รถยนต์คันหนึ่งเมื่อออกมาวิ่งบนถนน คนขับต้องมีความรับผิดชอบต่อทั้งตัวเองและเพื่อนร่วมทางเป็นอย่างมาก เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ความเสียหาย อาจหมายถึงทั้งชีวิตและทรัพย์สินของทุกฝ่าย ดังนั้น กฎหมายจึงกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องทำประกันรถยนต์ ซึ่งประกันรถยนต์ มีทั้งหด 2 ประเภทด้วยกัน คือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พรบ. รถยนต์ และ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ
พรบ. รถยนต์ หรือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ
ตอบ เพราะเป็นประกันรถยนต์ที่กฎหมายบังคับให้ทำนั่นเอง ตาม พรบ.การทำประกันภัยปี 2535 กำหนดให้รถทุกชนิดต้องทำ พรบ. รถยนต์ จึงจะสามารถต่อทะเบียนได้ นั่นหมายถึง หากรถไม่มี พรบ. ก็จะเป็นรถที่ไม่มีทะเบียน = ผิดกฎหมาย
ตอบ โดยปกติแล้วการทำ พรบ. รถยนต์จะต้องทำควบคู่ไปกับการต่อทะเบียนรถยนต์ ที่กรมการขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ หรือ ฝากตัวแทนที่รับทำ พรบ. รถยนต์ก็สามารถทำได้ ใช้หลักฐานเพียงแค่ สำเนาทะเบียนรถและบัตรประชาชนของเจ้าของรถเพียง 1 ใบเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบัน การทำ พรบ. รถยนต์ ยิ่งง่ายเข้าไปใหญ่ แค่เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่ง www.dlte-serv.in.th. ก็ได้แล้ว
ตอบ คุ้มครองต่อชีวิตและทรัพย์สิน ณ ที่เกิดเหตุ รวมถึง ค่าใช้จ่ายในการพาไปโรงพยาบาลและค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นนั่นเอง
>> ดูเพิ่มเติม: ซื้อรถมือสองที่มีประกันมากับรถ สามารถใช้ต่อได้ไหม ?
บทลงโทษ หากไม่ทำพรบ. รถยนต์
ซึ่ง พรบ. รถยนต์มีเกณฑ์ความคุ้มครองแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น
● โดยคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย จะได้รับ 30,000 บาท ภายใน 7 วัน กรณีบาดเจ็บคนละ 35,000 บาท ซึ่งในกรณีบาดเจ็บจนสูญเสียอวัยวะ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. บาดเจ็บและสูญเสียอวัยวะตามมา จะได้รับเงินคนละไม่เกิน 65,000 บาท
2. เสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพ คนละ 35,000 บาท
3. กรณีรักษาพยาบาลแล้วเสียชีวิต จะได้รับค่าชดเชย คนละไม่เกิน 65,000 บาท
อัตราเบี้ยพรบ. รถยนต์ หรือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ
2. ค่าสินไหมทดแทน
● จะจ่ายให้เฉพาะฝ่ายที่ถูกเท่านั้น และเป็นไปตามขั้นตอนทางกฎหมาย คือ
1. ค่ารักษาพยาบาลที่เบิกตามจริง หรือ ไม่เกิน 80,000 บาท
2. เงินชดเชย กรณีสูญเสียอวัยวะตามหลักเกณฑ์ข้างต้น 200,000 – 300,000 บาท
3. เงินชดเชย กรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพถาวร 300,000 บาท
4. ค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยใน วันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วัน รวมเป็นจำนวน 4,000 บาท
5. รวมค่าสินไหมทดแทนทั้งหมด คนละไม่เกิน 304,000 บาท
● กรณีเกิดเหตุกับรถยนต์ 2 คันขึ้นไป ผู้ได้รับบาดเจ็บ จะได้รับการดูแลตามประกันที่ทำไว้ของรถแต่ละคันอยู่แล้ว (ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ) แต่ถ้ามีบุคคลที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้อง กรณีนี้ จะให้แต่ละบริษัทร่วมกันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ
>> ดูเพิ่มเติม: วิธีประหยัดค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์
ค่าเสียหายเบื้องต้น
ค่าสินไหมทดแทน
เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงต้องบังคับทำ พรบ. รถยนต์ หรือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ รวมทั้ง การขับขี่จะได้รับความคุ้มครองมากขึ้น หากทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจร่วมด้วย ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายแห่งให้เลือกมากมาย
ขอบคุณภาพประกอบจาก www.frank.co.th
>> ดูเพิ่มเติม:
รีบไปต่อด่วน!! กรมขนส่งประกาศ!! ประกันต้องจ่าย “พรบ. ต่อทุกปี” ได้เงิน 3 แสน แบบไม่ต้องขึ้นศาล!!
ประกันรถยนต์แบบระบุคนขับดีไหม, คนอื่นขับไปชนจะเคลมประกันได้หรือเปล่า