เกียร์อัตโนมัติที่เริ่มเสื่อมสภาพหรือเริ่มมีอาการไม่ปกตินั้น มีสัญญาณเตือนจากอาการต่างๆ ที่ปรากฏขณะขับใช้งาน หากเป็นคนใช้รถที่รู้จักเอาใจใส่หมั่นดูแลรถยนต์ของตนเองโดยเฉพาะระบบส่งกำลัง อายุการใช้งานของเกียร์ลูกนั้นก็จะอยู่กับคุณไปจนรถพังแล้วเกียร์ก็ยังใช้งานได้อยู่
ทิปดูแลรถ.. ส่องอาการก่อนเกียร์ออโต้เสีย
บางค่ายบอกว่าไม่ต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตลอดอายุการใช้งาน แต่เอาเข้าจริงๆ เกียร์จะพังที่ระยะใช้งานเกิน 100,000 กิโลเมตรเกือบทุกคันถ้าไม่มีการเปลี่ยนถ่ายของเหลวหล่อลื่นในเกียร์ รวมถึงตัวกรองน้ำมันเกียร์ ถ้าไม่อยากพังก็ควรจะเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ที่ระยะ 30,000-40,000 กิโลเมตร รวมถึงขับแบบถนอมเกียร์ ไม่เปลี่ยนเกียร์เล่นบ่อยๆ ไม่ขับแบบลากเกียร์ซึ่งจะเป็นการบั่นทอนอายุการใช้งานของเกียร์ออโต้ให้หดสั้นลง
เกียร์อัตโนมัติสมัยใหม่มีความทนทานเป็นรองเกียร์ธรรมดาอยู่บ้าง
แต่ถึงจะดูแลอย่างไร ความสึกหรอจากการใช้งานก็เกิดขึ้นอยู่ดี ลางบอกเหตุว่าเกียร์ออโต้ในรถคุณกำลังจะเสียนั้น มาในสองรูปแบบทั้งจากการมองเห็น เช่น น้ำมันเกียร์รั่วไหลนองพื้น หรือยัดเกียร์ D เพื่อเดินหน้าหรือเกียร์ R เพื่อถอยหลัง แล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น รถยังคงนิ่งไม่ยอมขยับหรือต้องรอกันนานมากกว่ารถจะเคลื่อนตัว
เกียร์อัตโนมัติสมัยใหม่มีความทนทานเป็นรองเกียร์ธรรมดาอยู่บ้าง แต่ก็ไม่เสมอไป อยู่ที่วิธีการขับและการบำรุงรักษาเพื่อยืดอายุการใช้งาน เนื่องจากเกียร์ออโต้สมัยใหม่ในปัจจุบัน มีชิ้นส่วนมากกว่า มีระบบไฟฟ้าเข้าไปเกี่ยวข้อง แถมยังมีความสลับซับซ้อนมากกว่าหลายเท่า ไม่ว่าจะเป็นเกียร์สายพานพูเล่ย์ CVT หรือเกียร์ออโต้แบบเฟืองต่างขนาดทอร์คคอนเวอร์เตอร์ อาการก่อนการลาจากของเกียร์ออโต้ก็มีหลากหลายให้ได้สัมผัส เช่น
1-อาการกระตุกกระชากเวลาเกียร์เปลี่ยน
2-การตอบสนองต่อการทดกำลังเชื่องช้าอืดอาดไม่ทันใจหรือไม่ได้อย่างใจเหมือนตอนใหม่ๆ
3-จู่ๆ เกียร์ก็ไม่เปลี่ยนเอาดื้อๆ หรือแม้แต่จะขับถอยหลัง พอยัดเกียร์ R รถก็ยังนิ่งสนิทไม่ขยับ
อาการเหล่านี้ คือสัญญาณว่าเกียร์ออโต้ในรถของคุณกำลังใกล้จะพัง และจะทำให้กระเป๋าเงินของคุณจะต้องรั่วหนักอย่างเลี่ยงไม่ได้
ดูเพิ่มเติม
>> รถหมดประกัน หรือใกล้หมดประกัน เริ่มเช็คตรงไหนก่อนดี
>> มาทำสีกันเถอะ !! ที่ “Mccoy Auto Expert” อู่รับซ่อมทำสีและตัวถังที่ดีที่สุดในย่านประชาอุทิศ
อาการเริ่มแรกส่วนมากจะเกิดกับเกียร์ถอยหลังหรือเกียร์ R
อาการเริ่มแรกส่วนมากจะเกิดกับเกียร์ถอยหลังหรือเกียร์ R เวลาเครื่องเย็นเข้าเกียร์ถอยหลังหรือเกียร์ R บางทีก็ช้ามา หรือเข้าแล้วเกิดอาการกระตุกกระชาก ไม่นิ่มนวล หลังจากนั้นวิ่งไปสักระยะ พอเครื่องร้อนขึ้น อาการจะกลับมาเป็นปกติแบบเป็นๆ หายๆ
หลังจากเกิดอาการยัดเกียร์ถอยแล้วรถไม่ถอย สักระยะก็จะมีอาการนี้ตามมาช่วงจังหวะในการเปลียนเกียร์จะมีอาการลื่นของผ้าคลัตช์ในช่วงเปลียนเกียร์และการเปลียนเกียร์จะไม่นิ่มนวล เข้าเกียร์แล้วไม่วิ่ง ออกตัวไม่ได้ ต้องรอเครื่องร้อนๆ หรือบางทีต้องเลื่อนคันเกียร์เพื่อออกตัวที่เกียร์ 2 ก่อน วิ่งไปสักพักค่อยเปลี่ยนกลับมาที่ตำแหน่ง D ได้
