เจาะคำถามล้วงคำตอบ.. ขับเร็วเกินเท่าไหร่ถึงจะโดนใบสั่ง?

ประสบการณ์ใช้รถ | 24 ต.ค 2561
แชร์ 4

“โดนใบสั่งเพราะขับเร็วเกินอีกแล้ว แค่ขับ 104 เองนะ” หลายคนคงสงสัยว่าตัวเองไม่ได้ขับเร็วเท่าไหร่ แต่ก็โดนเรียกให้ใบสั่งซะแล้ว บางคราวก็ไม่ได้ตั้งใจ เพราะความรีบในการไปให้ถึงจุดหมายปลายทางจึงเผลอพลั้ง แล้วความเร็วที่เท่าไหร่จึงจะดีและถูกกฎหมายมากที่สุดกันนะ?

เจาะคำถามล้วงคำตอบ.. ขับเร็วเกินเท่าไหร่ถึงจะโดนใบสั่ง?

เจาะคำถามล้วงคำตอบ.. ขับเร็วเกินเท่าไหร่ถึงจะโดนใบสั่ง?

หลายคนที่ขับรถยังไม่รู้ว่าจริงๆแล้วการขับขี่รถยนต์ไปในที่ต่างๆทั้งในเมืองและนอกเมือง หรือไม่ก็ออกต่างจังหวัดเนี่ย แต่ละที่มันขับในความเร็วที่ไม่เกินเท่าไหร่จึงจะไม่โดนใบสั่ง เพราะบางครั้ง เราก็ต้องมีความเร่งรีบจึงจำเป็นต้องขับเร็ว แต่เราจะขับเร็วในตัวเลขที่กิโลเมตรต่อชั่วโมงล่ะ ถึงจะไม่โดนเรียกและให้ใบสั่งมา? ไปดูกันค่ะ

การขับขี่บนท้องถนน

การขับขี่บนท้องถนน

1. การกำหนดความเร็วจำกัดคืออะไร?

ตอบ เป็นวิธีการที่ใช้เพื่อควบคุมและลดความเร็วยานพาหนะบนท้องถนนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยการสื่อสารให้ผู้ขับขี่ทราบถึงความเร็วสูงสุดที่ขับขี่ได้อย่างปลอดภัยและไม่เกินที่กฏหมายกำหนดไว้สำหรับยานพาหนะแต่ละประเภท โดยทั่วไปความเร็วจำกัดมีได้ 2 ประเภท คือ ความเร็วจำกัดสูงสุดตามกฎหมาย และความเร็วจำกัดเฉพาะที่

2. ความเร็วจำกัดสูงสุดตามกฎหมายคืออะไร?

ตอบ ความเร็วจำกัดสูงสุดตามกฎหมาย คือ ความเร็วสูงสุดสำหรับถนนแต่ละประเภทที่กำหนดโดยฝ่ายนิติบัญญัติโดยมักกำหนดขึ้นตามลำดับชั้นของถนน ลักษณะถนน รูปแบบการใช้งาน เขตการปกครองและสภาพพื้นที่สามารถบังคับใช้ได้บนถนนในกรณีที่ไม่ได้มีการติดตั้งป้ายหรือเครื่องหมายจราจรระบุความเร็วจำกัดเป็นอย่างอื่นและในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงจากเขตที่มีการกำหนดความเร็วจำกัดเฉพาะที่ไปสู่เขตที่มีการจำกัดความเร็วสูงสุดตามกฎหมายอัตราความเร็วที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 คือตัวอย่างของความเร็วจำกัดสูงสุด ตามกฎหมายของประเทศไทยโดยถูกกำหนดตามลักษณะเขตการปกครอง ประเภทยานพาหนะและลำดับชั้นของทางหลวงตามกฎหมาย

ดูเพิ่มเติม
ถ้าคุณรู้ไว้จะปลอดภัยยิ่งขึ้น 5สาเหตุการฝ่าฝืนกฎจราจรที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดในช่วง 10 ปี
กทม.ประกาศปรับปรุงเนื้อหาเพื่อป้องกัน "มาเฟีย" เรียกเงินจากประชาชนที่จอดรถ

ภาพแสดงการกำหนดความเร็วตามกฎหมาย

ภาพแสดงการกำหนดความเร็วตามกฎหมาย

3.ความเร็วที่กำหนดในการขับขี่ทั่วไปไม่ควรเกินเท่าไหร่?

