BlueTec ชื่อนี้มีดีอะไร

ประสบการณ์ใช้รถ | 18 ส.ค 2561
แชร์ 3

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า BlueTec มาแล้ว บ้างก็อาจจะเคยเห็นติดอยู่ที่ท้ายรถยนต์ แต่จริงๆแล้วคงไม่ได้มีติดไว้ให้ดูโก้เก๋เท่านั้น มันยังเป็นการบ่งบอกถึงความสำคัญของเครื่องยนต์ในรถยนต์คันนั้นด้วยว่ารับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

มลพิษทางอากาศและรถยนต์เป็นของคู่กันมานานและเริ่มมีให้เห็นชัดขึ้นตั้งแต่มนุษย์เริ่มผลิตเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงได้ แต่สมัยที่รถยนต์ยังมีไม่มากและไม่แพร่หลายก็ไม่ค่อยมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากมายนัก แต่ในขณะที่ทุกวันนี้รถยนต์บนโลกที่มีกันระดับพันล้านคันทั่วโลกแล้วและส่วนใหญ่ก็เป็นรถยนต์ที่สันดาบภายในปล่อยไอเสียออกมาสู่ภายนอกผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงมนุษย์ก็มีมากขึ้นเป็นธรรมดา ทั้งรัฐบาลแต่ละประเทศและผู้ผลิตรถยนต์รายต่างๆก็พยายามที่จะสรรค์สร้างเครื่องยนต์ที่มีปริมาณก๊าซพิษให้น้อยที่สุด หนึ่งในนั้นคือบริษัทDaimler AG

Gottlieb Daimler ผู้ก่อตั้งบริษัท Daimler

Gottlieb Daimler ผู้ก่อตั้งบริษัท Daimler

Daimler ชื่อนี้ทำไมใช้หลายบริษัท

เรื่องความซับซ้อนของการใช้ชื่อเดมเลอร์นี้มีมากมายหลายปัจจัยซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลพวงในทางธุรกิจและการตลาด แต่พอจะสรุปให้เข้าใจง่ายๆได้ดังนี้คือชื่อเดมเลอร์นี้ แรกเริ่มเดิมทีมาจากวิศวกรชาวเยรมนี ชื่อ ก็อตต์ลีบ เดมเลอร์ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเป็นบริษัทชื่อ Daimler Motoren Gesellschaft ในปี1890 ต่อมาในปี1926ก็อตต์ลีบ เดมเลอร์ได้ร่วมมือกับ คาร์ล เบนซ์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Benz & Cie ที่ผลิตรถยนต์คันแรกของโลกได้สำเร็จ กลายเป็นบริษัทชื่อ Daimler-Benz AG ในที่สุด หลังจากที่จดสิทธิบัตรต่างๆเป็นที่เรียบร้อย มีการขายสิทธิบัตรในการออกแบบบางส่วนให้กับบริษัทอื่น ทำให้บริษัทนั้นสามารถใช้ชื่อเดมเลอร์ได้ด้วยเช่นกันแต่ไม่ได้ยกเลิกการใช้ชื่อเดมเลอร์สำหรับการผลิตรถยนต์ของบริษัทตัวเอง จึงเกิดความสับสนในหมู่ลูกค้าว่าเมื่อพูดถึงเดมเลอร์แล้วจะหมายถึงบริษัทใดกันแน่ (ทั้งๆที่สองบริษัทที่ใช้ชื่อเดมเลอร์ในตอนนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกัน) ภายหลังบริษัทเดมเลอร์ในเยอรมนีจึงยกเลิกการใช้ชื่อเดมเลอร์เป็นชื่อแบรนด์รถยนต์ และเปลี่ยนมาใช้ชื่อ “เมอร์ซิเดส” ที่ต่อมากลายเป็นชื่อ “เมอร์ซิเดส-เบนซ์” ในที่สุด

