วิเคราะห์ตลาดรถไทย โตดี 2 เดือนแรก แต่ส่งออกต้องจับตา

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 21 มี.ค 2562
แชร์ 0

ถือเป็นข้อมูลที่น่าสนใจไม่น้อยจากภาครัฐที่ออกมาเปิดเผยว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ในตลาดรถของประเทศไทยมีอัตราการเติบโตที่ดี เพราะอานิสงส์แต่ละค่ายเร่งนำผลิตภัณฑ์ใหม่สู่คอรถยนต์ แต่สำหรับตลาดส่งออกแล้ว ยังคงต้องจับตาปัจจัยเสี่ยง

วิเคราะห์ตลาดรถไทย 2018-2019 มีความเติบโตมากขึ้น

เป็นที่ทราบกันดีว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยนั้น หากมีทิศทางที่เป็นบวกหรือลบก็ย่อมส่งผลต่อ "ตลาดรถ" ในบ้านเราได้เช่นกัน ซึ่งหากมีปริมาณความต้องการรถยนต์ในตลาดรถบ้านเราที่สูงขึ้น ก็ย่อมส่งผลให้เกิดการแข่งขันในแง่อุตสาหกรรมการผลิต ประกอบรถยนต์ หรือกับกลุ่มผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับการจัดหาชิ้นส่วนยานยนต์ป้อนเข้าสู่กระบวนการอุตสาหกรรม

และล่าสุดจากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ. ก็ออกมาเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าภาพรวมของอุตสาหกรรมทุกชนิดในประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวมากขึ้น แม้จะเพียงเล็กน้อยคือคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ 0.18% ก็ตาม แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ เฉพาะกับอุสาหกรรมยานยนต์ที่เป็นอุตสาหกรรมของประเทศ มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งส่วนสำคัญคือผู้บริโภคมีความต้องการใช้รถยนต์ใหม่มากขึ้นนั่นเอง 

ตลาดรถในประเทศไทยยังคงสดใสต่อเนื่อง

ตลาดรถในประเทศไทยยังคงสดใสต่อเนื่อง

>> ดูและเลือก รถยนต์มือสอง ที่นี่

ซึ่ง นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) ระบุถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย ที่มีผลต่อตลาดรถ โดยพบว่า เมื่อเดือนมกราคม 2562 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมยานยนต์ขยายตัวได้ถึง 8.69% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลพวงการขยายตัวมาจากกลุ่มตลาดรถกระบะ หรือรถปิกอัพขนาด 1 ตัน รถยนต์นั่งขนาดกลาง หรือกลุ่มรถยนต์ซีดาน และกลุ่มรถยนต์นั่งขนาดเล็ก อันมาจากที่หลายค่ายผู้ผลิตแข่งขันกันเปิดตัวรถยนต์ใหม่เข้าสู่ตลาดรถมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการหารถยนต์ใหม่มาไว้ใช้งาน

อีกทั้ง ในอนาคตอาจจะมีการขยายตัวของตลาดรถมากยิ่งขึ้นสำหรับในประเทศไทย เพราะมีความคืบหน้าเป็นอย่างดีที่ค่ายผู้ผลิตเกือบทุกรายในอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย ตอบรับกับการพัฒนาและผลิตรถยนต์รุ่นใหม่เพื่อให้ได้มาตรฐานไอเสียยูโร 5 ภายในปี 2564 เพื่อให้ตลาดรถที่จะมีรถออกมาวางจำหน่ายเป็นรถยนต์ที่มีคุณภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เพราะเศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มเป็นบวก อานิสงส์ยอดขายของรถยนต์จึงโตตาม

เพราะเศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มเป็นบวก อานิสงส์ยอดขายของรถยนต์จึงโตตาม

"เรามีรถยนต์ตอบรับการเข้าร่วมดำเนินการนโยบายดังกล่าวรวมแล้ว 10 ยี่ห้อ โดยล่าสุดที่ตอบเข้าร่วมคือนิสสัน จากก่อนหน้านี้มี 9 ยี่ห้อ คือบีเอ็มดับบลิว จีเอ็ม อีซูซุ มาสด้า เมอร์เซเดสเบนซ์ มิตซูบิชิ เอ็มจี ซูซูกิและโตโยต้า ในการร่วมกันผลักดันมาตรฐานยูโร 5 สำหรับรถยนต์เพื่อออกสู่ตลาดรถในอนาคต" นายณัฐพล กล่าว

ดูเพิ่มเติม
>> 
จีนคือเหตุผลหลัก ปี 62 กำไรตลาดรถยนต์โลกส่อหดตัว
>> ยอดขายรถกระบะเดือน ม.ค. เติบโตสูงขึ้นกว่าปี 2561 มากถึง 20% !!

