เหตุผลที่ยางรถยนต์ระเบิดอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

ประสบการณ์ใช้รถ | 3 พ.ค 2561
แชร์ 6

อุบัติเหตุบนถนนหลายครั้งมีสาเหตุมาจากยางรถยนต์เกิดระบาดขึ้นกลางถนนในขณะรถกำลังวิ่ง ซึ่งถือเป็นเรื่องอันตรายมากสร้างความเสียแก่ทรัพย์สินแม้กระทั่งชีวิตของเราเองด้วย

ข้อสังเกตเมื่อยางระเบิด คือ ไม่ว่ายางด้านใดจะระเบิดล้อหน้าหรือล้อหลัง เมื่อเกิดยางรถยนต์ระเบิดขึ้นด้านซ้าย รถก็จะมีอาการแฉลบไปทางซ้ายก่อน ก่อนที่จะสะบัดกลับ และสะบัดไปด้านซ้ายอีกที สลับกันไปมา หากระเบิดด้านขวาอาการก็จะกลับเป็นตรงกันข้าม เมื่ออาการยางเริ่มบวมก่อนเกิดการระเบิดพวงมาลัยจะมีอาการสั่นสะเทือนผิดปกติและบังคับรถได้ยากโดยเฉพาะในขณะเลี้ยว

หากเกิดเหตุการยางระเบิดขึ้นกะทันหันอย่างแรกที่เราต้องทำคือรีบดึงสติ อย่าพาอารมณ์ไหลไปกับเหตุการณ์ ยิ่งหากรถวิ่งมาด้วยเร็วการดึงสติกลับได้เร็วที่สุดแค่เสี้ยววินาทีจะสามารถช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่ต้องทำในทันทีประสิทธิภาพในการควบคุมรถก็สูงขึ้น ส่วนสาเหตุที่ทำให้ยางรถยนต์ระเบิดพอจะแบ่งให้พอเข้าใจได้ ดังนี้

เหตุผลที่ยางรถยนต์ระเบิดอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

เหตุผลที่ยางรถยนต์ระเบิดอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

1.ยางเก่าเก็บไว้นาน ยางหมดอายุการใช้งาน เช่น แก้มยางมีรอยแตกลายงา บวม ฉีกขาด ดอกยางหมดสภาพ
2.รถบรรทุกน้ำหนักเกินค่ายางรถยนต์กำหนดหรือยางรถยนต์ไม่ถูกขนาด
3.ขับรถเร็วเกินพิกัดยางที่กำหนดไว้
4.สูบลมยางไม่ถูกวิธี แรงดันยางไม่เหมาะสม ลมอ่อนเกินไปหรือไม่ก็เติมลมยางมากเกินไป
5.เปลี่ยนยางใหม่แต่ใช้จุ๊บเติมลมอันเก่า
6.ยางรถยนต์ร้อนจัดเนื่องจากสะสมความร้อนเพราะเบรกติดที่ล้อใดล้อหนึ่ง
7.ขอบยางรถยนต์เสียดสีกับขอบถนน

>> Bangkok Auto Salon 2018 ประชันโฉมคาร์คลับเอเชีย 4-8 กรกฎาคม นี้

เมื่อยางรถยนต์ระเบิดขณะขับรถมีข้อแนะนำควรปฏิบัติ ดังนี้
1.สองมือควรควบคุมพวงมาลัยอย่างมีสติ แล้วถอนคันเร่งออก ขณะที่ชะลอความเร็วรถให้คอยสังเกคกระจกมองหลังคอยระวังรถที่วิ่งตามท้ายมา
2.ระวังการเบรก ไม่แตะเบรกแรงเพราะจะทำให้รถหมุน ค่อยเตะเบรกด้วยน้ำหนักเบาๆแต่แตะถี่ๆ รวมถึงเบรกมือก็ไม่ควรดึงเช่นกันเพราะจะทำให้รถหมุน
3.คลัตช์คือสิ่งที่ไม่ควรแตะโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้รถลอยควบคุมได้ยากเป็นการตัดแรงบิดของเครื่องยนต์ให้ขาดจากเพลาอาจทำให้รถเสียหลัก
4.เมื่อรถชะลอความเร็วลงควรเปลี่ยนสัญญาณวิ่งเข้าข้างซ้ายไหล่ถนน เปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำแล้วค่อยๆหยุดรถ

ดูเพิ่มเติม
>> ขับรถปลอดภัยใส่ใจลมยาง
>> วิธีดูยางรถยนต์ง่ายๆ ว่ายังใช้ได้ หรือ หมดสภาพ ไปแล้ว??

chobrod