สุดไปอีก!!! ค่ายรถยักษ์ทั้ง3ที่ร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่2

ประสบการณ์ใช้รถ | 3 พ.ย 2561
แชร์ 0

ไม่รู้มาก่อนเลยว่า บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของโลก ก็เคยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของสงครามโลกกันมาแล้ว แต่ละบริษัทมีบทบาทอย่างไรลองติดตามกันได้ ณ บัดนี้ครับ

ย้อนกลับไปเมื่อปี 1939 ถึงช่วงปี 1945 มีเหตุการณ์แห่งหน้าประวัติศาสตร์เกิดขึ้น ทุกคนบนโลกเรียกมันว่าสงครามโลกครั้งที่2 มีทหารร่วมรบในสงครามครั้งนี้กว่า100ล้านนาย จากประเทศผู้ร่วมรบกว่า30ประเทศ และทุกประเทศทุ่มกำลังความสามารถทั้งด้านการเงิน การทหาร และทรัพยากรต่างๆอย่างเต็มที่เป็นการร่วมมือกันของคนในชาติแต่ละชาติอย่างแท้จริง โดยประเมินมูลค่าของสงครามในครั้งนี้ไว้กว่า 1ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ (ราว30ล้านล้านบาท) รวมผู้เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้ประมาณ 85 ล้านคน จึงนับได้ว่าเป็นสงครามครั้งที่ใหญ่ที่สุด เงินทุนร่วมรบ และผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์ทุกหน้าของมนุษยชาติ

ปืนนับเป็นอุปกรณ์สำคัญของการรบในสงครามครั้งนั้น และการนำมันมาใช้ร่วมกับยานพาหนะอื่นๆเป็นสิ่งที่แทบจะเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะสหรัฐอเมรกาที่ประกาศว่าตัวเองเป็นคลังอาวุธแห่งประชาธิปไตยในการต่อต้านกับฝ่ายนาซี พร้อมที่จะสนับสนุนทรัพยากรด้านการเงินและการอาวุธอย่างเต็มที่แก่ฝ่ายร่วมรบ บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันก็ได้เข้าไปอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์สงครามนี้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น Cadillac บริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติอเมริกัน ก็ได้เปลี่ยนโรงงานผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลให้กลายเป็นรถถังในเวลาเพียง2เดือน รวมไปถึงบรรดาเหล่าซัพพลายเออร์ต่างๆในสหรัฐอเมริกาก็รวมพลังกันเปลี่ยนโรงงานต่างๆของตัวเองที่เคยผลิตชิ้นส่วนให้กับรถยนต์ กลายเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนต่างๆให้กับการทำสงครามไปหมด

นาซี ตัวละครหลักของสงครามโลกครั้งที่2

นาซี ตัวละครหลักของสงครามโลกครั้งที่2

เมืองที่เป็นยุทธศาสตร์หลักของสหรัฐอเมริกาในตอนนั้นคือเมือง Detrioit บรรดาเหล่าผู้ผลิตรถยนต์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น GM, Ford, Chrysler ไม่ได้ร่วมกันสร้างรถยนต์ออกมาขายอย่างเดียวแล้ว แต่สร้างรถถัง เครื่องบิน เรดาร์ รถสะเทินน้ำสะเทินบก กระสุน หรืออะไรต่างๆอีกมากมายที่จะกลายมาเป็นยุทธโธปกรณ์ในการรบได้ เมือง Detroit มีประชากรเพียง2%ของพลเมืองสหรัฐอเมริกาแต่กลับผลิตยุทธโธปกรณ์การรบในสงครามเป็นสัดส่วนถึง10%

3บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของอเมริกาที่มีส่วนในการรบของสงครมโลกครั้งที่2

3บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของอเมริกาที่มีส่วนในการรบของสงครมโลกครั้งที่2

