เจาะปัญหาของรถบรรทุกที่ไว้อยู่ตอนนี้

ประสบการณ์ใช้รถ | 25 ก.พ 2562
แชร์ 1

รถบรรทุกเป็นสิ่งที่เราพบเจอได้ทุกครั้งที่ขับขี่บนท้องถนน ในความเป็นจริงพวกเราเองก็ใช้สินค้าที่บรรทุกอยู่บนรถเหล่านั้นเช่นกัน แต่ทุกวันนี้ก็มีปัญหาจากรถบรรทุกอย่างต่อเนื่อง ปัญหาเหล่านั้นมีอะไรและมีแนวทางแก้ไขอย่างไรไปดูกันครับ

ประเทศไทยเรานั้นนับเป็นประเทศเกษตรกรรมกันมาช้านาน รถยนต์ที่ใช้แม้จะมีรถยนต์กระบะเป็นรถยนต์หลักในการทำมาหากิน เพราะว่าสามารถโดยสารไปไหนมาไหนได้และยังสามารถบรรทุกของได้มากในระดับหนึ่งด้วย ไม่ว่าจะเป็นถนนที่แย่หน่อยช่วงล่างก็ยังรับไหวหรือขึ้นเขาเครื่องยนต์ก็ทำงานได้เต็มกำลัง นับว่าตอบโจทย์ความต้องการของชาวไทยได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามมันก็มีข้อจำกัดตรงที่ขนาดของมันถูกจำกัดไว้เพียงเท่านั้น หากจะต้องขนสินค้าที่มากกว่านี้ใหญ่กว่านี้คงต้องขยับไปเป็นรถบรรทุกอาจจะเป็นรถยนต์บรรทุก6ล้อหรือ10ล้อ ก็แล้วแต่ความต้องการในการใช้งาน แต่รู้หรือไม่ว่า ปัญหาของรถบรรทุกนั้นก็มีมากมายไม่แพ้ปัญหาของรถยนต์กลุ่มอื่นๆเลย วันนี้เราจะมาดูกันว่ามันมีปัญหาอะไร และส่งผลกระทบต่อใครได้บ้าง

วงจรของปัญหารถบรรทุก

มุมมองของปัญหารถบรรทุกในประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มๆได้ดังนี้

1. เจ้าของกิจการ

รถบรรทุกโดยปกติแล้วซื้อมาจุดประสงค์ก็เพื่อนำมาใช้ในการขนส่งทางธุรกิจเป็นหลัก และผู้ซื้อก็คือเจ้าของกิจการทั้งหลาย ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าเจ้าของกิจการก็มีทั้งดีและไม่ดีปะปนกันไป คำว่าไม่ดีในที่นี้จะหมายถึงการไม่ได้คำนึงถึงกฎหมายการบรรทุกสินค้าเกินพิกัด นั่นคือทำให้เจ้าของกิจการทำอย่างไรก็ได้ให้ขนสินค้าได้มากที่สุดและต้นทุนต่ำที่สุด ก็จะส่งผลให้ได้กำไรสูงสุด ซึ่งเป็นเป้าหมายของการทำธุรกิจ ธุรกิจบางชนิดก็ไม่ได้ซื้อรถบรรทุกมาใช้เองแต่ไปจ้างบริษัทขนส่งให้บรรทุกสินค้าให้ บริษัทขนส่งก็มีทั้งดีและไม่ดี ถ้าไม่ดีก็คือเช่นเดียวกัน ไม่ได้คำนึงถึงกฎหมายการขนส่ง เช่น ใช้รถไม่จดทะเบียน ใช้แรงงานขับราคาถูกไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้ตรวจสภาพรถยนต์ ดัดแปลงรถยนต์โดยไม่ได้แจ้งต่อขนส่งเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหามาจากผู้ประกอบกิจการทั้งสิ้น

เจ้าของกิจการและบริษัทขนส่งนับเป็นตัวแปรหลักที่สำคัญของปัญหารถบรรทุก

เจ้าของกิจการและบริษัทขนส่งนับเป็นตัวแปรหลักที่สำคัญของปัญหารถบรรทุก

สินค้าทุกวันนี้มีให้ขนกันมากจริงๆ

สินค้าทุกวันนี้มีให้ขนกันมากจริงๆ

รถบรรทุกมีในหลายรูปแบบทั้งกระบะ รถหกล้อ รถสิบล้อ หรือแม้แต่รถตู้บรรทุก

รถบรรทุกมีในหลายรูปแบบทั้งกระบะ รถหกล้อ รถสิบล้อ หรือแม้แต่รถตู้บรรทุก

ดูเพิ่มเติม
>> 
 อีซูซุค้นหานักขับรถสุดยอด 'แชมป์ประหยัดน้ำมันอัจฉริยะ' ทั่วไทย
>> Fuso Canter E-CELL - รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า ใช้เพื่อการพาณิชย์ ไร้มลพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2. คนขับรถบรรทุก