จากจุดเริ่มต้นของเดมเลอร์สู่เมอร์ซิเดส-เบนซ์ในปัจจุบัน

จากจุดเริ่มต้นของเดมเลอร์สู่เมอร์ซิเดส-เบนซ์ในปัจจุบัน

Technology BlueTec โดยเดมเลอร์

BlueTec เป็นชื่อทางการตลาดอย่างหนึ่งที่มีใช้ในรถยนต์จากค่าย Daimler AG ซึ่งใช้กับรถยนต์ที่มีการติดตั้งเทคโนโลยีการลดสารไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) จากไอเสียที่ปล่อยออกมาในเครื่องยนต์ดีเซล โดยปกติแล้วเทคโนโลยีในเครื่องยนต์ BlueTec จะประกอบด้วยส่วนสำคัญหลักๆ2ส่วนคือ ระบบ SCR (Selective Catalytic Reduction) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้น้ำยาตัวหนึ่งในการทำปฏิกิริยาให้ไนโตรเจนออกไซด์แตกตัวเป็นไนโตรเจนและน้ำ สารละลายตัวดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในหมู่ผู้ใช้รถยนต์ว่าน้ำยาAdBlue และอีกระบบคือระบบดูดซับสารไนโตรเจนออกไซด์หรือเรียกกันว่า  DeNOx  ซึ่งจะมีตัว oxidizing catalytic converter และตัวกรองอนุภาคของไอเสียดีเซลรวมอยู่ด้วย รถยนต์รุ่นแรกๆที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้คือ Mercedes E-Class และ GL-Class ตั้งแต่ปี 2006 ใน North America International Auto Show และต่อมาก็มีการทำข้อตกลงร่วมมือกันกับ Volkswagen และ Audi ให้สามารถใช้เทคโนโลยี BlueTec นี้ด้วยจุดประสงค์หลักเพื่อให้ค่ายรถยนต์หลายๆค่ายช่วยกันขยายตลาดเครื่องยนต์ดีเซลที่ปล่อยก๊าซพิษจากไอเสียน้อยลง

>>> ดู รถเบนซ์มือสอง รุ่นอื่นๆ

เมื่อระดับน้ำยา AdBlue ใกล้หมดจะมีอินดิเคเตอร์บอกที่หน้าจอมิเตอร์ของรถยนต์ด้วย

เมื่อระดับน้ำยา AdBlue ใกล้หมดจะมีอินดิเคเตอร์บอกที่หน้าจอมิเตอร์ของรถยนต์ด้วย

เทคโนโลยี BlueTec นี้เกิดขึ้นแรกเริ่มจากเหตุผลที่ว่าระบบการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซลที่ให้กำลังขับที่ดีแต่ก็ปล่อยก๊าซพิษออกมามากกว่าด้วยเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์เบนซิน แรงอัดภายในกระบอกสูบที่มากกว่าและอุณหภูมิที่สูงกว่าเป็นผลให้เกิดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์มากขึ้นด้วย

ดูเพิ่มเติม
>> 
Talk Of The Town มาดูคนไทยพูดถึงราคา!? All New Mitsubishi Xpander เผยโฉมไทย-สิงหาคมนี้
>> สงสัยกันไหมทำไม Honda ไม่มีรถกระบะ แล้ว Isuzu ไม่มีรถเก๋ง

การทำงานของ   BlueTec

เพื่อที่จะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายสามารถแบ่งเป็นข้อๆได้ดังนี้

1. DeNOx Catalytic Converter เป็นตัวแปลง (Converter) และก็เป็นตัวกระตุ้น (Catalytic) อุปกรณ์ตัวนี้จึงมีหน้าที่ใช้ในการลดจำนวนของคาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) และสารไฮโดรคาร์บอน (HC) ที่ออกมาจากท่อไอเสีย (การลดในที่นี้ในทางเคมีหมายถึงปริมาณของคาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) และสารไฮโดรคาร์บอน (HC) ลดลงโดยการเปลี่ยนแปลงทางเคมีให้กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และน้ำ (H2O)) เมื่อผ่านขั้นตอนนี้จึงทำให้จำนวนคาร์บอนมอนออกไซด์และสารไฮโดรคาร์บอนมีจำนวนลดลง ส่วนไนโตรเจนออกไซด์หรือออกไซด์ของไนโตรเจนจะถูกแปลงให้กลายเป็นก๊าซไนโตรเจนและน้ำ (ในทางเคมีคือการลดลงของไนโตรเจนออกไซด์คือการเปลี่ยนแปลงทางเคมีให้กลายเป็นก๊าซไนโตรเจน)

2. ก่อนไอเสียจะถูกปล่อยไปยังส่วนต่อไปจะมีตัวกรอง (Filter) ที่เป็นตัวดักอนุภาคของเขม่าต่างๆไว้อีกชั้นหนึ่ง ในขั้นตอนนี้จะดักสารหรืออนุภาคต่างๆได้ดีแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบของตัวกรอง

หน้าตาของ DeNOx Catalytic Converter

หน้าตาของ DeNOx Catalytic Converter

3. เมื่อพ้นจากตัวกรองมาแล้วถ้าได้ไอเสียที่ผ่านมาตรฐานก็ถือว่าใช้แค่ตัว DeNOx Catalytic Converter ก็เพียงพอแต่ถ้ายังได้ไอเสียที่ไม่ผ่านมาตรฐานก็จะมี  Selective Catalytic Reduction (SCR) ซึ่งทำหน้าที่แปลงไนโตรเจนออกไซด์ที่เหลือให้กลายเป็นก๊าซไนโตรเจนและน้ำโดยใช้สารละลายที่เรียกว่า Diesel Exhaust Fluid (หรือรู้จักกันในนามน้ำยา AdBlue) ซึ่งน้ำยาตัวนี้เติมหนึ่งครั้งก็วิ่งได้ราวหลักหมื่นกิโลเมตร มันจะลดลงไปเรื่อยๆและเมื่อหมดแล้วรถยนต์จะไม่สามารถวิ่งได้เพราะเครื่องยนต์ทำงานไม่ครบสมบูรณ์และเมื่อมันทำงานไม่สมบูรณ์มันจะปล่อยไอเสียที่ขัดกับมาตรฐานของเทคโนโลยีBlueTecที่ต้องการได้ไอเสียที่มีปริมาณก๊าซพิษลดลง (ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับสเปคและการออกแบบของรถยนต์คันนั้นด้วย) เหตุผลที่น้ำยาตัวนี้ลดลงไปเรื่อยๆก็เพราะในขั้นตอนนี้น้ำยาจะถูกฉีดเข้ามาให้ระบบ SCR เพื่อแปลงไนโตรเจนออกไซด์ให้กลายเป็นก๊าซไนโตรเจนและน้ำนั่นเอง