ตอบ ความเร็วรถโดยทั่วไป จะยึดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ว่า ผู้ขับขี่ต้องขับรถด้วยอัตราความเร็วตามที่กำหนดในกฎกระทรวงหรือ ตามเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้ในทางเครื่องหมายจราจรที่ติดตั้งไว้ ซึ่งการขับขี่รถยนต์และจักรยานยนต์ในเขต กทม./พัทยาอยู่ที่ 80 กม.ต่อชั่วโมง ส่วนนอกเขตดังกล่าวไม่ควรเกิน 90 กม.ต่อชั่วโมง

4.แล้วการควบคุมความเร็วใน พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 ล่ะเป็นยังไง?

ตอบ พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535 โดยจะมีผลในทางหลวงชนบทกับทางหลวงบางเส้นที่มีการบังคับความเร็วต่างจากที่อื่น แบ่งได้ดังนี้

บนทางหลวงชนบท

    (1) รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์  ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    (2) รถยนต์ที่ลากจูงรถพ่วงหรือรถยนต์สามล้อ ไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    (3) รถบรรทุกรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม ไม่ว่าจะลากจูงรถพ่วงหรือมีคนโดยสาร ไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ทางหลวงพิเศษ

    หมายเลข 7 ทางสายกรุงเทพมหานคร – เมืองพัทยาและหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษก) ทางสายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร

    (1) รถบรรทุกรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 1,200 กิโลกรัมหรือรถโดยสารไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    (2) รถบรรทุกอื่นนอกจากรถที่ระบุไว้ใน (1) ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    (3) รถยนต์ส่วนตัวและจักยานยนต์ไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ควบคุมความเร็วเฉพาะที่

ควบคุมความเร็วเฉพาะที่

5. แล้วการควบคุมความเร็วบริเวณพื้นที่เฉพาะคืออะไร?

ตอบ อ่านแล้วอาจจะรู้สึกเข้าใจยาก แต่จริงๆแล้วง่ายมากเลยค่ะ คือ เราต้องขับตามสัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจรในพื้นที่นั้นๆ จนกว่าจะพ้นออกพื้นที่ไปนั่นเอง ซึ่งเครื่องหมายที่มักจะพบบ่อยๆ ก็ได้แก่  

“จำกัดความเร็ว” ห้ามใช้ความเร็วเกินกว่าที่กำหนดเป็น “กิโลเมตรต่อชั่วโมง” ตามจำนวนตัวเลขที่ระบุในป้ายนั้นๆ จนกว่าจะพ้นระยะที่จำกัดความเร็ว

“สุดเขตบังคับ” หมดระยะบังคับตามความหมายของป้ายบังคับ ที่ได้ติดตั้งไว้ก่อนป้ายนี้

 “ความเร็วขั้นต่ำ” ผู้ขับขี่ต้องใช้ความเร็วไม่ต่ำกว่าที่กำหนดเป็น “กิโลเมตรต่อชั่วโมง” ตามจำนวนตัวเลขที่ระบุในป้าย

เจาะคำถามล้วงคำตอบ.. ขับเร็วเกินเท่าไหร่ถึงจะโดนใบสั่ง?

เจาะคำถามล้วงคำตอบ.. ขับเร็วเกินเท่าไหร่ถึงจะโดนใบสั่ง?

เห็นมั้ยล่ะคะว่าง่ายนิดเดียวกับการขับขี่บนความเร็วเท่าไหร่ในแต่ละพื้นที่  แต่ก็ควรระวังนะคะ เพราะทั้งทางหลวงชนบทและทางหลวงพิเศษ บางครั้งจะมีป้ายบังคับให้ลดความเร็วหรือใช้ความเร็วตามที่ป้ายกำหนดไว้ในกรณีที่เข้าเขตชุมชนหรือจุดที่มีทางร่วมทางแยก และที่สำคัญควรปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดด้วยน้าาา ไม่ใช่แค่ไม่ขับเร็ว ทุกคนจะได้เดินทางกันอย่างปลอดภัย แถมยังไม่ต้องกลัวจะเสียเงินจ่ายค่าปรับอีกต่างหาก ด้วยรักและห่วงใยจาก Chobrod.com ค่ะ

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่ 
ติดตามราคารถยนต์ เชิญที่นี่