เครื่องยนต์ Boxer นั้นจะมีลักษณะเฉพาะตัว แตกต่างจากเครื่องสูบเรียงทั่วไป ด้วยลูกสูบแนวนอนจุดศูนย์ถ่วงต่ำ พร้อมกับระบบขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ ที่ทำให้ Subaru และ เครื่องยนต์ Boxer ถูกยอมรับเรื่องสมรรถนะไปทั่วโลก
การทำงานของเครื่องยนต์ Boxer
ด้วยสมรรถนะ และช่วงล่างที่เป็นจุดเด่นทำให้ Subaru สร้างชื่อในรายการแข่ง WRC
ถ้าเราจะพูดถึงเครื่องยนต์ที่มีจุดเด่นและลักษณะ เฉพาะตัวอย่างเครื่องยนต์ Boxer จากค่าย Subaru ที่มีการจัดวางอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครื่องที่ไม่เหมือนใครโดยการจัดวางลูกสูบให้อยู่ในลักษณะเป็นแนวนอน (Horizontally - Opposed Engines) ด้วยความพิเศษนี้ทำให้รถยนต์รุ่นต่าง ๆ จากค่าย Subaru ที่นำทีมด้วยรุ่นยอดฮิตอย่าง Subaru Impreza นั้นสร้างชื่อในการแข่งขันรูปแบบต่าง ๆ แต่ที่จัดเจนที่สุดก็คงจะเป็นการแข่งแบบทางลูกรังอย่าง World Rally Championship (WRC) ที่นอกจากที่ทำให้เครื่องยนต์ Boxer ของ Subaru มีชื่อเสียงแล้ว ยังโชว์สมรรถนะช่วงล่างและระบบขับเคลื่อน 4 ล้อที่โด่งดังจนถึงทุกวันนี้
ลักษณะเครื่องยนต์ Boxer นั้นมีรูบแบบเครื่องยนต์ที่ต่างกับเครื่องสูบเรียงอย่างสิ้นเชิง ด้วยการจัดวางของเสื้อสูบที่เป็นแนวเฉพาะของลูกสูบแบบนอน ที่เคลื่อนที่เป็นแบบตรงกันข้ามช่วยเสริมสมดุลของแรงสั่นสะเทือนภายในเครื่องยนต์ โดยสูบนอนนี้จะทำให้การขับเคลื่อนนั้นมีความนุ่มนวล เมื่อเครื่องยนต์ที่อยู่ในย่านรอบสูงจะไม่ทำให้เครื่องยนต์สะบัดซ้ายขวาเหมือนเครื่องยนต์สูบเรียง โดยอีกส่วนสำคัญก็คือ จุดศูนย์ถ่วงที่ต่ำจึงทำให้เป็นการเกื้อหนุนในส่วนของการทรงตัวของรถนั้นดีขึ้นไปอีก ในส่วนของความสมดุลที่ถือว่าเป็นหัวใจหลักยังมีความสมมาตรในแนวนอน (ซ้าย - ขวา) ที่จะช่วยกระจายน้ำหน้าที่ลงสู่ล้อได้อย่างสมดุล ทำให้การเข้าโค้งนั้นมีความนิ่ง ส่วนทางตรงก็ทำให้มีความเสถียรมากกว่า แน่นอนว่าการดีไซน์โดยให้ลูกสูบนั้นอยู่ตำแหน่งที่ต่ำ ทำให้พื้นที่ของชุดเครื่องยนต์นั้นลดลง ซึ่งถ้าเทียบกับเครื่องยนต์แบบสูบตั้งแล้ว ตำแหน่งลูกสูบนั้นอยู่เหนืออ่างน้ำมันก็จริง แต่ยังต้องผ่านกลไกลต่าง ๆ อย่างก้านสูบ, เพลาข้อเหวียง แต่เครื่อง Boxer นั้นจะจัดตำแหน่ง เพลาข้อเหวียงอยู่เป็นตำแหน่งแกนกลาง โดยแหน่งตำแหน่ง ก้าน และสูบจะอยู่ด้านข้างแทน ซึ่งพื้นที่นั้นจะน้อยลง ทำให้น้ำหนักของเครื่องยนต์เบาลงอีกด้วย
ดูเพิ่มเติม
>> เตรียมเปิดตัวรถกระบะจากจีนสู่ไทย!! NEW MG EXTENDER 2019
>> โตโยต้าเขย่าแคมเปญ “The Chosen 5" หาคนไทยไปขับ Toyota GR Supra ที่ญี่ปุ่น
แน่นอนว่าวิศวกรต้องคิดค้นกันมาเป็นอย่างดี เพราะอีกหนึ่งจุดเด่นของสูบนอนที่อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำจะถูกชโลมน้ำมันมากกว่าสูบตั้ง ด้วยแรงดึงดูดของโลกที่น้ำมันเครื่องที่เป็นสะสารที่มีน้ำหนักอยู่ในตำแหน่งต่ำสุดของเครื่องยนต์ (อ่างน้ำมัน Crank) จึงทำให้ลูกสูบนั้นถูกน้ำมันมากกว่านั่นเอง จึงเป็นการลดความเสียดสีในเวลาสตาร์ทรถทุกครั้ง ดังนั้นเครื่องยนต์ Boxer จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ก็ควรระวังเรื่องของน้ำมันเครื่อง ไม่ควรจะปล่อยให้เก่าหรือต่ำกว่าระดับจนเกินไป ด้วยเครื่องยนต์ที่มีรอบสูงจะทำให้เครื่องยนต์นั้นได้รับความเสียหายนั่นเอง