ความรวดเร็วในการปรับตัว

เมื่อบ้านเมืองอยู่ในภาวะสงคราม สิ่งหนึ่งที่ดูน่าประหลาดใจคือการร่วมมือกันและปรับเปลี่ยนทรัพยากรอันรวดเร็ว จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงสนามการค้าให้กลายเป็นสนามรบสงครามโลกครั้งที่2 เริ่มขึ้นตั้งแต่ก่อนสงครามจะปะทุอย่างจริงๆจังๆในช่วงปลายปี 1941 ช่วงนั้นการผลิตรถยนต์เพื่อการค้าหยุดลงทั้งหมดประมาณ3เดือน และเปลี่ยนกำลังคนและเงินทุนให้พร้อมเครื่องมือในการผลิตต่างๆให้กลายมาเป็นผลิตยุทธโธปกรณ์สงคราม ไลน์การผลิตรถยนต์ถูกปรับแต่งใหม่ คนงานกว่า10,000คนถูกจ้างเพิ่มขึ้นและเทรนใหม่หมด ระบบขนส่งถูกวางแผนใหม่เพื่อส่งเครื่องบินรบไปยังอังกฤษ รถถังไปรัสเซีย ปืนไปจีน ทำให้สหรัฐอเมริกาสมกับเป็นคลังอาวุธของสงครามอย่างแท้จริง

ดูเพิ่มเติม
>>
 Technology หลายอย่างในรถยนต์เก่ากว่าที่คุณคิด
>> ย้อนรอยวิกฤต Subprime ตอนนั้นวงการรถยนต์สภาพเป็นอย่างไร

การผลิตของ Chrysler

Chrysler ถูกมอบหมายให้ผลิตกระสุนสำหรับต่อต้านอากาศยานทางอากาศที่มีขนาด 40มิลลิเมตร หรือรู้จักกันในนาม Bofors Gun ซึ่งใช้แรงงานกว่า 450 ชั่วโมงการผลิต นอกจากนั้นยังมีบทบาทในการเป็นหน่วยสร้างรถถังที่ป้อนให้กับพันธมิตรในแถบยุโรป ประธานธิบดี โรสเวลต์ ของสหรัฐอเมริกาได้กล่าวในขณะนั้นว่า "ชาวยุโรปทั้งหลายไม่ได้ขอให้เราเป็นแค่ส่วนหนึ่งในการรบ แต่ขอให้เราร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปะติดปะต่อจิ๊กซอทางสงครามซึ่งจะทำให้ชาวยุโรปต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความมั่นคงของพวกเราทั้งหมด" Chrysler และรัฐบาลสหรัฐอเมริกาใช้เวลาร่วมปีในการสร้างโรงงานใหม่สำหรับสร้างรถถัง รถถัง M3ถูกผลิตขึ้นโดย Chrysler และส่งไปให้กองกำลังร่วมรบที่อังกฤษใช้ต่อสู้กับทหารเยอรมันและอิตาลีในพื้นที่แถบแอฟริกาเหนือ ทางฝั่งประเทศอิตาลีก็มีบริษัทรถยนต์มาช่วยเป็นกำลังทางอาวุธเช่นกันคือFiat Fiat สร้างรถถังและเครื่องบินให้กับกองกำลังทหารอิตาลีที่เป็นฝ่ายเดียวกับเยอรมนี ดูๆแล้ว Chrysler กับ Fiat ก็คือศัตรูทางสงครามโลกกันดีๆนี่เอง อย่างไรก็ตามไม่มีมิตรแท้ศัตรูถาวร ต่อมา Fiat ก็ได้มีส่วนรวมหุ้นกับ Chrysler ในปี2009 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตทางการเงินโลกที่จะทำให้บริษัทไม่ต้องหายไปจากตลาด กลายเป็นชื่อใหม่ที่ว่า Fiat Chrysler Automobiles นับว่าเป็นการเดินทางร่วมกันบนหน้าประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยยุคสงครามโลกจวบจนสงครามทางการเงินที่มาจับมือกันในที่สุด

