"น้ำมันเครื่อง"ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ 4 วิธีเช็คให้เหมาะกับรถยนต์

ประสบการณ์ใช้รถ | 22 เม.ย 2563
แชร์ 1

chobrod เอาทริคง่ายๆ ในการตรวจเช็ค "น้ำมันเครื่อง" มาฝากคอรถยนต์กันหน่อยว่าก่อนจะซื้อมาให้ช่างเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องให้ หรือเปลี่ยนถ่ายกันเอง มันต้องมีวิธีตรวจสอบอย่างไรว่ามัน "ของแท้" หรือ "ของเก๊"

คุยกับร้านน้ำมันเครื่อง แท้-ปลอมดูยังไง ? น้ำมันใหม่-เก่ามีผลมากแค่ไหน ?

แน่นอนว่าเมื่อมีรถยนต์คันโก้คันคู่ใจกันแล้ว สิ่งที่ย่อมหนีไม่พ้นก็คือการดูแลรักษาให้รถยนต์ของเราอยู่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ยาวนานที่สุด เพราะรถยนต์ของเราราคาไม่ใช่ถูกๆ บางคนกว่าจะเก็บหอมรอมริบไปดาวน์ไปออกรถยนต์กันได้ก็เรียกว่าเลือดตาแทบกระเด็น การบำรุงดูแลจึงนับเป็นเรื่องสำคัญ

อีกหนึ่งที่เราต้องใส่ใจคือ "เครื่องยนต์" และการบำรุงดูแลรักษาก็แน่ล่ะว่าต้องพันเกี่ยวกับ "น้ำมันเครื่อง" หากเจ้าของรถยนต์ยังอยู่ในประกันแล้วเลือกเข้าศูนย์บริการตามแต่ละยี่ห้อก็คงไม่ใช่ปัญหา แต่หากเจ้าของเป็นรถยนต์มือสองบ้างล่ะ แล้วก็ต้องไปอู่รถยนต์เพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง หรือแม้แต่ต้อง "เลือกซื้อน้ำมันเครื่องเอง" เพียงแค่คิดสำหรับมือใหม่ก็น่าจะปวดหัวอยู่ไม่น้อยแล้วใช่มั้ยล่ะ

น้ำมันเครื่องหลากหลายยี่ห้อ แต่ก็ยังมีมิจฉาชีพแอบทำของปลอมอยู่ตลอด

น้ำมันเครื่องหลากหลายยี่ห้อ แต่ก็ยังมีมิจฉาชีพแอบทำของปลอมอยู่ตลอด 

เพื่อเป็นการ "ป้องกัน" ว่าจะเลือกซื้อน้ำมันเครื่องกันแบบผิดๆ หรือได้ของปลอมกัน และมันจะส่งผลให้เครื่องยนต์ของรถยนต์เราๆ มีปัญหา ดังนั้นวันนี้ Chobrod ขอเสนอ 4 ข้อวิธีในการเลือกซื้อเลือกหาและเลือกใช้ น้ำมันเครื่องเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ว่าแล้วก็ไปส่องหาความรู้กันได้เลย

1.ดูจากบรรจุภัณฑ์

จะต้องคอยสังเกตให้ดีว่าตัวขวดน้ำมันเครื่องนั้นยังมีสภาพที่ดีอยู่หรือเปล่า เช่น บุบรึเปล่า หรือว่าดูเก่ามากจนเกินไป หรือมีการเปิดใช้งานมาแล้ว เพราะแน่นอนว่าเราไม่รู้เลยว่าถ้าเปิดใช้งานแล้ว จะมีมือดีเอาอะไรมาเติมลงไปแทนหรือไม่ แต่ต่อให้เป็นมันเครื่องแท้ แต่อยู่ในลักษณะขวดบี้ บุบ ดูเก่า ก็ไม่น่าใช้เหมือนกัน เพราะอาจจะเป็นน้ำมันเครื่องที่เสื่อมคุณภาพแล้วก็ได้

2.ฉลากติด

ให้ตรวจสอบก่อนเลยว่า น้ำมันเครื่องที่จะนำมาเปลี่ยนถ่ายรถของเรานั้นมีฉลากที่ครบถ้วนหรือไม่ อาทิเช่น เป็นยี่ห้อ วัน เดือน ปี ที่ผลิต อีกทั้งในส่วนที่สำคัญชนิดขาดไม่ได้ นั่นก็คือเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน เพราะจะช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าน้ำมันเครื่องที่มาใช้กับรถยนต์ของเรานั้นใช้ได้แน่นอน จะไม่ส่งผลให้เครื่องยนต์ของเราเสีย

>> วัดน้ำมันเครื่อง เรื่องง่ายๆ ที่มือใหม่หัดขับมักละเลย
>> ถึงเวลาก็ต้องเปลี่ยน ถึงระยะก็เช็ค มาตรวจสอบกันกับรายการบำรุงรักษารถยนต์ตามระยะเวลาใช้งาน

