลวิ่งไม่เกิน 80 กม./ชม.

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 26 เม.ย 2562
แชร์ 6

สธ.แถลงแล้ว ห้าม "รถพยาบาล" ขับเกิน 80 กม./ชม.และ ไม่ฝ่าไฟแดง ซึ่งจะถือกำหนดเป็นกฏหมาย เพราะที่ผ่านมานั้นได้มีการเกิดอุบัติจากรถพยาบาล มีทั้งผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตหลักหลายร้อยคน ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สธ.จะต้องมาดูแลในส่วนนี้

จำกัดความเร็วของรถพยาบาลในเครือ สธ.ไม่เกิน 80 กม./ชม.

จำกัดความเร็วของรถพยาบาลในเครือ สธ.ไม่เกิน 80 กม./ชม.

หลังจากที่เป็นข่าวถกเถียงกันมาพักใหญ่ ๆ ก็ได้ข้อสรุปของเรื่อง “การจำกันความเร็วของรถพยาบาล” ซึ่งเรื่องนี้ก็มีผู้คนหลายกลุ่มแสดงความเห็นที่ต่างกันออกไปว่าสมควรบ้าง บางกลุ่มก็บอกว่าไม่สมควร ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้ป่วยที่อยู่ในรถพยาบาลนั้นควรได้รับการรักษาที่เร็วที่สุด แต่อีกนัยหนึ่งก็บอกว่าการใช้ความเร็วในระหว่างที่ทำการรับส่งผู้ป่วยนั้นอาจจะเกิดอุบัติเหตุที่สร้างความสูญเสียได้มากกว่านั้นเอง ซึ่งทาง สธ.ได้มีประกาศแถลงออกมาเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2562 ว่าด้วยเรื่องการใช้ความเร็วของรถพยาบาล

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นดังนั้นการใช้รถต้องมีความระวังอย่างสูง

อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นดังนั้นการใช้รถต้องมีความระวังอย่างสูง

สธ.แจงชัด ห้าม "รถพยาบาล" ขับเกิน 80 กม./ชม. ไม่ฝ่าไฟแดง เฉพาะสังกัด สธ. ในการส่งต่อผู้ป่วยข้าม รพ. ไม่เกี่ยวรถกู้ชีพ หลังพบเกิดอุบัติเหตุมาก เกือบ 4 ปี เจ็บตายรวม 318 ราย เผยก่อนส่งต่อผู้ป่วยต้องอยู่สภาพพร้อมที่จะไม่เกิดวิกฤตกลางทาง ย้ำหากต้องทำหัตถการ ควรจอดรถในที่ปลอดภัย ส่วนรับผู้ป่วยจากที่เกิดเหตุมา รพ. หากปฐมพยาบาลในที่เกิดเหตุแล้ว ไม่จำเป็นต้องขับรถเร็ว จากกรณีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกมาตรการจำกัดความเร็วของ "รถพยาบาล" ไม่เกิน 80 กม./ชม. หรือไม่เกินที่กฎหมายกำหนด มีผู้โดยสารรวมพนักงานขับไม่เกิน 7 คน ทุกคนต้องคาดเข็มขัดนิรภัย และห้ามทำหัตถการขณะรถเคลื่อนที่ ทุกคันต้องติดอุปกรณ์ GPS และกล้องวงจรปิด พร้อมห้ามขับรถฝ่าสัญญาณไฟแดงทุกกรณี ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยเฉพาะข้อกังวลเรื่องส่งผู้ป่วยล่าช้า ทำให้ไม่ทันเวลาทองในการรักษาบางโรค

ดูเพิ่มเติม
>> ขึ้นได้ก็ขึ้นไป “ค่ารถเมล์” คนไทยไม่สน แต่อยากได้บริการที่ดีขึ้น
>> โหมโรงรับ “Avengers End Game” ย้อนไปส่องรถเจ๋ง ๆ ของ Iron Man ตั้งแต่ภาคแรกกัน

นพ.ประพนธ์ จากกระทรงสาธารณสุข ได้แถลงการเรื่องการจำกัดความขอรถพยาบาลต้องไม่เกิน 80 กม./ชม.

นพ.ประพนธ์ จากกระทรงสาธารณสุข ได้แถลงการเรื่องการจำกัดความขอรถพยาบาลต้องไม่เกิน 80 กม./ชม.

นอกจากนี้ นพ.ประพนธ์ ยังบอกอีกว่า จากสถิติย้อนหลังตั้งแต่ปี 2559-2562 ได้เกิดอุบัติเหตุกับรถพยาบาลจำนวน 110 ครั้ง และยังมีผู้ที่เจ็บและเสียชีวิตมากถึง 318 ราย แบ่งเป็นบุคลากรจากโรงพยาบาล 129 ราย เสียชีวิต 4 ราย พิการ 2 ราย ,เป็นผู้ป่วยบนรถ บาดเจ็บ 58 ราย เสียชีวิต 3 ราย , คู่กรณี เสียชีวิต 14 ราย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล ถึง 80% ซึ่งเป็นความสูญเสียอย่างมากเลยทีเดียว สาเหตุทั้งหมดนั้นมาจาก การขับด้วยความเร็วเป็นอันดับ 1 เช่นกรณีส่งต่อผู้ป่วยจากปราจีนบุรีไปอุบลราชธานี และไปเกิดอุบัติเหตุที่จังหวัดศรีสะเกษ จากการตรวจ GPS ดูความเร็วพบว่ารถพยาบาลนั้นใช้ความเร็วถึง 130 กม./ชม. หลายครั้งที่เกิดเหตุมาจากการผ่าไฟแดง  และ อันดับสองถือเข็มขัดนิรภัย ซึ่งมีแค่จุดนั่งคนขับเพียงที่นั่งเดียวเท่านั้น

