เจาะลึกอย่างละเอียด รู้ถึงความสำคัญ ของการทำพ.ร.บ.รถยนต์ หรือประกันรถยนต์ภาคบังคับ เรื่องที่คนมีรถทุกคนต้องรู้ว่าทำไมกฎหมายถึงบังคับให้รถทุกคันมีต้องมี ?
หลายคนคงทราบแล้วว่าการทำประกันรถยนต์ มีการแบ่งออกมาเป็น 2 ประเภท คือประกันรถยนต์ภาคบังคับและประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ซึ่งการทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจก็คือกลุ่มประกันชั้น 1, 2, 3 หรืออื่น ๆ ที่เรารู้จักกันดีและในวันนี้ Chobrod จะมาพูดกันต่อ ถึงประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่ทุกคนคุ้นเคยกันดีในนามพ.ร.บ.รถยนต์ มาดูกันว่า คืออะไร และสำคัญอย่างไร เราสรุปทั้งหมดรวมเอาไว้อย่างละเอียดแล้วที่นี่
พ.ร.บ.รถยนต์
คือพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 คือการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ที่ทางกฎหมายกำหนดเอาไว้ว่าให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ต้องทำประกันภัยประเภทนี้เอาไว้เพื่อให้ความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ โดยไม่ได้คำนึงว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นจะเป็นผู้ที่กระทำผิดหรือไม่ก็ตาม โดยกฎหมายจะให้ความคุ้มครองต่อทั้งตัวคู่กรณีและตัวผู้เอาประกันในรูปแบบของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด และไม่ได้ให้การซ่อมแซมและรับชดเชยค่าเสียหายต่อรถ จะให้ความคุ้มครองเฉพาะบุคคลเท่านั้น นั่นคือเหตุผลที่ควรทำประกันภัยภาคสมัครใจเอาไว้ เพื่อไว้คุ้มครองเพิ่มเติมต่อตัวรถของเรานั่นเอง
เหตุผลสำคัญที่ทางกฎหมาย กำหนดให้รถทุกคันต้องทำพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มีดังนี้
โดยรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ได้แก่ รถทุกชนิดทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร เป็นรถที่เจ้าของมีไว้ใช้ ไม่ว่ารถดังกล่าวจะเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร รถบรรทุก หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ ดังนั้น การที่มีรถบางประเภท กรมการขนส่งทางบกไม่รับจดทะเบียน แต่หากเข้าข่ายว่ารถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นแล้วก็จัดเป็นรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ด้วย
พ.ร.บ.กับป้ายภาษีรถยนต์
>> ป้ายภาษีรถยนต์ กับ พ.ร.บ. เหมือนกันไหม ?
หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจและสับสนระหว่างการต่อพ.ร.บ.และการต่อภาษีรถยนต์ ซึ่งถ้าลองทำความเข้าใจ จะพบว่าทั้งสองอย่างมีความสำคัญแตกต่างกันที่เรียกได้ว่าคนละเรื่อง
ทั้งสองรายเป็นเรื่องที่จำเป็นจะต้องทำการต่ออายุในทุกปี โดยการที่จะต่อภาษีรถยนต์ได้จำเป็นที่จะต้องต่อพ.ร.บ. ให้เรียบร้อยก่อน และนั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ใช้รถมักจะเข้าใจว่าทั้งสองแบบคือเรื่องเดียวกันเพราะเวลาทำจะทำไปพร้อม ๆ กันนั่นเอง
ดูเพิ่มเติม
>> ประกันรถยนต์ 2563
>> ต่อภาษีรถยนต์ 2563
สำหรับการต่อพ.ร.บ.นั้น อย่างที่กล่าวเอาไว้ข้างต้น ว่าต้องทำควบคู่ไปพร้อมกับการต่อทะเบียนรถยนต์ และไม่สามารถซื้อย้อนหลังได้ แต่ซื้อความคุ้มครองล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน ซึ่งมีวิธีการที่ง่าย และใช้เอกสารเหล่านี้
เพียงแค่ใช้เอกสารทั้งหมดนำไปยื่นต่อพ.ร.บ.รถยนต์ได้ที่กรมขนส่งแต่ละจังหวัด หรือหากใครไม่สะดวกก็สามารถใช้บริการบริษัทประกันภัยที่จะช่วยเหลือให้ดำเนินการได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น และยังมีอีกหนึ่งวิธีที่สามารถทำได้ง่ายด้วยตัวเอง นั่นก็คือการตอพ.ร.บ.ออนไลน์ เป็นวิธีการที่ง่าย โดยทำคู่ไปพร้อมกับการต่อภาษีออนไลน์ สำหรับอัตราค่าเบี้ย พ.ร.บ.รถยนต์ จะถูกกำหนดเป็นอัตราเบี้ยคงที่อัตราเดียว แยกตามประเภทรถ และลักษณะการใช้รถ ซึ่งบริษัทประกันภัยไม่สามารถคิดเบี้ยประกันภัยต่างจากที่นายทะเบียนกำหนด