อาการต่อมาเวลาเข้าเกียร์ถอยหลังจากที่เกิดการกระชากในตอนแรกตอนนี้จะมีอาการเกียร์ถอยหลังไม่เข้าคือรถไม่ถอยหลังในตอนเครื่องเย็นพอ warm เครื่องร้อนขึ้นเกียร์ถอยหลังถึงจะเริ่มทำงานปกติ
ส่องอาการก่อนเกียร์ออโต้เสีย
เวลาเหยียบคันเร่ง รอบเครื่องยนต์พุ่งกวาดขึ้นแต่ไมล์ความเร็วไม่ขึ้นตาม รถเร่งความเร็วได้แบบห่วยแตก เร่งไม่ไป อืดเป็นเรือบรรทุกข้าว หรือความเร็วขึ้นช้ามากๆ ซึ่งอันตรายมากหากอยู่ในจังหวะที่ต้องการเร่งแซง น้ำมันเกียร์ พร่องผิดปกติ (กินน้ำมันเกียร์หรือน้ำมันเกียร์รั่ว)
เวลาเปลี่ยนเกียร์ แล้วรถเคลื่อนตัวช้ากว่าปกติหรือต้องรอสักพักกว่าจะไป (อาการระยะสุดท้ายก่อนกลับบ้านเก่า) อาการเกียร์จะกลับบ้าน เข้า N ไป D เข้า N ไป R จะช้ารอนานกว่าจะเคลื่อนตัวหรือไม่เคลื่อนตัวเลยจอดนิ่งอยู่กับที่ แม้จะเร่งเครื่องก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น รถไม่ยอมวิ่ง เวลาเปลี่ยนเกียร์ก็จะเกิดอาการกระชาก วิ่งๆ อยู่เกียร์หลุด หรือเร่งไม่ไปกดเท่าไรก็ยังคลานเป็นเต่า ไม่ว่าจะตอนเครื่องเย็นเพิ่งสตาร์ตแล้ววิ่ง หรือวิ่งมานานจนเครื่องร้อน เกียร์ก็ดื้อไม่เปลี่ยนซะงั้น บางทีวิ่งๆ อยู่เกียร์เข้า limp home mode (วิ่งเกียร์เดียว นั่นก็คือเกียร์ 3)
ส่องอาการก่อนเกียร์ออโต้เสีย
น้ำมันเกียร์ที่สดใหม่และเปลี่ยนตามระยะ 30,000-40,000 กิโลเมตร ขับแบบถนอมไม่กระโชกโฮกฮาก รอจนหยุดแล้วค่อยใส่เกียร์ถอย ลุยน้ำมาก็ควรให้ช่างตรวจสอบน้ำมันเกียร์ว่ามีน้ำเจือปนหรือไม่ ไม่เปลี่ยนเกียร์เล่นโดยไม่มีความจำเป็นเพราะขับทางราบ เหล่านี้ก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานของเกียร์อัตโนมัติให้ยืนยาวออกไปได้พอสมควร
บางคนก็ไม่เชื่อเรื่องอากาศเมืองไทยที่ร้อน เถียงกลับมาว่า ห้องเครื่องก็ร้อน เกียร์ก็ร้อนอยู่แล้ว อากาศร้อนตอนรถติดหนักๆ คงไม่เกี่ยว แต่ดันลืมเรื่องหลักการถ่ายเทความร้อนว่า ยิ่งสภาพอากาศรอบๆ ตัวร้อนเท่าไร การถ่ายเทระบายความร้อนก็ยิ่งทำได้แย่ลงเท่านั้น อากาศในประเทศที่ออกแบบและผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ร้อนโหดๆ ร้อนจริงจังระดับ 38-40 องศาแค่สองอาทิตย์หรืออย่างมากก็แค่เดือนสองเดือน แล้วก็หนาวกันสุดขั้วแถมยังมีหิมะตก ยิ่งทำให้เย็นหนักเข้าไปอีกหลายเท่า การสึกหรอของเกียร์นอกจากจะอยู่ที่การขับใช้งานแล้ว สภาพอากาศก็เข้ามามีส่วนอย่างมาก ประเทศไทยมีที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ฤดูหนาวแทบไม่รู้จัก มีไอเย็นๆ แค่อาทิตย์เดียว เดี๋ยวก็กลับมาร้อนกันแทบจะละลายทั้งปีทั้งชาติ เกียร์ที่ทำงานท่ามกลางสภาพอากาศโหดๆแบบนี้ก็ย่อมไปเร็วกว่าขับในเมืองหนาวอยู่ดี
Chobrodขอฝากความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ไว้เพียงเท่านี้เเละคราวหน้าเรื่องอะไรติดตามข่าวสารใหม่ทุกวันที่ตลาดรถไปพร้อมกันนะคะ
ดูเพิ่มเติม
>> กว่าจะมาถึงวันนี้ที่เราใช้ “ระบบเกียร์อัตโนมัติ”
>> สิ่งที่ควรคำนึงเมื่อต้องการจะซื้อ “รถกระบะมือสอง”
ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้