หากไม่ตรวจสอบให้รอบคอบ น้ำมันเครื่องอาจทำให้เจ้าของรถยนต์น้ำตาตก

หากไม่ตรวจสอบให้รอบคอบ น้ำมันเครื่องอาจทำให้เจ้าของรถยนต์น้ำตาตก 

3. กลิ่นของน้ำมันเครื่อง

หลาย ๆ คนที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องจนรู้ดีว่ากลิ่นน้ำมันเครื่องนั้นเป็นยังไง บางคนอาจจะเช็กได้จากการดมกลิ่นเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าน้ำมันเครื่องของแท้นั้น กลิ่นจะแรงมากเพราะจะมีสารเคมีที่เยอะ แต่ถ้าเป็นน้ำมันเครื่องปลอมสารเคมีจะไม่เยอะ เพราะฉะนั้นแแล้วกลิ่นน้ำมันเครื่องของปลอมจะกลิ่นไม่แรง

4.ตัวแทนจำหน่าย

 เรื่องนี้ก็สำคัญเหมือนกันนะ เพราะถ้าเป็นตัวแทนจำหน่ายเจ้าใหญ่ ๆ เค้าคงไม่เอาชื่อเสียงของเค้าเข้ามาเสี่ยงในการขายน้ำมันเครื่องปลอมแน่ๆ เพราะฉะนั้นแล้วถ้าตัวแทนจำหน่ายที่ไว้ใจได้นั้นก็สำคัญเหมือนกัน ให้เราลองเลือกร้านที่จะซื้อดี ๆ หรือว่าอู่ที่เราจะนำรถยนต์ของเราเข้าไปเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องให้ดี

หลายประเทศรวมถึงไทยเองก็เคยจับกุมอยู่บ่อยครั้งกับเครือข่ายทำน้ำมันเครื่องปลอม

หลายประเทศรวมถึงไทยเองก็เคยจับกุมอยู่บ่อยครั้งกับเครือข่ายทำน้ำมันเครื่องปลอม 

>> รถติดเครื่องยนต์เทอร์โบ ดูแลต่างจากเครื่องยนต์ธรรมดาอื่นๆ อย่างไร
>> รวมสิ่งของจำเป็นเมื่อเริ่มหัดแต่งรถ .. สถานที่สุดฮิตที่สายแต่งรถต้องไปเหมาซื้อ !!

 

รู้จักใช้รู้จักเลือก...น้ำมันเครื่องจำเป็นต้องซื้อแพงไหม?

ทั้ง 4 ข้อข้างบนนี้ก็เป็นอีกหนึ่งทริคในการดูน้ำมันเครื่อง แต่แน่นอนว่าน้ำมันเครื่องก็จะมีการจำแนกเอาไว้อีก 3 ชนิดด้วยกัน ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่รถยนต์ เครื่องยนต์ และประเภทการใช้งาน ซึ่งทั้ง 3 ประเภทที่ว่าของน้ำมันเครื่องนั้น มีดังนี้

1. น้ำมันเครื่องธรรมดา (Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้งานได้ประมาณ 3,000-5,000 กม.

2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นธรรมดากับชนิดสังเคราะห์ ใช้งานได้ประมาณ 5,000-7,000 กม.

3. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Fully Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่สังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้งานได้ประมาณ 7,000-10,000 กม.

และมากกว่านี้ ยังมีน้ำมันเครื่อง "ชนิดพิเศษ" ที่เหมาะกับรถบางประเภทอีกด้วย เช่น NGV, LPG & Gasoline ซึ่งก็หมายความว่า สามารถใช้ได้ดีกว่าสำหรับรถที่ติดแก๊ส NGV และ LPG และขณะที่อีกบางประเภทจะเขียนกำกับเอาไว้บนกล่องน้ำมันเครื่องว่า Heavy Duty ซึ่งก็หมายความว่า ใช้ได้ดีสำหรับรถที่บรรทุกของหนัก

เป็นไงกันบ้างครับสำหรับความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับน้ำมันเครื่อง แม้หลายคนอาจจะมองว่าแค่ๆ ซื้อไปใช้คงไม่มีอะไรมาก แต่หากไม่เช็คให้ดีคำว่าไม่เป็นไรๆ อาจจะสร้างปัญหาหนักให้ตามมาได้ง่ายๆ เพราะหากใช้ไม่ตรงประเภทของเครื่องยนต์ หรือเป็นของปลอม รับรองเรื่องยาว จะสิ้นเปลืองเงินค่าซ่อมรถมากกว่าเดิม ฝากไว้ครับ

ติดตาม ข่าวรถยนต์ใหม่ ได้ที่นี่
ติดตามเรื่อง รีวิวรถยนต์ใหม่ ได้ที่นี่
ติดตามเรื่อง ราคารถยนต์ใหม่ๆ ได้ที่นี

กอล์ฟ กันติพิชญ์