ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ประกันภาคสมัครใจ คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร และความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ แต่ละประเภทมีอะไรบ้าง ทำไมจึงต้องทำประกันภัยรถยนต์
เมื่อถอยรถใหม่มาใช้ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ประกันภัยรถยนต์ ที่จะมีทั้งประเภท ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. (Compulsory Third Party Insurance) และ ประกัน ภาค สมัคร ใจ (Voluntary Motor Insurance) ซึ่งประกันภัยรถยนต์ทั้ง 2 ประเภท จะมีความแตกต่างกัน ดังนี้
ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่เรียกกันว่า “ประกันภัย พ.ร.บ.” คือ ประกันภัยรถยนต์ที่เจ้าของรถทุกคนต้องทำ ตามความคุ้มครองพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยจะให้ความคุ้มครองประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ หากร่างกายได้รับความเสียหาย
ถ้าไม่ทำ พ.ร.บ. จะถือว่าผิดกฎหมาย มีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท นอกจากนี้ ยังไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะไม่ได้รับความคุ้มครอง และต้องจ่ายค่าเสียหาย รวมถึงค่ารักษาพยาบาลเองทุกบาท
1. กรณีบาดเจ็บ จะได้รับการชดใช้เป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท ต่อคน
2. กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย (ทุพพลภาพ) อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาท ต่อคน
3. กรณีบาดเจ็บจะได้รับการชดใช้ค่ารักษาพยาบาลตาม ข้อ 1. และต่อมาทุพพลภาพตาม ข้อ 2. รวมกันแล้วจะไม่เกิน 65,000 บาท ต่อคน
4. กรณีเสียชีวิตจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท ต่อคน
5. กรณีเสียชีวิตภายหลังการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงตามข้อ 1 รวมกันไม่เกิน 65,000 บาท ต่อคน
ประกันภาคสมัครใจ คือ ประกันภัยรถยนต์ที่เจ้าของรถสามารถเลือกซื้อได้ตามความพึงพอใจ โดยเป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) เกิดขึ้นตามความสมัครใจ ไม่มีการบังคับตามกฎหมาย ซึ่งจะแบ่งประเภทกรมธรรม์ ออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2
ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 3
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4
กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5
1. ความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก : ให้ความคุ้มครองต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของบุคคลภายนอก และการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตของผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย ซึ่งจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัย จะอยู่ที่ 100,000 บาทต่อคน และ 10,000 บาทต่อครั้ง
2. ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก : ให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดกับทรัพย์สินของบุคคลภายนอก โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 200,000 บาทต่อครั้ง
3. ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์ : ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ แต่ไม่รวมความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้ โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 50,000 บาท (รถจักรยานยนต์ 5,000 บาท)
4. ความคุ้มครองความรับผิดต่อความสูญหาย และไฟไหม้ของตัวรถยนต์ : ให้ความคุ้มครองความเสียหายของรถยนต์ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ กรณีที่ถูกไฟไหม้ หรือสูญหายไป
5. ความคุ้มครองเพิ่มเติม แบ่งออกเป็น 3 ความคุ้มครองหลัก ดังนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ คปภ. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
อ่านเพิ่มเติม >>