หลาย ๆ คนคงจะเคยประสบปัญหารถเร่งไม่ขึ้น รถอืด กำลังตก เครื่องยนต์วูบดับกลางทางบ่อย ๆ หรือรถสตาร์ตไม่ติด แต่ไม่รู้ว่ามีสาเหตุจากอะไร แล้วควรแก้ไขปัญหาอย่างไร ?
เมื่อใช้งานรถยนต์ไปนาน ๆ แน่นอนว่าเครื่องยนต์หรือชิ้นส่วนบางชิ้นย่อมเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา จนอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา ซึ่งอาการรถเร่งไม่ขึ้น รถอืด กำลังตก เครื่องยนต์วูบ ทำงานได้ไม่เต็มที่ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ มาดูกันว่าต้นเหตุที่ทำให้เร่งเครื่องไม่ขึ้นนั้น คืออะไรบ้าง ?
หัวเทียนบอด หรือเสื่อมสภาพจากการใช้งาน เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้รถอืด โดยอาจจะมีคราบน้ำมันเกาะติด ปลายฉนวนหัวเทียนมีคราบเขม่าเกาะแน่น เขี้ยวหัวเทียนละลาย หรือเขี้ยวหัวเทียนสึกหรอ จนทำให้หัวเทียนเสื่อมสภาพ และทำงานได้ไม่เต็มที่ ควรให้ช่างตรวจเช็กและเปลี่ยนหัวเทียนใหม่ให้
หัวเทียนเสื่อมสภาพ
เมื่อกรองอากาศสกปรก หรือเกิดสิ่งสกปรกอุดตันสะสม จะทำให้อากาศไม่สามารถเข้าไปได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้หัวเทียนจุดระเบิดได้ไม่ดี จึงเร่งรถไม่ขึ้นนั่นเอง วิธีแก้ไข คือ ควรนำมาล้างทำความสะอาด หรือเปลี่ยนกรองอากาศใหม่ ซึ่งปกติแล้วควรเปลี่ยนทุก ๆ 20,000-40,000 กิโลเมตร
กรองอากาศสกปรก
คอยล์จุดระเบิด เป็นตัวกลางที่จะช่วยส่งกระแสไฟฟ้าไปยังหัวเทียน ทำให้หัวเทียนจุดระเบิดได้ หากคอยล์จุดระเบิดเสื่อมสภาพ จะทำให้การจุดระเบิดของหัวเทียนไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้รถอืด กำลังตกได้นั่นเอง ควรเปลี่ยนใหม่ทันที
คอยล์จุดระเบิดเสื่อมสภาพ
ที่กรองน้ำมันเชื้อเพลิงอุดตัน เป็นอีกหนึ่งตัวการที่ทำให้เร่งรถไม่ขึ้น เพราะตัวกรองน้ำมันเชื้อเพลิงจะช่วยกรองสิ้งแปลกปลอมในน้ำมันเชื้อเพลิง หากมีสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตัน จะทำให้ประสิทธิภาพในการกรองน้ำมันลดลง จนเกิดปัญหารถสตาร์ตไม่ติด เร่งเครื่องไม่ขึ้น ต้องแก้ไขด้วยการเปลี่ยนที่กรองน้ำมันใหม่
ที่กรองน้ำมันเชื้อเพลิงอุดตัน
น้ำมันเครื่องช่วยหล่อลื่นเครื่องยนต์ให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ หากน้ำมันเครื่องสกปรก หรือเสื่อมสภาพ จะส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ภายในเครื่องยนต์ทำงานช้าลง ทำให้รถอืด เร่งไม่ขึ้น หากพบปัญหานี้ ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องใหม่ เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพของเครื่องยนต์
น้ำมันเครื่องสกปรก
หากพบปัญหารถเร่งไม่ขึ้น รถอืด เครื่องยนต์วูบดับกลางทางบ่อย ๆ หรือรถสตาร์ตไม่ติด ควรนำเข้าอู่หรือศูนย์เพื่อให้ช่างผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและแก้ไขให้ เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
อ่านเพิ่มเติม >>