โดยปกติคนขับรถบรรทุก มักไม่ใช่เจ้าของรถบรรทุก ดังนั้นเขามีหน้าที่ขับอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ได้สนใจว่าน้ำหนักที่บรรทุกบนรถจะเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ แต่สิ่งที่ยังคงต้องคำนึงแน่ๆคือเรื่องความเร็วในการขับ การเคารพกฎจราจร การดื่มสุรา หรือการขับเกินเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้

คนขับรถบรรทุก ผู้ที่กุมความปลอดภัยขณะขับรถบนท้องถนน

คนขับรถบรรทุก ผู้ที่กุมความปลอดภัยขณะขับรถบนท้องถนน

3. ผู้ใช้รถใช้ถนน

ผู้ใช้รถใช้ถนนเมื่อต้องเจอกับรถบรรทุก ก็จะมีทัศนคติที่แตกต่างออกไปเมื่อเที่ยบกับรถยนต์ประเภทอื่นๆ ด้วยขนาดรถยนต์ที่ใหญ่ ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลง ความเร็วในการขับขี่ สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และยังมีความคิดอีกหลายเสียงที่คิดว่ารถบรรทุกทำให้เกิดปัญหารถติดและถนนชำรุดเสียหายด้วย

ปัญหาจึงพอจะสรุปได้ดังนี้

  1. ผู้ใช้รถบรรทุก: เจ้าของกิจการขนสินค้าเกินพิกัด, ผู้ขับไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น ดื่มสุรา, ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถบรรทุก
  2. ตัวรถบรรทุก: สภาพรถบรรทุกที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษา ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ, และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหากรถบรรทุกไม่ได้มาตรฐาน, การละเลยการตรวจสภาพรถยนต์
  3. ผู้ไม่ได้ใช้รถบรรทุก: มักเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งหลักๆจะเป็นผลทางด้านความปลอดภัยและผลกระทบต่อแวดล้อมเช่น อากาศเสียและสภาพถนนชำรุด

สภาพรถบรรทุกที่ขนเกินพิกัดที่พบได้บ่อย

สภาพรถบรรทุกที่ขนเกินพิกัดที่พบได้บ่อย

รถบรรทุกที่น้ำหนักอาจไม่เกินแต่ความยาวเกิน

รถบรรทุกที่น้ำหนักอาจไม่เกินแต่ความยาวเกิน

รถบรรทุกที่ขนสินค้าที่ดูไม่น่าจะหนักแต่น้ำหนักเกิน

รถบรรทุกที่ขนสินค้าที่ดูไม่น่าจะหนักแต่น้ำหนักเกิน

รถบรรทุกที่ขนสินค้าที่ดูไม่น่าจะหนักแต่น้ำหนักเกิน

สถิติอุบัติเหตุ

จริงๆแล้วปัญหาที่กล่าวมามีน้อยหรือมีมากกันแน่ หลายคนอาจจะพอมองเห็นปัญหาแต่ความเป็นจริงปัญหาอาจจะน้อยหรือกำลังลดลงก็ได้ เรามาดูกันว่าสถิติที่เกิดขึ้นด้านอุบัติเหตุจากรถบรรทุกในช่วง5ปีย้อนหลังจากข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุดคือปี2012-2016 มีอัตราการเติบโตของอุบัติเหตุเฉลี่ย 6%ต่อปี นั่นหมายความว่า ปัญหามีจริงและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในแต่ละปี โดยเฉพาะปี2016ปีเดียว ก็มีรถบรรทุกที่ทำผิดกฎหมายร่วมๆ15,000คัน (เป็นรถบรรทุก6ล้อ, 10ล้อ และรถพ่วง)

>> HINO คาด “ตลาดรถบรรทุก”เมืองไทยแข่งดุเดือดแน่
>> 4 ข้อควรระวัง !! เมื่อไปอยู่ใกล้ๆกับรถคอนเทนเนอร์

รถบรรทุกตกข้างทางเป็นภาพที่คนไทยคุ้นกัน

รถบรรทุกตกข้างทางเป็นภาพที่คนไทยคุ้นกัน

รถบรรทุกตะแคงข้างแบบนี้ก็เห็นกันบ่อยๆตามหน้าหนังสือพิมพ์

รถบรรทุกตะแคงข้างแบบนี้ก็เห็นกันบ่อยๆตามหน้าหนังสือพิมพ์

มาตรการการแก้ไขปัญหา

การแก้ไขปัญหาที่มีเป็นมาตรการขึ้นมาพอจะสรุปได้ดังนี้

1. ขยายฐานความผิดให้ครอบคลุม การทำผิดกฎหมายการบรรทุกสินค้าผ่านรถบรรทุกไม่ใช่เป็นเพียงความผิดของผู้ขับเท่านั้น แต่มาตรการการแก้ไขต้องรวมไปถึงผู้ประกอบการขนส่งและเจ้าของสินค้าด้วย