ประเภทรถ | ราคา (บาท/ปี) | |
---|---|---|
ส่วนบุคคล | รับจ้าง/ให้เช่า/ สาธารณะ |
|
รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) | 600 | 1,900 |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) | 1,100 | 2,320 |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง | 2,050 | 3,480 |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง | 3,200 | 6,660 |
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง | 3,740 | 7,520 |
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) | 900 | 1,760 |
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน | 1,220 | 1,830 |
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน | 1,310 | 1,980 |
รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 12 ตัน | 1,700 | 2,530 |
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม ไม่เกิน 12 ตัน | 1,680 | 1,980 |
รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม เกิน 12 ตัน | 2,320 | 3,060 |
หัวรถลากจูง | 2,370 | 3,160 |
รถพ่วง | 600 | 600 |
รถยนต์ที่ใช้ในการเกษตร | 90 | |
รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า | 600 | 1,900 |
ตารางราคาข้างต้น ยังไม่รวมภาษี 7% และเป็นตารางสำหรับกลุ่มรถประเภทรถยนต์เท่านั้น ไม่รวมรถสกายแลป (รถ 3 ล้อ) และรถจักรยานยนต์
ค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครองในความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บและเป็นค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด บริษัทจะชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัย/ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัย ภายใน 7 วัน นับแต่บริษัทได้รับคำร้องขอค่าเสียหายดังกล่าวเรียกว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น” โดยมีจำนวนเงิน ดังนี้
1. กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท ต่อหนึ่งคน
2. กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย (ทุพพลภาพ) อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน
3. กรณีบาดเจ็บจะได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลตาม ข้อ 1. และต่อมาทุพพลภาพตาม ข้อ 2. รวมกันแล้วจะไม่เกิน 65,000 บาท ต่อหนึ่งคน
4. กรณีเสียชีวิตจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท ต่อหนึ่งคน
5. กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงตามข้อ 1 รวมกันไม่เกิน 65,000 บาท ต่อหนึ่งคน
ค่าเสียหายเบื้องต้น : กรณีรถตั้งแต่ 2 คันขึ้นไปก่อให้เกิดความเสียหาย(เฉี่ยวชนกัน) เป็นเหตุให้ผู้ซึ่งอยู่ในรถไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารก็ตาม หากได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ให้บริษัทที่รับประกันภัยรถแต่ละคันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถคันที่บริษัทรับประกันภัยไว้ แต่ถ้าผู้ประสบภัยเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้อยู่ในรถคันใดคันหนึ่ง ให้บริษัทร่วมกันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยโดยเฉลี่ยจ่ายในอัตราส่วนที่เท่ากัน
