สามารถดื่มแอลกอฮอล์ได้แค่ไหน ไม่ผิดกฎหมาย

ประสบการณ์ใช้รถ | 26 มี.ค 2562
แชร์ 2

การดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ว่าจะดื่มมาก หรือดื่มน้อย ก็ไม่ควรขับรถเพื่อความปลอดภัย แต่หากมีความจำเป็นที่จะต้องขับรถหลังดื่มจริงๆ จะสามารถดื่มได้เท่าใด ถึงจะไม่เกินที่กฎหมายกำหนด และทำให้ไม่เกิดอาการมึนเมาจนไม่สามารถขับรถได้ วันนี้เราจะมาให้คำตอบเพื่อนๆ กันค่ะ

ดื่มแอลกอฮอล์แค่ไหนไม่ผิดกฎหมาย

ดื่มแอลกอฮอล์แค่ไหนไม่ผิดกฎหมาย

สำหรับกฎหมายขับรถมีการห้ามไม่ให้ดื่มแอลกอฮอล์ขณะขับรถตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 วางหลักว่า “ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ (1) ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ, (2) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ฯลฯ” และตามมาตรา 43 ตรี วางหลักว่า “ในกรณีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 (1) หรือ (2) ผู้ตรวจการมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดรถและสั่งให้มีการทดสอบตามมาตรา 142 ด้วย”

โดยกฎหมายแล้วการขับรถห้ามมีปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

โดยกฎหมายแล้วการขับรถห้ามมีปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์

หากผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43(2) คือ ขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น มีโทษปรับครั้งละ 1,000 บาท และยังต้องถูกส่งตัวดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 160 ตรี วางหลักว่า “ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 43 (2) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

ดูเพิ่มเติม
>> เส้นทางเลี่ยงรถติด ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2562
>> กฎหมายจราจร ทำผิดตัดแต้ม ! ปี 62 นี้มาแน่ !

กฎกระทรวงใหม่ออกมาว่าหากผลตรวจแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ก็ถือว่ามีความผิดแล้วค่ะ

กฎกระทรวงใหม่ออกมาว่าหากผลตรวจแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ก็ถือว่ามีความผิดแล้วค่ะ

แต่ในปัจจุบันได้มีการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 3 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2537) ออกตามความใน พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“(1) กรณีตรวจวัดจากเลือด เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เว้นแต่ผู้ขับขี่ในกรณี ดังต่อไปนี้ มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด เกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ (ก) ผู้ขับขี่ซึ่งมีอายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ (ข) ผู้ขับขี่ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ค) ผู้ขับขี่ซึ่งมีใบอนุญาตขับขี่สําหรับรถประเภทอื่นที่ใช้แทนกันไม่ได้ (ง) ผู้ขับขี่ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับขี่ หรืออยู่ระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่” ประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 ซึ่งหมายความว่าหากผลตรวจแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ก็ถือว่ามีความผิดแล้วค่ะ

อย่างไรก็ตามกฎหมายได้ระบุปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดไว้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หากเกินกว่านั้นจะถือว่าเมาแล้วขับ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ รวมถึงพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตเลยทีเดียว

แล้วปริมาณแอลกอฮอล์เท่าไหร่ที่ดื่มแล้วจะไม่เกิดปริมาณที่กฎหมายกำหนดหล่ะ?

แล้วปริมาณแอลกอฮอล์เท่าไหร่ที่ดื่มแล้วจะไม่เกิดปริมาณที่กฎหมายกำหนดหล่ะ?

แต่สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นที่จะต้องดื่มจริงๆ ไม่ว่าจะเพื่อคุยงาน หรือสังสรรค์กับเพื่อนแบบปฏิเสธไม่ได้จริงๆ วันนี้ Chobrod ได้นำข้อมูลปริมาณของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เมื่อดื่มแล้วปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจะไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ตามกฎหมาย ได้แก่

1. สุรา ประมาณ 90 ซีซี ไม่ผสม หรือผสมในปริมาณ 1 ฝาต่อแก้ว จำนวนไม่เกิน 6 แก้ว หรือ

2. เบียร์ ประมาณ 2 กระป๋อง หรือ 2 ขวดเล็ก หรือ

3. เบียร์ไลท์ ประมาณ 4 กระป๋อง หรือ 4 ขวดเล็ก หรือ

4. ไวน์ ปริมาณต่อแก้ว 80 ซีซี ไม่เกิน 2 แก้ว

ข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้นนะคะ โดยปริมาณแอลกอฮอล์เหล่านี้หากขับรถภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากดื่มแอลกอฮอล์จะไม่อยู่ในระดับที่เกินกฎหมายกำหนด แต่ทางที่ดีควรหยุดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อยประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงก่อนขับรถ พร้อมทั้งดื่มน้ำในปริมาณมากๆ เพื่อให้แอลกอฮอล์ถูกขับถ่ายมาทางปัสสาวะ อีกทั้งไม่ควรดื่มเครื่องดื่มหลายชนิดผสมกัน เพราะอาจทำให้ปริมาณแอลกอฮอล์เกินกฎหมายกำหนดได้

ดูเพิ่มเติม
>> กฎหมายจราจรที่คนมักง่ายชอบทำผิด
>> จอดรถไม่ระวัง! เสียตังค์ไม่รู้ด้วยนะ มาดู 15 ลักษณะการจอดรถที่ผิดกฎหมาย รู้แล้วปฏิบัติตามกฎด่วน!!

อย่างไรก็ตามหากดื่มแอลกอฮอล์ควรใช้ทางเลือกอื่นในการเดินทางแทนนะคะ

อย่างไรก็ตามหากดื่มแอลกอฮอล์ควรใช้ทางเลือกอื่นในการเดินทางแทนนะคะ

แต่ทางที่ดีที่สุดก็คือควรใช้ทางเลือกอื่นในการเดินทางกลับบ้านแทน อาทิ ใช้บริการรถแท็กซี่, ใช้บริการขนส่งสาธารณะ, ให้เพื่อนที่ไม่ดื่มขับรถไปส่ง เพื่อช่วยลดอุบัติเหตุ รวมถึงป้องกันการโดนจับ และปรับเนื่องจากมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ รวมถึงพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาต เพราะกฎหมายทุกวันนี้เข้มข้นมากเลยนะคะ และสำหรับบทความเรื่องรถดีๆ สามารถติดตามได้ที่ Chobrod.com นะคะ

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้