ออกรถป้ายแดงวันแรก ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ประสบการณ์ซื้อขายรถยนต์ | 5 มี.ค 2562
แชร์ 3

สำหรับเจ้าของรถมือใหม่หลังจากที่ตัดสินใจซื้อรถยนต์สักคันหนึ่งแล้ว ยังต้องรู้ว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมมากในวันออกรถนั้นไม่ได้มีแค่ค่ารถที่ต้องจ่ายเท่านั้น แต่ยังมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ อีก วันนี้ Chobrod เลยจะมีบอกการเตรียมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในวันแรกที่รับรถ เพื่อไม่ให้เพื่อนๆ เตรียมเงินพลาดกันค่ะ

ค่าใช้จ่ายในวันออกรถป้ายแดงมีอะไรบ้างที่ต้องเตรียมไว้

ค่าใช้จ่ายในวันออกรถป้ายแดงมีอะไรบ้างที่ต้องเตรียมไว้

ปัจจุบันนี้ความจำเป็นในการซื้อรถต่างก็มีหลากหลาย และในการซื้อรถก็มีความง่ายมากยิ่งขึ้น รวมถึงมีโปรโมชั่นมากมายที่สร้างแรงจูงใจในการซื้อรถได้ง่ายมากขึ้นเช่นกัน แต่ช้าก่อน อย่างเพิ่งรีบตัดสินใจซื้อง่ายๆ เพราะการออกรถหนึ่งคันไม่ได้มีเพียงแค่ค่ารถเท่านั้น แต่ยังมีค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ อีกที่ต้องใช้ในการออกรถ แล้วจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างล่ะ

ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถจะแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ รายจ่ายประจำ และรายจ่ายทั่วไป แต่ก่อนที่จะพูดถึงค่าใช้จ่ายประจำของรถยนต์ เรามาดูค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในวันรับรถป้ายแดงกันก่อนค่ะ

ค่าใช้จ่ายแรกคือเงินดาวน์ และค่าผ่อนรถงวดแรก

ค่าใช้จ่ายแรกคือเงินดาวน์ และค่าผ่อนรถงวดแรก

ค่าใช้จ่ายในการออกรถยนต์ป้ายแดงวันแรก มี 6 รายการด้วยกัน
 

1. เงินดาวน์ และค่าผ่อนรถงวดแรก

ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เราตกลงกับเซลล์กันตั้งแต่แรกแล้ว โดยค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นของแต่ละค่ายรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่นดาวน์น้อยผ่อนนาน หรือดาวน์ 0% ซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายส่วนแรกของวันรับรถ ซึ่งจะต้องจ่ายทั้งเงินดาวน์ และค่าผ่อนรถงวดแรก
 

2. ค่าจดทะเบียน

ค่าจดทะเบียนรถยนต์แต่ละรุ่นไม่เท่ากัน แต่ปกติศูนย์จะบวกค่าบริการเพิ่มไปนิดหน่อยให้เป็นเลขที่ลงตัว เช่น 3,500 บาท หรือ 5,000 บาท หากศูนย์ไม่ซัพพอร์ตค่าจดทะเบียนให้ก็ต้องเตรียมเงินจำนวนนี้ไปจ่ายด้วยเช่นกัน แต่หากใครที่ต้องการประหยัดเงินก็สามารถนำรถไปจดทะเบียนเองได้ แต่ขั้นตอนอาจยุ่งยากสักนิด การจ่ายเงินเพิ่มให้ศูนย์จัดการให้จะสะดวกกว่า

จะต้องจ่ายค่ามัดจำรถป้ายแดงประมาณ 2-3 พันบาท

จะต้องจ่ายค่ามัดจำรถป้ายแดงประมาณ 2-3 พันบาท

ดูเพิ่มเติม
>>
 9 ทริคต้องเซฟ รับ "รถป้ายแดง" วันแรกที่โชว์รูม ต้องเช็คอะไรบ้าง?!!​
>>
 เมื่อซื้อรถยนต์สักคันเเล้วเราจำเป็นต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง ?
 

3. ค่ามัดจำป้ายแดง

ตามปกติศูนย์บริการจะคิดค่ามัดจำป้ายแดงประมาณ 2-3 พันบาท และจะจ่ายคืนให้กับลูกค้าเมื่อนำรถกลับมาเปลี่ยนเป็นป้ายขาว และควรเช็คว่าป้ายแดงที่ได้รับเป็นป้ายแดงที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อถูกตรวจสอบ
 

4.ค่าเบี้ยประกันภัย

รถยนต์บางค่ายจะไม่มีโปรโมชั่นแถมประกันภัยชั้น 1 ให้ลูกค้า หรืออาจมีเงื่อนไขดอกเบี้ยพิเศษที่บังคับให้ลูกค้าต้องจ่ายค่าประกันภัยเอง ซึ่งส่วนใหญ่รถป้ายแดงทุกคันจะต้องทำประกันภัยชั้น 1 ตามข้อบังคับของบริษัทไฟแนนซ์ (เว้นแต่ซื้อเงินสด) ดังนั้น จะมีค่าใช้จ่ายราว 2-3 หมื่นบาท สำหรับรถขนาด 1.5 ลิตร (ยิ่งรถราคาสูง เบี้ยประกันยิ่งแพง) เพื่อจ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันในวันรับรถ
 

