IMV0 ของ Toyota คืออะไร จุดเริ่มต้นของโครงการ IMV แพลตฟอร์มรถยนต์ที่มาพร้อมแชสซีส์ พัฒนาโดยวิศวกรชาวไทย สำหรับการพัฒนาต่อยอดได้หลายรูปแบบ และมีความอเนกประสงค์ ที่ตอนนี้กำลังเตรียมเปิด เจนฯ 2 ในชื่อ IMV0 ที่จะมาพลิกโฉมตลาดกระบะของไทยและทั่วโลก
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2022 โตโยต้า ประเทศไทย ได้ทำการแถลงข่าวฉลองการดำเนินงานธุรกิจครอบรอบ 60 ปี ในประเทศไทย โดยได้รับเกียรติจาก อะกิโอะ โตโยะดะ (Akio Toyoda) ประธานปัจจุบันของ Toyota Motor Corporation จากญี่ปุ่น หรือจะเรียกว่าประธานใหญ่ก็ไม่ผิดนัก นอกจากนี้คุณอะกิโอะ โตโยะดะ คือทายาทรุ่นที่ 3 ของผู้ก่อตั้งแบรนด์ Toyota
อ่านเพิ่มเติม - กระบะไฟฟ้า Hilux BEV และ กระบะประกอบเอง IMV 0 เปิดตัวกลางปี 2023 ในไทยที่แรกของโลกในงานฉลอง 60 ปีโตโยต้า
ภายในงานแถลงข่าวระหว่างที่คุณอะกิโอะ โตโยะดะ ได้แถลงข่าวก็ได้เผยข้อมูลเรื่องโครงการ IMV0 (ไอเอ็มวี ซีโร่) ซึ่งเป็นแผนการพัฒนารถกระบะรุ่นใหม่เป็นครั้งแรก ซึ่งถือว่าเซอร์ไพรส์มาก ๆ เพราะเป็นโครงการใหม่ที่ทางโตโยต้าซุ่มพัฒนา และนี่เป็นครั้งแรกเปิดเผยต่อหน้าสาธารณชน โดยคุณอะกิโอะ โตโยะดะก็โปรยคำหวานในงานเพราะการครบรอบ 60 ปี ของโตโยต้า ประเทศไทยถือเรื่องที่ยิ่งใหญ่ สำหรับประเทศไทยมีความสำคัญกับโตโยต้าเป็นอย่างมาก ปัจจุบันไทยมียอดขายรถยนต์โตโยต้าเป็นอันดับ 4 ของโลก และที่ไทยก็เป็นแหล่งผลิตรถยนต์โตโยต้าสำหรับส่งออกไปกว่า 124 ประเทศทั่วโลก
นอกจากนี้คุณอะกิโอะ โตโยะดะ ยังได้เล่าย้อนความกลับไปเมื่อสิบกว่าปีก่อน ตอนนั้นได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลโครงการต่าง ๆ ของ โตโยต้าในโซน เอเชีย-แปซิฟิก หนึ่งในนั้นมีโปรเจกท์ IMV ที่เริ่มต้นจากประเทศไทย ด้วยข้อเสนอและการซัพพอร์ตเพื่อการลงทุนจากรัฐบาลไทย และเมื่อเข้ามากำกับดูแล โปรเจกท์ IMV จึงมีโอกาสได้ร่วมงานกับทีมวิศวกรของไทยจำนวนมาก ในโครงการนี้มีความยากเป็นอย่างมาก ด้วยแผนและเงินการลงทุนมหาศาล รวมถึงเงื่อนไขของเวลาที่ต้องพัฒนาให้ทันตามกำหนด แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทีมงานวิศวกรชาวไทย ทำให้โปรเจกท์ IMV สำเร็จทัน และก็เป็นไปตามเป้าหมาย ผลลัพธ์ที่ได้ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทั้งหมดนี้คือเรื่องความผูกพันระหว่าง คุณอะกิโอะ โตโยะดะ กับประเทศไทย
โครงการไอเอ็มวี (IMV) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Innovative International Multi-purpose Vehicle ที่เริ่มประกาศดำเนินโครงการครั้งแรกในปี 2002 ซึ่งเป็นการพัฒนารถยนต์สำหรับการใช้งานที่อเนกประสงค์ โดยจะมีโครงสร้างรถยนต์ที่เป็นแชสซีส์ โครงการ IMV สำเร็จลุล่วงภายใน 2 ปีคือ 2004 และคลอดรถยนต์รุ่นแรกจากโครงการคือ Toyota Hilux Vigo ซึ่งก็ได้พลิกโฉมรถยนต์กลุ่มกระบะ 1 ตันในประเทศไทย