ภาพรวมของการทำงานในระบบ Selective Catalytic Reduction

ภาพรวมของการทำงานในระบบ Selective Catalytic Reduction

นอกจากได้ไอเสียที่สะอาดขึ้นแล้วแล้วได้อะไรอีก

ยังมีการเคลมมาจากทางเมอร์ซิเดสเบนซ์ด้วยว่านอกจากการใช้เทคโนโลยี BlueTec จะทำให้รถยนต์มีไอเสียที่สะอาดกว่าเดิมแล้วยังทำให้รถยนต์คันนั้นมีอัตราการเผาผลาญเชื้อเพลิงที่ดีขึ้นประมาณ 3 กม./น้ำมัน1ลิตร แล้วรถคันหนึ่งๆใช้น้ำมันทั้งถังไม่ต่ำกว่า40ลิตร ก็ทำให้สามารถประหยัดน้ำมันไปได้เป็น 100 กิโลเมตรต่อการเติมน้ำมัน 1 ครั้ง

วิธีที่จะปล่อยไอเสียให้น้อยลงอีก

อีกวิธีหนึ่งในการทำให้ไอเสียที่ออกมาจากรถยนต์ของเมอร์ซิเดสเบนซ์คือการแท็กทีมกันระหว่างเครื่องยนต์ดีเซลด้วยเทคโนโลยี BlueTec และพลังงานไฟฟ้าที่มาจากลิเธียมไออนแบตเตอรี่ ร่วมมือกันกลายเป็นรถยนต์ไฮบริดที่ใช้พลังงานจากน้ำมันดีเซล รถยนต์เมอร์ซิเดสเบนซ์รุ่นแรกที่เป็นไฮบริดแบบดีเซลคือรถยนต์ E 300 BlueTEC HYBRID เปิดตัวในปี2010 โดยรถยนต์คันนี้มีพื้นฐานการพัฒนามาจากรถยนต์ E 250 CDI ซึ่งเป็นรถยนต์4สูบเครื่องยนต์ดีเซลที่ให้กำลังแรงม้า 204 แรงม้า ซึ่งสร้างข้อดีหลักๆขึ้นมาดังนี้คือ

1. กำลังของรถยนต์มาจากขุมพลังทั้งสองระบบคือกำลังจากเครื่องยนต์ดีเซลมากขึ้น 150กิโลวัตต์ และกำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าอีก 15กิโลวัตต์ รวมเป็นกำลังสูงสุด 165 กิโลวัตต์ 224แรงม้า และให้ทอร์กถึง 580นิวตันเมตร

2. อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลงดีเซลเท่ากับ 24.4 กม./ลิตร

3. ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับ 109 กรัมต่อกิโลเมตร

รถยนต์เมอร์ซิเดสเบนซ์ E 300 BlueTEC HYBRID

รถยนต์เมอร์ซิเดสเบนซ์ E 300 BlueTEC HYBRID

หน้าจอของรถยนต์เมอร์ซิเดสเบนซ์ E 300 BlueTEC HYBRIDแสดงการใช้การไหลของพลังงานในการขับเคลื่อน

หน้าจอของรถยนต์เมอร์ซิเดสเบนซ์ 300 BlueTEC HYBRIDแสดงการใช้การไหลของพลังงานในการขับเคลื่อน

เพื่อนๆชาว Chobrod คงเห็นแล้วนะครับว่าผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆไม่เพียงแต่พยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตัวเองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเท่านั้นแต่ยังรักษ์โลกของเราอีกด้วย เรียกว่าเป็นบริษัทที่มีจรรยาบรรณก็ว่าได้ เพราะเมื่อไอเสียมีก๊าซพิษน้อยยังไงๆก็มีผลโดยตรงต่อผู้ใช้รถใช้ถนนแน่นอน ไม่เพียงแต่ Technology BlueTec ของเดมเลอร์เท่านั้น ในอนาคตข้างหน้าก็คงมีเครื่องยนต์จากค่ายรถยนต์ต่างๆที่ปล่อยก๊าซพิษน้อยลงจนกระทั่งกลายเป็นศูนย์ในที่สุด ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ไฮบริด รถยนต์พลังงานทางเลือกแบบรถยนต์ไฟฟ้าแพร่หลายไปทั่วทั้งโลกด้วย (ถึงแม้ต้องใช้เวลานานอีกสักหน่อย)

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่