สำหรับใครที่เป็นสาวกดาวลูกไก่แล้วคงจะรู้จักเครื่องยนต์รหัส EJ 20 ก็อย่างแน่นอน เพราะเจ้าเครื่องยนต์ซีรี่ส์นี้ถูกวางในรถยนต์ Subaru ในอดีตมาจนถึงเกือบปัจจุบันก็มีเครื่องยนต์รหัส EJ ที่มีความจุไล่มาตั้งแต่ 1.5 ลิตรไปจนถึง 2.5 ลิตร มีตั้งแต่แบบที่เป็นเครื่องยนต์ NA และ ตัวที่ติดตั้งระบบอัดอากาศเทอร์โบ โดยในแต่ละรุ่นก็จะมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่นในยุคแรก Subaru Impreza GC 1 ยังใช้เครื่องยนต์ EJ 15 อยู่โดยจะมีรุ่นย่อย ต่าง ๆ ตามปี หรือประเทศที่วางจำหน่ายแตกต่างออกไป ต่อมาในช่วงยุค 1990 จึงมีเครื่องยนต์ EJ20 แคมเดี่ยว (SOHC) ไม่มีเทอร์โบ มาประจำในบอดี้รถ Legacy , Impreza , Isuzu Aska โดยแรงม้าก็แล้วแต่ตัวถังจะถูกปรับจูนมาจากโรงงานไว้อยู่ที่ราว ๆ 120-155 แรงม้า ซึ่งในยุคเดียวกันนั้นก็ยังมีอีกหนึ่งไลน์ในบล็อกเดียวกันก็คือ EJ20T แคมคู่ (DOHC) เทอร์โบ ซึ่งเครื่องตัวนี้แหละเป็นจุดกำหนิดตำนานต่าง ๆ ของรถจากค่ายดาวลูกไก่ ซึ่งตัวเครื่องนั้นมีรุ่นย่อยออกมาค่อนข้างที่จะเยอะมาก โดยลักษณะของเครื่องรุ่นนี้จะเป็นเครื่องยนต์ที่มีความเด่นอยู่ตรงคอไอดี สังเกตง่าย ๆ คือสีของคอไอดีจะเป็นสีโลหะ จะเรียกว่า “คอขาว” และอีกตัวจะเป็น “คอแดง” ซึ่ง "คอขาว" พละกำลังแรงม้าอยู่ราว ๆ 200 แรงม้า ส่วน “คอแดง” นั้นจะถูกติดตั้งให้แก่รถ Subaru รุ่นพิเศษอย่าง STi และ WRX โดยจะมีลักษณะเด่นที่คอไอดีเป็นสีแดงสด พร้อมกับอินเตอร์คลูเลอร์ที่วางไว้บนจุดพร้อมโลโก้ STi โดยแรงม้าจะยืนพื้นอยู่ในช่วง 290 แรงม้าขึ้นไป เรียกว่าเป็นเครื่องซิ่งของรหัสนี้เลยก็ว่าได้
ซึ่งEJ 25 นั้นจะถูกพัฒนาลงในรถรุ่นต่าง ๆ เช่น Forester, Legacy, Outback และ Impreza รุ่นพิเศษอย่าง WRX STi, Spec C โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องยนต์บล็อกนี้ได้ถูกวางจำหน่ายในฝั่ง ยุโรป และอเมริกาเป็นหลัก โดยปีที่จำหน่ายนั้นจะอยู่ช่วงหลังปี 2000 ขึ้นมา โดยมาในปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นอยู่บ้างอย่างใน Subaru WRX แต่ก็เหมือนจะเป็นบอดี้สุดท้ายที่ใหม่ที่สุดในสายพันธุ์ EJ พร้อมหลังจากนี้ ทาง Subaru ได้พัฒนาเครื่องยนต์ตัวใหม่มาแทนที่ด้วยเครื่องยนต์ตระกูล F เข้ามาใช้แทนในหลาย ๆ รุ่น ซึ่งมีจุดเด่นตรงที่การนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้มากขึ้น และ ประหยัดน้ำมันมากขึ้น แต่ความดุดันดิบเถื่อนก็แอบจะจางลงไปบ้างแต่ด้วยระบบต่าง ๆ จะมีความล้ำสมัยมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
ถ้าจะพูดถึงเครื่องยนต์สูบนอน Boxer แล้วจะไม่พูดถึงระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ แบบ Full time คงจะไม่ได้ เพราะระบบขับสี่ของ Subaru ถือว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้รถเป็นจำนวนมาก ซึ่งประโยชน์ของระบบขับเคลื่อนสี่ล้อนั้นจะทำให้รถมีความเกาะถนนมากยิ่งขึ้น เสริมการทรงตัวในขณะที่เข้าโค้งให้รถไปกับโค้งเสถียรมากยิ่งขึ้น ซึ่งระบบ AWD ใน Subaru นั้นมีระบบที่ชาญฉลาดอย่าง C Diff. (Centre Differential) ที่สามารถเลือกปรับการถ่ายเทน้ำหนักที่ลงไปสู่ล้อต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการใช้งานมากยิ่งขึ้นนอกจากนี้ ยังสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสภาพถนนต่าง ๆ อย่างเช่น หิมะ ทางเรียบ เป็นต้น นี่คือเสน่ห์ของ เครื่อง EJ และ ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อของรถจากค่าย Subaru เรียกว่าใครทีได้มีโอกาสเป็นเจ้าของแล้วสักคันอาจจะติดใจมีคันต่อ ๆ ไปเลยทีเดียว
ดูเพิ่มเติม
>> Volkswagen ผนึก Ford จับมือร่วมพัฒนา-ผลิต “รถยนต์ไฟฟ้า”
>> โตโยต้าลุยเต็มสูบจับมือ BYD ให้พาลุยตลาดรถไฟฟ้า "จีน"
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้