ในการกระทำผิดตามกฎหมายจรจารนั้นมีมากมายหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจอดในที่ห้ามจอด , แซงผิดที่ , เลี้ยวผิดในที่ห้ามเลี้ยว , และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีประเด่นหลัก ๆ ที่ผู้คนมักถูกใบสั่งกันซ้ำ ๆ ก็คือเรื่องการใช้ทางด่วนด้วยความเร็ว
ถ้าทำผิดกฎจราจรจะได้รับ "ใบแทนใบอนุญาตขับขี่ "
ถ้าจะพูดเรื่องของการทำผิดกฎจราจรแล้วคงนึกถึงเรื่องใบสั่ง ซึ่งการได้รับใบสั่งนั้นก็แปลว่าท่านได้ทำผิดกฎหมายจราจรอย่างแน่นอน เจ้าตัวใบสั่งนี้เป็นสิ่งที่จะบอกข้อมูลของการกระทำผิดกฎหมายจราจร และจะระบุค่าขับในใบสั่งไว้อย่างชัดเจน ใบสั่งหรือเรียกในภาษากฎหมายว่า “ใบรับแทนใบอนุญาตขับขี่” ตามพรบ.จราจรทางบก มาตรา 140 วรรคสาม ซึ่งเมื่อถูกจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไป แล้วให้ใบรับแทนใบอนุญาตขัยจี่มาใช้แทนค่อยไปชำระค่าปรับที่สถานนี่ตำรวจที่รับผิดชอบในท้องที่นั้น ๆ นอกจากนี้ถ้าถูกแจกใบสั่งท่านจะต้องดำเนินการชำระข้าปรับภายในเวลา 7 วันอีกด้วย
ส่วนใหญ่จะถูกใบสั่งซ้อนโดยการขับขี่รถบนทางด่วนด้วยความเร็วเกินกำหนด
ด้วยผลสำรวจใบปี 2561 ที่ผ่านมากได้พบว่าคนไทยที่มีใบขับขี่เฉลี่ยมีอัตราการโดนใบสั่งซ้อนสูงสุดถึง 144 ใบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ได้ประชุมหาแนวทาง ในการปรับปรุงกระบวนการบังคับใช้กฎหมายจราจร หลังจากพบว่า ในปี 2561 มีผู้ขับขี่รถในประเทศไทยที่กระทำผิดกฎจราจรและออกใบสั่งเพิ่มขึ้นจากปี 2560 กว่า 3,200,000 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 39 ขณะเดียวกันยังพบว่า มีคนไทยที่มีใบสั่งซ้อนสูงสุด 144 ใบ ในระยะเวลา 1 ปี โดยส่วนใหญ่เป็นรถขนส่งของภาคเอกชนวิ่งขนส่งของทั่วประเทศ และ รถขนส่งสาธารณะ ซึ่งถูกกล้องตรวจจับการกระทำความผิดอัตโนมัติ ในข้อหาขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และ รถบรรทุกไม่ขับชิดขอบทางด้านซ้าย นอกจากนี้ยังพบว่าในระยะเวลา 4 ปี มีผู้ขับขี่ที่เมาแล้วขับโดนจับซ้ำ 1,507 ราย
ดูเพิ่มเติม
>> รู้ก่อนสักนิด 5 วิธีช่วยประหยัดน้ำมันในการเดินทางไกล
>> กฎหมายน่ารู้วันนี้! “เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด” ที่ได้ยินมานั้นถูกต้องจริง หรือมั่วนิ่ม?
พลตำรวจตรี เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ รองผู้บัญชาการกองบัญชาการศึกษา
พลตำรวจตรี เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ รองผู้บัญชาการกองบัญชาการศึกษา ในฐานะคณะทำงานแก้ไขปัญหาการจราจร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตัวเลขที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นถึงกลไกการบังคับใช้กฎหมายของ บ้านเราที่ยังเข้มแข็งไม่พอ เลยทำให้ผู้ขับขี่ละเมิดกฎหมายบ่อยครั้ง ซึ่งตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุบนทางถนน ทั้งนี้เชื่อว่าหากมาตราการตัดคะแนนความประพฤติ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฉบับใหม่บังคับใช้ได้จริง จะสามารถเปลี่ยนแปลงให้ผู้ขับขี่ละเมิดกฎหมายน้อยลง และ ลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
ผู้ที่กระทำผิดซ้ำมาจากการเมาแล้วขับ
ส่วน กรณีที่พบว่า มีผู้ขับขี่เมาแล้วขับถูกจับซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทางรองผู้บัญชาการกองบัญชาการศึกษา กล่าวว่า ขณะนี้กำลังพยายามผลักดันให้มีโทษจำคุกจริงๆหรือมีมาตรการในเรื่องของการคุมประพฤติหรือพัฒนาในการอนุญาตขับรถอย่างเข้มงวดในอนาคต และถ้าเป็นไปได้ก็เตรียมที่จะผลักดันกรณีเมาแล้วขับคนในรถน่าจะมีความผิดด้วย
การใช้รถในบริเวรทางด่วนควรศึกษาลิมิตความเร็วเพื่อไม่ให้เกิดการทำผิดกฎหมาย
สรุปแล้วใบสั่งที่ถูกดองไว้เยอะ ๆ ก็จะมาจากกล้องตรวจจับความเร็วในจุดต่าง ๆ นั่นเองโดยคนส่วนใหญ่ไม่นิยม ไปชำระ และดองเอาไว้ ถ้าหากกฎหมายใหม่ในอนาคตออกมาคาดว่าจะถูกปรับกันอ้วมอย่างแน่นอนเพราะเป็นการผิดกฎจราจร นอกจากในบางทางด่วนที่มีกล้องจับความเร็วที่ย่านความเร็วต่ำเกินไปทำให้ผู้ที่จะต้องรีบขับอาจจะต้องพลาดขับรถโดยความเร็วเกินกำหนดอยู่ไม่น้อย ดังนั้นก็ควรศึกษาพื้นที่นั่น ๆ ด้วยว่ามีลิมิตความเร็วที่เท่าไหร่จะได้ไม่ต้องถูกใบสั่งส่งมาหาถึงประตูบ้านกันนะครับ
ดูเพิ่มเติม
>> สามารถดื่มแอลกอฮอล์ได้แค่ไหน ไม่ผิดกฎหมาย
>> กฎจราจรน่ารู้.. รถชนกับคนที่ ขับรถย้อนศร ใครผิด?
ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้