ต่อมาการก็ได้นำโครงสร้างรถยนต์ที่เป็นแชสซีส์จากโปรเจกท์ IMV มาพัฒนาต่อเป็นรถยนต์ในรูปแบบอื่นเป็น Toyota Fortuner และ Toyota Innova ด้วยการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยที่ส่วนลดในเรื่องของภาษี จึงมีชื่อเรียกรถกลุ่มนี้ว่า PPV (Pick-Up Passenger Vehicle) เหตุผลเพื่อจำแนกเรื่องการจ่ายภาษี และการเรียกแบบนี้ก็มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่เรียก เพราะเมื่อออกนอกประเทศไทย รถอเนกประสงค์ที่มีตัวถังบนแชสซีส์ก็เรียกว่า SUV ทั้งหมด
ปัจจุบันรถยนต์จากโปรเจกท์ IMV สำเร็จเป็นอย่างมาก มีรถยนต์ที่ผลิตภายใต้โปรเจกท์นี้กว่า 3.3 ล้านคันและส่งออกไปยัง 124 ประเทศทั่วโลก โดยกระบะ Hilux ก็ยังจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นด้วย ซึ่งปรกติแล้วรถยนต์ภายญี่ปุ่นก็มักจะขึ้นไลน์ผลิตในประเทศเอง นี่เป็นการแสดงถึงมาตรฐานและการยอมรับรถยนต์ที่ผลิตจากโรงงานของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
หัวน้าวิศวกร ผู้พัฒนาโปรเจกท์ IMV0 คือ ดร.จุฬชาติ จงอยู่สุข หัวหน้าวิศวกรของ TDEM โดยเป้าหมายคือพัฒนารถบนโครงสร้างพื้นฐานแบบแชสซีย์ กลุ่มและขนาดของรถยังไม่มีตัวเลขที่แน่ชัดเผยมา แต่จากที่ได้เห็นคันจริงดูโครงสร้างรถจะอยู่ระหว่างกลางระหว่างกลางของ กลุ่มกระบะ 1 ตันกับกระบะเล็ก Suzuki Carry
ดร.จุฬชาติ จงอยู่สุข
ด้านเป้าหมายกาพัฒนา ดร.จุฬชาติ จงอยู่สุข ไม่ได้มุ่งเน้นแค่ความอเนกประสงค์ แต่ยังมีเรื่องของดีไซน์ความสวยงาม ความคงทน อันเป็นคุณค่าของ Toyota โดยรถจากโปรเจกท์ IMV0 จะสามารถปรับและดัดแปลงได้เองโดยเจ้าของรถได้ง่าย ผู้ใหญ่ 2 คนสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของรถเสร็จสิ้นได้ภาย 1 ชม. ชิ้นส่วนและพาร์ทเกือบทุกชิ้นทั้งภายนอกรถและภายในรถ สามารถถอดและประกอบเข้าล็อกให้ความแข็งแรงและเป็นมาตรฐาน โดยตัวอย่างที่สามารถดัดแปลงได้เช่น
กระบะจาก โปรเจกท์ IMV0
ทั้งนี้รถจากโปรเจกท์ IMV0 ยังสามารถพัฒนาไปสู่กระบะเล็ก BEV ได้ในอนาคตหากมีความต้องการ ซึ่งโปรเจกท์ IMV0 ถูกคอนเฟิร์มโดยคุณอะกิโอะ โตโยะดะว่าจะเปิดตัวอย่างเป็นทางกลางในช่วงกลางปี 2023 แต่นั้นก็ยังไม่ได้ยินยันว่าจะเป็นรถยนต์สำหรับโปรดักส์ชันเพื่อจำหน่าย หรือเพียงแค่ Prototype ที่จะมีเพียงข้อมูลที่มากขึ้น แต่ที่แน่ ๆ โปรเจกท์ IMV0 ตอนนี้แค่แนวคิด ได้รู้สึกได้เลยว่าอนาคตมีโอกาสที่ประสบความสำเร็จสูงมาก ตามโครงการ IMV ในปัจจุบันไปอย่างแน่นอน