อุบัติเหตุสงกรานต์ 2 วัน เผยยอดเสียชีวิต 99 ราย

ประสบการณ์ใช้รถ | 17 เม.ย 2561
แชร์ 0

สงกรานต์มาถึง อุบัติเหตุก็มาด้วย ซึ่งปีนี้ผ่านสงกรานต์ไป 2 วันแล้ว กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยก็ได้เผยผลการดำเนินงานป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2561 ประจำวันที่ 12 เมษายน

เมื่อวันที่ 13 เม.ย. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ในฐานะรองประธานกรรมการนโยบายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ เผยผลการดำเนินงานป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2561 ประจำวันที่ 12 เม.ย. ซึ่งเป็นวันที่ 2 โดยได้เกิดอุบัติเหตุ 579 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 60 ราย ผู้บาดเจ็บพันกว่าคน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาแล้วขับ ร้อยละ 42.83 ขับรถเร็ว ร้อยละ 24.35 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 78.84 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 66.15 บนถนนในอบต.และหมู่บ้าน ร้อยละ 38.69 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 37.65 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 – 20.00 น. ร้อยละ 25.56 ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดอยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 26.17

การจราจรเนืองแน่นช่วงสงกรานต์เนื่องจากวันหยุดยาว

การจราจรเนืองแน่นช่วงสงกรานต์เนื่องจากวันหยุดยาว

ดูเพิ่มเติม
>> ดื่มแล้วขับสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุอันดับหนึ่ง สงกรานต์ 2018

จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ บุรีรัมย์ 21 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา และสกลนคร จำนวน 4 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด คือ เชียงราย 23 คน สรุปอุบัติเหตุทางถนนช่วงสงกรานต์ระหว่างวันที่ 11 – 12 เม.ย. 61 เกิดอุบัติเหตุรวม 1,026 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 99 ราย ผู้บาดเจ็บ รวม 1,085 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต มี 29 จังหวัด ส่วนจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ จ.เชียงราย จำนวน 38 ครั้ง ขณะที่จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ จ.นครราชสีมา บุรีรัมย์ และเพชรบูรณ์จังหวัดละ 5 ราย และจังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย จำนวน 41 คน

อุบัติเหตุสงกรานต์ 2 วัน เสียชีวิตไปแล้วกว่า 99 ราย

อุบัติเหตุสงกรานต์ 2 วัน เสียชีวิตไปแล้วกว่า 99 ราย

ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่เดินทางกลับถึงภูมิลำเนาแล้ว และท่องเที่ยว ทำบุญ รวมถึง เล่นน้ำสงกรานต์ ขณะที่ประชาชนบางส่วนยังอยู่ระหว่างการเดินทาง ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนจึงได้กำชับให้จังหวัดเข้มการดูแลทั้งเส้นทางสายหลัก สายรอง และถนนในชุมชน และหมู่บ้าน ซึ่งจากข้อมูลอุบัติเหตุพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่คือดื่มแล้วขับ จึงได้เน้นย้ำจุดตรวจเข้มงวดในการเรียกตรวจ เพื่อตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่ รวมถึงจากสถิติอุบัติเหตุพบว่าทางตรงเป็นเส้นทางที่เกิดอุบัติเหตุกว่าร้อยละ 66.15 จึงขอให้จังหวัดกวดขันการใช้ความเร็ว

สาเหตุส่วนใหญ่ของอุบัติเหตุคือดื่มแล้วขับ

สาเหตุส่วนใหญ่ของอุบัติเหตุคือดื่มแล้วขับ

ดูเพิ่มเติม

>> เมื่อเกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่มีใบขับขี่ ประกันจ่ายไหม?
>> [Infographic] หากเกิดอุบัติเหตุ แจ้งเคลมประกันอย่างไร ?