เจาะสังเวียน เวียดนาม GP

ตลาดรถยนต์ต่างประเทศ | 14 พ.ย 2561
แชร์ 0

ตั้งแต่ปี 2020 สนามแห่งใหม่สุดระทึกจะมาเป็นส่วนหนึ่งในตารางการแข่ง F1 เพราะเวียดนามมีสนามปิดเมืองแข่งใจกลางกรุงฮานอย



ตัวอย่างผังสนามของเวียดนาม GP

 VGP

เจาะสังเวียน เวียดนาม GP

เวียดนามกำลังจะจัดการแข่งขัน F1 แบบปิดถนนเป็นสนามที่สี่ต่อจากโมนาโก, สิงคโปร์ และอาเซอร์ไบจัน ด้วยสนาม 22 โค้งระยะทาง 5.565 กม. แล้วยังเป็นสนามที่สี่ในทวีปเอเชีย ร่วมกับสิงคโปร์, จีน และญิปปง ทีมงานได้ทำงานร่วมกับบริษัทออกแบบสนามชื่อดังอย่าง Tilke (แฮร์มานน์ ทิลเค่อ ผู้ออกแบบสนามที่มาเลเซีย และ บุรีรัมย์) เพื่อสร้างสนามกลางเมืองนี้ ด้วยถนนที่ใช้ทั่วไปมาก่อนและถนนที่จะมีการปรับปรุงเพื่อใช้การแข่งขัน มาดูกันว่าๆ แฟนจะได้อะไรบ้างเมื่อมาถึงเดือนเมษยน 2020

VGP

แรงบันดาลใจจากทั่วโลก

F1 เป็นการแข่งขันที่ศักดิ์สิทธิ์เพราะมีสุดยอดโค้งต่างๆ นับไม่ถ้วนกระจายตามสนามแข่งระดับโลก เมื่อต้องวางสนามใหม่แล้ว การใช้แรงบันดาลใจเหล่านั้นเป็นเรื่องที่น่ากระทำ นั่นเป็นวิธีที่ทีมงานชุดนั้นใช้กับสนาม Circuit of The Americas (ออสติน, เท็กซัส) สำหรับจัดศึก USGP พวกเขาใช้ต้นแบบจากโค้งต่อเนื่อง Maggotts-Becketts-Chapel (แม็กก็อตส์-เบ็คเก็ตส์-ชาเพิล) ที่สนามซิลเวอร์สโตน (UK) กับโค้ง 8 ที่กรุงอิสตันบูล (ตุรกี) มาไว้ในสนาม

วิธีการเดียวกันนี้จึงเกิดขึ้นกับสังเวียนใหม่ที่เวียดนาม ตั้งอยู่ในพื้นที่ทางตะวันตกของเมืองใกล้ๆ สนามกีฬาแห่งชาติ Mỹ Đình (มี้ ดิ่ญ)  และหมายความว่า นี่ไม่ใช่สนามปิดเมืองที่เคยเจอทั่วไป ต่างออกไปเยอะ... เป้าหมายคือการวางผังสนามให้เป็นแบบไฮบริดเฉพาะตัว ผสานลักษณะของสนามปิดเมืองแข่งเข้าหาโครงร่างสนามตามชนบทให้อยู่ในขอบเขตภูมิลักษณ์ของเมือง มีความต้องการจริงๆ ให้เลี่ยงโค้งจากสี่แยกถนน 90 องศาที่ซ้ำซาก แล้วรับโครงร่างที่เอื้ออำนวยต่อการดวลวงล้อ ขณะที่ยังคงสัมผัสถึงในเมืองที่ทำให้การปิดเมืองแข่งเป็นที่ต้องการของนักแข่ง

ดูเพิ่มเติม
>> 
รอมานาน .. เปิดตัว Mitsubishi Triton 2019 ไมเนอร์เชนจ์ใหม่ตัวจริง แกร่งกว่าที่คิด !!!
>> เช็คก่อนซื้อ...ฤกษ์ดีออกรถประจำเดือนธันวาคม 2561

VGP

เจาะสังเวียน เวียดนาม GP

โค้ง 1-2 มาจากโค้งแรกๆ ในสนาม Nurburgring (เนือร์บวร์กริง) ที่เยอรมัน ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์การแซง เมื่อปี 2006 ฆวน ปาโบล มอนโตย่า (McLaren-Mercedes) แซงจานการ์โล ฟีซีเกลล่า (Renault) โดยการเก็บลมต้านบนทางตรงยาวแล้วแซงในจุดเบรคตอนเข้าโค้ง 1

VGP

VGP

โค้ง 12-15 อาจเป็นที่คุ้นเคยเช่นกัน มีต้นแบบจากโค้ง 1 ที่โมนาโก (เรียกว่า Sainte-Dévote/แซงต์ เดโวต) ขึ้นเขาไปจนถึงโค้ง 3 นาม Massenet (มาสเนต์)