จะเห็นได้ว่า ภายในขอรถพยาบาลจะไม่มีเข็มขัดนิรภัยดังตั้นจึงมีการปรับปรุงให้ติดตั้งเพิ่มในอนาคต

จะเห็นได้ว่า ภายในขอรถพยาบาลจะไม่มีเข็มขัดนิรภัยดังตั้นจึงมีการปรับปรุงให้ติดตั้งเพิ่มในอนาคต

ด้วยเหตุนี้จึงมากฎข้อบังคับการขับรถพยาบาลต้องมีความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม. และบังคับให้รถพยาบาลทุกคันต้องมีเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญในการช่วยลดอาการบาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตูได้ ถ้าหากเมื่อช่วยเหลือผู้ป่วยภายในรถเช่น ต่อสายน้ำเกลือ ควรจะด้องจอดรถในที่ปลอดภัยแล้วจึงดำเนินการ เพราะหากลุกมาดูแลคนป่วยระหว่างรถวิ่งอยู่ อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นป้องกันไว้กาอนจะดีกว่า นอกจากนี้ยังออกมาตรการเยียวยา คือการประสานงานบริษัทประกัน ในการทำประกันภัยชั้น 1 ซึ่งช่วยลดเบี้ยประกันจาก 3.7-3.8 หมื่นบาทลงมาเหลือ 2.7-2.8 หมื่นบาท แต่เพิ่มเบี้ยคุ้มครองจาก 5 คนเป็น 7 คนจากที่จ่ายคนละ 1 ล้านบาทก็เพิ่มเป็น 2 ล้านบาท ทั้งนี้จึงขอความร่วมมือให้มีผู้โดยสารบทรถพยาบาลให้ไม่เกิน 7 คน

ถ้าหากใครที่เจอรถพยาบาลวิ่งมาก็ช่วยกันเปิดทางคนละไม้คนละมือถือเป็นการช่วยชีวิตอีกด้วย

ถ้าหากใครที่เจอรถพยาบาลวิ่งมาก็ช่วยกันเปิดทางคนละไม้คนละมือถือเป็นการช่วยชีวิตอีกด้วย

ถ้าหากเป็นกรณีต้องช่วยเหลือผู้ป่วยระหว่างส่งต่อบนรถ และมีข้อจำกัดทางด้านเวลาที่จะต้องไปโรงพยาบาลให้ทัน จะต้องทำอย่างไร ? ซึ่งนพ.ประพันธ์ ได้ให้คำตอบไว้ว่า หากเป็นกรณีส่งต่อข้ามโรงพยาบาลนั้น ทางต้นทางจะต้องประเมินสภาพอาการของผู้ป่วย ว่าตลอดการเดินทาง 4-5 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะต้องมีเสถียรภาพที่พร้อมไม่เกิดวิกฤตฉุกเฉินขึ้นระหว่างทาง ซึ่งถ้าหากเกิดอะไรขึ้นระหว่างทางจำเป็นต้องทำหัตถการก็ควรจอดรถทำในจุดที่ปลอดภัย ส่วนการไปรับผู้ป่วยจากที่เกิดเหตุนั้นจะต้องแบ่งระดับรถที่ไปรับตามความรุนแรงของผู้ป่วยอีกด้วย ทั้งนี้การออกไปรับผู้ป่วยหรือส่งต่อระหว่างทาง รพ.ควรจะมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจช่วยจัดการเรื่องจราจรอำนวยความสะดวกเพื่อลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ทางรถพยาบาลมีการประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรอยู่แล้ว ยิ่งโดยเฉพาะในพื้นที่ ที่มีการจราจรหนาแน่นเข้าถึงได้ยาก ก็มีการอำนวยความสะดวกจากเจ้าหน้าที่ให้สามารถเข้าถึงจุดหมายได้อย่างรวดเร็วในทุกพื้นที่นั่นเอง

การขับด้วยความเร็วนั้นถึงจะประหยัดเวลาแต่หากเกิดอุบัติเหตุนั้นก็จะรุนแรง

การขับด้วยความเร็วนั้นถึงจะประหยัดเวลาแต่หากเกิดอุบัติเหตุนั้นก็จะรุนแรง

สำหรับปัญของรถพยาบาลที่ขับเร็วกว่ากำหนดจะมองว่าการขับรถเร็วมากขึ้นนั้นอาจจะประหยัดเวลาได้ประมาณ 5-10 นาทีเท่านั้น ดังนั้นถ้าเทียบกับการเกิดอุบัติเหตุที่จะทำให้สูญเสียนั้นอาจจะประเมินค่าเทียบกันไม่ได้ หรืออาจจะทำให้เสียเวลามากยิ่งกว่าเดิมอีกด้วย ซึ่งในบางกลุ่มก็ยังมีข้อถกเถียงว่า ควรใช้ความเร็วพร้อมอำนวยความสะดวกบนท้องถนนพร้อมให้ผู้ใช้ถนนช่วยเอื้อเฟื้อกันนั่นเอง แล้วเพื่อน ๆ คิดว่ายังว่ายังไงว่าควรให้ใช้ความเร็ว หรือควรควบคุ้มความเร็วในการรับส่งผู้ป่วยนะครับ

ดูเพิ่มเติม
>> ทำความรู้จักกับใบขับขี่ประเภท 2 คืออะไร มาดูกัน!

>> จอดรถขวางหน้าบ้านคนอื่น จอดรถซ้อนกันถึงแม้ว่าจะดึงเบรกมือแล้วถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่ ?

ติดตามข่าวสารรถยนต์ คลิกที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้ 

Chansit