2. เพิ่มบทลงโทษ เช่น ยิ่งบรรทุกเกินพิกัดมากก็จะเสียค่าปรับมาก หรือถึงขั้นยึดใบอนุญาตขับรถ

3. การกำหนดนโนบายทางกฎหมายร่วมกัน การกำหนดนโยบายร่วมกันก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

ผู้บังคับใช้กฎหมาย

แม้กฎหมายจะออกมาอย่างยุติธรรมต่อทุกฝ่ายแล้วแต่ไม่มีผู้บังคับใช้กฎหมายก็จะทำให้ปัญหายังคงเกิดวนเวียนไปอยู่ดี ดังนั้นผู้บังคับใช้กฎหมายจำเป็นที่จะต้องเข้าใจและบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเป็นธรรม

เช่นการควบคุมกำกับดูแลการใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด หรือใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นการใช้กล้องบันทึก การใช้เครือข่ายGPS ในการเช็คข้อมูลการใช้รถบรรทุกเป็นต้น

ผู้ประกอบการด้านการขนส่ง

เมื่อตกลงข้อกฎหมายกันเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการน่าจะยอมรับตัวกฎหมายและทำตามได้ด้วยความเต็มใจ มีการควบคุมพนักงานในสังกัดอย่างเคร่งครัด มีการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายGPSเข้ากับระบบของกรมขนส่งทางบก เพื่อความปลอดภัยของทั้งสินค้า คนขับ และคนใช้ถนน เรียกว่า วินกันทุกฝ่าย

ผู้ประกอบการที่รับผิดชอบต่อสังคมนำมาซึ่งการลดปัญหาด้านการขนส่ง

ผู้ประกอบการที่รับผิดชอบต่อสังคมนำมาซึ่งการลดปัญหาด้านการขนส่ง

*สนใจซื้อรถบรรทุก Suzuki Carry มือสอง, รถบรรทุกHino มือสองราคาสวยๆ กดดูที่นี่ได้นะครับ

เจ้าของสินค้า

เจ้าของสินค้าเองก็สามารถร่วมด้วยช่วยกันแก้ปัญหานี้ได้โดยการควบคุมสินค้าที่ออกจากโกดังไปที่รถบรรทุกให้ไม่เกินพิกัดน้ำหนัก แจ้งข้อมูลสินค้าที่ขนส่งอย่างถูกต้องและครบถ้วน ท้ายที่สุดคือเลือกใช้ผู้ประกอบการด้านการขนส่งที่ได้มาตรฐาน แบบนี้ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่ผิดกฎหมายและยังสร้างสังคมให้ดีขึ้นได้ด้วย

การจอดพักรถ

หลายๆคนอาจจะยังไม่ทราบว่า การขับรถบรรทุกนั้นมีกฎหมายกำหนดไว้ว่าผู้ขับนั้นจะต้องขับเป็นระยะเวลาเท่าใดและต้องพักผ่อน ไม่สามารถขับรถยาวต่อเนื่องกันเกิดกว่าที่กฎหมายกำหนดได้ ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ในด้านความปลอดภัยของผู้ขับขี่โดยตรงและความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถใช้ถนนด้วย ดังนั้นการกำหนดจุดพักรถให้ครอบคลุมทั่วประเทศเป็นสิ่งจำเป็น มิเช่นนั้นจะมีการจอดรถในที่ห้ามจอด หรือตามถนนเส้นใหญ่ๆแทน หากมีจุดจอดรถที่เพียงพอและครอบคลุม แม้แต่ผู้ขับขี่รถบรรทุกเองก็คงไม่อยากจอดข้างทาง จอดในจุดพักรถที่มีสิ่งพื้นที่กว้างขวาง สิ่งอำนวยความสะดวกให้ย่อมดีกว่าอย่างแน่นอน

จะเห็นได้ว่าปัญหาของรถบรรทุกนั้นเป็นเรื่องของใจเขาใจเรา ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรถบรรทุก เจ้าของสินค้า หรือผู้ใช้ถนน ดังนั้นการจับเข่าคุยกับโดยมีรัฐบาลเป็นตัวแทนและใช้กฎหมายเป็นบรรทัดฐานจะทำให้ทุกฝ่ายได้รับความยุติธรรมและประโยชน์โดยรวมก็เกิดขึ้นแก่ทุกฝ่ายเช่นกัน ความประนีประนอมกันนับเป็นทางออกของปัญหานี้ได้ และจะทำให้สังคมเราน่าอยู่ยิ่งขึ้น ก็สินค้าที่เราใช้ๆกันในชีวิตประจำวันก็มาจากการขนส่งแบบนี้นั่นเอง

ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้