Bofors Gunที่มี Chrysler เป็นผู้ร่วมผลิตและใช้ในสงครามโลก

Bofors Gunที่มี Chrysler เป็นผู้ร่วมผลิตและใช้ในสงครามโลก

การร่วมสงครามของ Ford

Ford เป็นที่รู้กันดีในตอนนั้นว่าไม่ชอบการทำสงครามและรักสินติภาพเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม Ford ก็ได้ตกลงเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่2โดยการสร้างเครื่องบินรบก็เมื่อตอนที่ญี่ปุ่นมาสร้างหน้าประวัติศาสตร์อันโหดร้ายไว้ที่การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ นั่นคือประกายสำคัญที่ทำให้ Ford ตัดสินใจแปลงสรรพกำลังทางการผลิตมาป้อนยุทธโธปกรณ์ต่างๆให้กับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มตัว โรงงานผลิตเครื่องบินถูกสร้างขึ้นและให้ Ford เป็นผู้จัดการการไลน์การผลิต ท้ายที่สุดก็ได้เครื่องบินทั้งระเบิด B-24 ขึ้นมา และอัตราการผลิตก็ทำได้ในอัตรา1ลำต่อ1ชั่วโมง ในช่วงท้ายของสงครามนับๆแล้ว Ford ก็ได้ผลิตเครื่องบินไปรวมๆ 86,000 ลำ เครื่องยนต์สำหรับเครื่องบินอีกกว่า57,000เครื่อง นอกจากนั้นยังมีรถถังและรถสำหรับการรบต่างๆอีกมากมาย (ไหนตอนแรกบอกรักสันติภาพ)

ภาพ Drawing ของเครื่องบินทิ้งระเบิด B-24ของ Ford

ภาพ Drawing ของเครื่องบินทิ้งระเบิด B-24ของ Ford

กำลังสำคัญจาก General Motors

General Motors เป็นบริษัทที่ใหญ่และจริงจังมากในการผลิตยุทธโธปกรณ์ต่างๆเพราะมีแผนกต่างๆกว่า60แผนกทั่วสหรัฐอเมริกาและแต่ละแผนกก็มีหน้าที่แตกต่างกันไปในการผลิตทั้งชิ้นส่วนและยานพาหนะ นับเป็นกำลังหลักที่สำคัญที่สุดของสหรัฐอเมริกาในการพัฒนายุทธโธปกรณ์การรบต่างๆในช่วงสงครามโลกครั้งที่2  บุคคลที่มีบทบทสำคัญในตอนนั้นคือ William S. Knudsen ประธานบริษัท General Motors และผู้บัญชาการสูงสุดของหน่วยกำลังการผลิตทางสงครามของอเมริกา ยานพาหนะที่สำคัญที่ผลิตออกมาในตอนนั้นคือ รถถัง Churchill ที่ป้อนให้กับประเทศอังกฤษ และยานพาหนะอื่นๆรวมๆแล้วกว่า 500,000 คันสำหรับกองกำลังทางบกประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ต้นจนจบสงคราม เฉพาะ General Motorsอย่างเดียวได้ผลิตยุทธโธปกรณ์ต่างๆรวมมูลค่ากว่า12,000ล้านดอลล่าร์สหรัฐอเมริกาซึ่งนับเป็นสัดส่วน41%และมากที่สุดของการผลิตทั้งหมดในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ร่วมรบในตอนนั้น ท้ายที่สุดหลังสงคราม General Motors กลายมาเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดอย่างเป็นทางการของสหรัฐอเมริกาในแง่ของรายได้และการเติบโต

รถถัง Churchill ที่ผลิตโดย General Motors

รถถัง Churchill ที่ผลิตโดย General Motors

คู่แข่งทางการค้าเมื่อถึงเวลาสำคัญ ก็จำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อความอยู่รอด ยิ่งในภาวะสงครามระดับโลกจะมามัวทะเลาะกันเองก็คงไม่ดี การพักรบเรื่องสงครามการค้าและหันหน้ามาจับมือกันเพื่อต่อกรกับศัตรูจากต่างประเทศนับเป็นกุญแจสำคัญดอกหนึ่งในการไขไปสู่ชัยชนะทางสงคราม ถึงแม้ว่าจะต้องทิ้งซากปรักหักพังและจำนวนผู้เสียชีวิตมากมายไว้เบื้องหลัง ขึ้นชื่อว่าสงครามแล้วไม่มีทางที่จะขาวสะอาดหมดจดได้ เพราะเมื่อมีฝ่ายชนะก็ต้องมีฝ่ายพ่ายแพ้ สิ่งที่ดีที่สุดน่าจะเป็นการประนีประนอมและทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดเพื่ออนาคตต่อทั้งตัวเองและสังคมรอบข้าง เราคนไทยเองก็มาสามัคคีกันเพื่อชาติของเราครับ

ดูเพิ่มเติม
>>
 พาไปรู้จักความเป็นมาของ Chevrolet ค่ายรถอเมริกันถูกใจคนชอบรถสไตล์อึด
>> มีใครบ้างกับ 10 บรรดาเทพแห่งผู้ผลิตอุตสาหกรรมยามยนต์

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่  
อ่านรีวิวรายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์  เชิญที่นี่ 

แท็ก General Motors