VGP

VGP

ตามมาด้วยชุดโค้ง 16-19 มีจุดเด่นในเรื่องการเลี้ยวรถไปมาอย่างรวดเร็วมาจากโค้ง Esses ที่ซูซูกะ (ญิปปง อยู่ที่โค้ง 2-6) ขณะที่สามโค้งสุดท้ายได้มาจากที่เซอปัง มาเลเซีย โค้งซ้าย-ขวาความเร็วสูงที่ตามด้วยช่องเข้าโค้งที่มีวงแคบ (โค้ง 12-14 ก่อนเข้า back straight) โค้งส่วนสุดท้าย ที่ประจบครบหนึ่งรอบนั้น มีโอกาสเกิดความผิดพลาดแล้วทำให้คันหลังดูดลมต้านเพื่อจู่โจมเมื่อเข้าสู่โค้งแรกอีกครั้ง

วิธีการดีไซน์สนาม

กระบวนการที่ยาวนานไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร Hanoi Feasibility Group ให้คำแนะนำถึงสถานที่ต่างๆ, ผังสนาม และข้อมูล CAD (Computer Aided Design) ให้ทีม F1’s Motorsports ซึ่งจัดการสร้างแบบจำลองสนามหลังจากนั้นเพื่อประมวลรอบสนาม ในขั้นตอนนี้มีการคาดการณ์ความเร็วรถ, แรง G และลักษณะกับการเดินสนามโดยรวมที่ต้องมีการประชุม ดีไซน์สุดท้ายจะเป็นบทสรุปของ F1’s Motorsports, บริษัทดีไซน์ Tilke, รัฐบาลกรุงฮานอย และโปรโมเตอร์ (Vingroup) โดยที่ FIA มีส่วนร่วมด้วย

​เจาะสังเวียน เวียดนาม GP

เจาะสังเวียน เวียดนาม GP

VGP
เดวิด คูลธาร์ด มาร่วมงานแถลงข่าวที่ป้อมปราการหลวง Thăng Long (แทง ลง)

จะเกิดอะไรขึ้นในการแข่งขัน

แน่นอนว่าแฟนๆ จะเจอแอ็คชั่นมากมาย ไม่ใช่วิ่งแบบม้วนเดียวจบ ส่วนคนขับจะถูกทดสอบทักษะจนถึงขีดสุด

ตัวสนามมีโค้งหลากหลายแบบจากแฮร์พิน/โค้งตัว U ความเร็วต่ำจนถึงโค้ง S/ชิเคนความเร็วสูง และทางตรงที่ยาวมากถึง 1.5 กม. คาดว่าจะตรวจจับความเร็วได้ที่ 335 กม./ชม. สองเซ็กเตอร์แรกเน้นไปที่โค้งช้ากับทางตรงยาว ขณะที่ช่วงท้ายของรอบสนามจะจัดเต็มที่โค้งต่างๆ ทางตรงยาวจะสร้างความท้าทายต่อทีมต่างๆ จากที่พวกเขาต้องตั้งระดับปีกให้สมดุลเพื่อให้เกิดความเร็วทางตรงสูงสุด ขณะที่สร้างดาวน์ฟอร์ซเพื่อจู่โจมกับตั้งรับตามชุดโค้งต่างๆ ที่น่าสนใจคือ พิทเลนยังกินพื้นที่โค้งสุดท้ายกับโค้งแรกด้วย ทำให้อาจลดเวลาในการเข้าพิท นำไปสู่การเลือกกลยุทธ์ที่สามารถหลอกล่อและใช้การได้มากขึ้น

VGP
Vũ Đức Đam (วู้ ดิ๊ก ดาม) รองนายกรัฐมนตรีของเวียดนาม

VGP
Nguyễn Đức Chung (เงี้ยน ดิ๊ก ชุง) ประธานคณะกรรมการราษฎรฮานอย

ก้าวต่อไป

ตัวแทนจำนวนมากของ F1 ได้มาดูสนามหลายครั้ง ขณะที่ชาร์ลี ไวติ้ง ผอ.คุมการแข่งขัน F1 จาก FIA ก็เคยมาแล้วเช่นกัน จากที่ทางองค์กรมีหน้าที่อนุมัติใบอนุญาตการปรับปรุงสนามเมื่อพอใจว่าดีไซน์สนามนั้นปลอดภัย และผ่านมาตรฐาน Grade 1 (ระดับสูงสุดในการจัดแข่ง F1) อีกไม่นานเดี๋ยวก็ถึงเดือนเมษายน 2020 แล้ว แต่ยังมีอีกหลายอย่างต้องจัดการ ที่จริงมันเพิ่งเริ่มต้น! ดีไซน์รายละเอียดต่างๆ ของสิ่งก่อสร้างกับสนามต้องได้รับการลงนาม พร้อมกับแผงก่อสร้างและการอนุมัติสร้างสถานที่ เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการก่อสร้างในพื้นที่

Source: Formula 1

ดูเพิ่มเติม
>> 
รวบรวมคอมเม้นท์ล่าสุดจาก “Mitsubishi Triton 2019”
>> เปรียบเทียบ Mitsubishi Triton 2019 กับรุ่นเก่า เปลี่ยนไปแค่ไหนนะ?

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่  
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้