5. ค่าน้ำมัน

รถใหม่ส่วนใหญ่จะเติมน้ำมันจากโรงงานมาให้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งน้อยมากท่าทางศูนย์บริการจะเติมเพิ่มให้ลูกค้า เมื่อขับรถออกจากศูนย์แล้ว จึงจำเป็นที่จะต้องนำรถไปเติมน้ำมันในวันที่ออกรถด้วย

หากไม่มีโปรโมชั่นแถมประกันภัย ก็ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยในครั้งนี้อีกด้วย

หากไม่มีโปรโมชั่นแถมประกันภัย ก็ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยในครั้งนี้อีกด้วย

6. ค่าอุปกรณ์เสริม

หากมีการสั่งอุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมที่ไม่รวมอยู่ในของแถม ก็จำเป็นต้องนำมาจ่ายในวันรับรถด้วย บางกรณีหากเป็นการติดตั้งเพิ่มเติมที่ศูนย์บริการจะต้องจ่ายค่าอุปกรณ์นั้นเต็มจำนวนในวันรับรถ โดยจะไม่สามารถนำมารวมกับค่างวดที่ต้องชำระในแต่ละเดือนได้

ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายส่วนแรกนี้อาจขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองกับเซลล์ด้วย หากสามารถร้องขอข้อใดเป็นพิเศษได้ ก็จะช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นด้วย ต่อมา Chobrod จะขอเสริมด้วยเรื่องค่าใช้จ่ายประจำ และค่าใช้จ่ายทั่วไปสำหรับคนมีรถ ที่นักขับมือใหม่จะต้องเตรียมตัวไว้ค่ะ โดยมีอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่

นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายในวันแรกที่รับรถแล้วยังมีค่าใช้จ่ายประจำที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนอีกด้วย

ออกรถป้ายแดง ต้องเตรียมอะไรบ้าง

รายจ่ายประจำ

คือ ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน และทุกปี ได้แก่

  • ค่าผ่อนรถรายเดือน ที่จะเป็นรายจ่ายที่เป็นเงินก้อน และเราต้องจ่ายทุกเดือน โดยในปัจจุบันมีการคิดเงินผ่อนแต่ละเดือนให้เป็นแบบลดต้น-ลดดอก เช่นเดียวกับบ้านแล้ว จากเดิมที่คิดเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ซึ่งในปัจจุบันก็มีโปรแกรมมากมายสำหรับการคำนวณเงินที่ต้องผ่อนจ่ายในแต่ละเดือน
  • นอกเหนือจากค่าผ่อนรถแล้ว รถทุกคันยังต้องมี พ.ร.บ. ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายทุกปี เป็นการทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 จ่ายปีละ 600 บาท
  • รายจ่ายต่อมา คือ ค่าต่อทะเบียน ค่าภาษีรถยนต์ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งรายจ่ายที่จะต้องจ่ายทุกปี โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1,500-6,000 บาทต่อปี ขึ้นอยู่กับขนาดรถ ถ้ารถขนาดใหญ่ต้องเสียภาษีแพงขึ้นด้วย
  • ค่าเบี้ยประกันภัยรถยนต์ เป็นการโอนความเสี่ยงให้กับบริษัทประกันภัยรับผิดชอบ โดยมีให้เลือกประกันชั้น 1-3 ซึ่งรายละเอียดนั้นขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นของแต่ละบริษัท ยิ่งรถมีราคาแพง ค่าเบี้ยประกันก็แพงเช่นกัน
  • ค่าเชื้อเพลิง (ค่าน้ำมัน, ค่าแก๊ส) ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันในขณะนั้นและลักษณะการใช้งาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเฉลี่ยอยู่ที่ 3,000 บาทต่อเดือน

ค่าใช้จ่ายจิปาถะอย่างค่าจอดรถ หรือค่าทางด่วนก็ต้องคำนวณให้ดีเพื่อการใช้รถยนต์อย่างสบายใจ

ค่าใช้จ่ายจิปาถะอย่างค่าจอดรถ หรือค่าทางด่วนก็ต้องคำนวณให้ดีเพื่อการใช้รถยนต์อย่างสบายใจ

รายจ่ายทั่วไป

คือ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารถ การตกแต่ง และการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง เช่น ค่าเปลี่ยนยาง (ทุก 2 ปี หรือ 50,000 กิโลเมตร) ค่าตรวจสภาพรถยนต์ ค่าที่จอดรถ ค่าทางด่วน ค่าล้างรถ และค่าปรับที่ทำผิดกฎจราจร
 

ดูเพิ่มเติม
>> การคลังเตรียมรื้อภาษีรถยนต์ใหม่ พร้อมตั้งทีมเอกชนดันรถยนต์ EV
>>
 เช็คด่วน....กฎหมายป้ายแดง ที่คนมีรถใหม่ต้องรู้ !!!

นี่เป็นค่าใช้จ่ายประจำที่จะต้องรู้ไว้เพื่อเตรียมตัวค่าใช้จ่ายที่จะต้องเสียในวันรับรถวันแรก และค่าใช้จ่ายที่จะต้องเตรียมไว้สำหรับคนมีรถ หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ เตรียมตัวกันได้อย่างถูกต้องนะคะ สำหรับบทความดีๆ เรื่องรถสามารถติดตามได้ที่ Chobrod.com เช่นเคยนะคะ