ผู้ประสบภัยต้องร้องขอค่าเสียหายเบื้องต้นกับพ.ร.บ.รถยนต์ กับบริษัทภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น โดยใช้หลักฐาน ดังนี้
ค่าสินไหมทดแทน (ส่วนเกินค่าเสียหายเบื้องต้น) : บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของผู้ประสบภัยในนามผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายต่อผู้ประสบภัย เนื่องจากรถที่ใช้หรืออยู่ในทาง หรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุกหรือติดตั้งในรถนั้น ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย ดังนี้
พ.ร.บ.รถยนต์ จะชดใช้ให้ทุกกรณีไม่ว่าคุณจะเป็นคนถูกหรือผิดก็ตาม
1. ในกรณีที่ผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บ แต่ไม่ถึงกับสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายอย่างอื่นที่ผู้ประสบภัย สามารถเรียกร้องได้ตามมูลละเมิดตามความเสียหายที่แท้จริงแต่ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อหนึ่งคน
2. กรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกายหรืออนามัยในกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ดังต่อไปนี้ บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 200,000-5,000 บาท ต่อหนึ่งคน
3. กรณีเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 500,000 บาท ต่อหนึ่งคน
4. ในกรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน เป็นค่าเสียหายที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากความคุ้มครองที่กล่าวมาแล้วนั้น
หากรถที่ไม่พ.ร.บ.หรือพ.ร.บ.หมดอายุ ไปเกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นชนโดยมีหรือไม่มีคู่กรณีก็ตาม ถ้ามีประกันภาคสมัครใจ ทางบริษัทจะรับเคลมตามเงื่อนไขของแต่ละประเภทประกัน ถึงไม่มีพ.ร.บ. ก็ยังรับคุ้มครอง เพราะการเคลมประกันภาคสมัครใจ ใช้เพียงใบขับขี่และกรมธรรม์ประกันเท่านั้น ไม่ต้องยื่นแสดงพ.ร.บ. แต่ใช่ว่าเห็นแบบนี้แล้ว จะคิดว่ามีประกันภาคสมัครใจแล้ว พ.ร.บ. ไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ เพราะอย่างที่กล่าวเอาไว้ ว่าพ.ร.บ.รถยนต์เป็นประกันภาคสมัครใจที่ทางกฎหมายบังคับเอาไว้ว่าต้องทำ ถ้าฝ่าฝืนขับรถที่ไม่มีพ.ร.บ. หรือพ.ร.บ.หมดอายุ จะถือว่ารถคันที่นำมาใช้วิ่งนั้น เป็นรถที่ผิดกฎหมาย และอาจถูกจับปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาทอีกด้วย
ถ้ารถเสียหายขึ้นมา พ.ร.บ. ไม่รับคุ้มครอง
และทั้งหมดนี่ก็คือเรื่องของพ.ร.บ. หากทราบถึงความสำคัญแล้ว ก็อย่าลืมที่จะคอยเช็ก และตรวจสอบดูว่าจะถึงกำหนดที่ต้องต่ออายุเมื่อไร แต่โดยทั่วไปแล้วหลายคนมักจะจำได้เพราะจะกำหนดให้เป็นวันเดียวกันกับการต่อภาษีประจำปีนั่นเอง และใครที่คิดว่าการมีพ.ร.บ.รถยนต์ เอาไว้อย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว ไม่ต้องทำประกันภาคสมัครใจเพิ่มก็ลองทบทวนและคิดพิจารณาอีกครั้ง พร้อมประเมินสภาพรถและการขับขี่ของตัวคุณเองด้วย เพราะอย่าลืมว่าพ.ร.บ.รับคุ้มครองเฉพาะคนเท่านั้น ไม่คุ้มครองรถ หากคิดว่าสามารถรับค่าใช้จ่ายการซ่อมบำรุงรถหรือมั่นใจว่ารถไม่เสี่ยงต่อการเกิดเหตุใด ๆ เช่น การโจรกรรม ไฟไหม้ หรืออุบัติภัยจากธรรมชาติ การมีรถและมีพ.ร.บ.เพียงอย่างเดียว ก็อาจจะสะดวกและเหมาะสมกับรถของคุณจริง ๆ แต่ถ้าไม่ ก็ซื้อความคุ้มครองเพิ่มเอาไว้ดีกว่า เพื่อการขับขี่อย่างไร้กังวลใด ๆ ของคุณ
ดูเพิ่มเติม
>> เผย 8 เทคนิค ซื้อประกันรถยนต์ ต้องดูอะไรบ้าง ?
>> ประกันรถไม่คุ้มครองอะไรบ้าง ? รู้ไว้ก่อนซื้อ
ติดตาม ข่าวรถยนต์ใหม่ ได้ที่นี่
ติดตามเรื่อง รีวิวรถยนต์ใหม่ ได้ที่นี่
ติดตามเรื่อง ราคารถยนต์ใหม่ๆ ได้ที่นี่
เข้าดู ตลาดรถบ้าน ซื้อขายกันเอง ได้ที่นี่