ย้อนกลับไปมองเรื่องยอดขายรถยนต์ในตลาดรถ จากข้อมูลของภาครัฐที่เปิดเผยออกมา ก็สอดคล้องกับภาคเอกชนเช่นกัน โดยเฉพาะในแง่การเติบโตของตลาด ซึ่งโตโยต้าเอง ที่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก็ออกมาระบุว่ามียอดขายที่เติบโตขึ้นในเดือนมกราคม 2562 คือมีจำนวนถึง 78,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 30,200 คัน รถปิกอัพ 47,800 คัน และรถยนต์ขนาด 1 ตัน ซึ่งก็รวมถึงกลุ่มรถยนต์พีพีวี มียอดขายที่ 39,600 คัน และที่น่าสนใจคือทุกกลุ่มประเภทมีอัตราที่เติบโตขึ้นทั้งหมด

มีถึง 10 ค่ายผู้ผลิตที่ตอบรับรัฐบาลในการผลิตรถยนต์มาตรฐานยูโร 5 และแน่นอนมันจะส่งผลต่อตลาดรถ

มีถึง 10 ค่ายผู้ผลิตที่ตอบรับรัฐบาลในการผลิตรถยนต์มาตรฐานยูโร 5 และแน่นอนมันจะส่งผลต่อตลาดรถ

ส่วนหนึ่งของยอดขายที่พุ่งกระฉูดขึ้นมาในเดือนมกราคม อย่างที่บอกเอาไว้ว่าเป็นเพราะผลิตภัณฑ์ใหม่ที่หลายค่าย ไม่เพียงแค่เฉพาะโตโยต้าที่เปิดตัวเท่านั้น แต่องค์ประกอบที่สำคัญคือหลายค่ายรถยนต์ต่างจัดกิจกรรมกระตุ้นการขายอย่างต่อเนื่อง และยังมีงานมหกรรมยานยนต์ในช่วงปลายปี 2561 ที่ส่งแรงบวกให้ยอดขายในตลาดรถเติบโตต่อเนื่อง

แต่ตลาดรถเพื่อส่งออกยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา

แต่ตลาดรถเพื่อส่งออกยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา

ตลาดรถเพื่อส่งออกยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา

ขณะที่ในส่วนยอดขายของเดือนกุมภาพันธ์ แม้จะยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนออกมา แต่ก็คาดว่ามีแนวโน้มที่ดีที่จะเป็นบวกเช่นกัน เนื่องจากภาพรวมของเศรษฐกิจที่ดีขึ้น มีความชัดเจนจากการเลือกตั้ง รวมถึงการบริโภคของภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ผลเหล่านี้จึงทำให้ตลาดรถยังคงคึกคักต่อไป

อย่างไรก็ตาม แม้ตลาดรถในประเทศจะมีทิศทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับตลาดส่งออกแล้ว อาจจะต้องติดตามทิศทางหลายอย่างที่จะเป็นปัจจัยเสี่ยง เพราะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่ชะลอตัว ทั้งผลสงครามการค้า การแยกตัวออกจากอียูของอังกฤษ หรือเบร็กซิท ทั้งหมดล้วนแต่มีผลต่อการส่งออกของตลาดรถจากไทยไปสู่ตลาดรถโลก

ท้ายสุด ก็น่าสนใจว่าทิศทางบวกของช้วงโค้งแรกของปี 2562 จะส่งผลให้ตลาดรถแรงต่อเนื่องไปตลอดทั้งปีหรือไม่ เป็นเรื่องที่วงการอุตสาหกรรมรถยนต์จะต้องติดตาม 

ดูเพิ่มเติม 
>> 
ยอดขายรถยนต์มกราคม 62 กระฉูด โตขึ้นกว่า 17%
>> สรุปยอดขาย Toyota เดือนมกราคมเพิ่มขึ้น 17.3% รวม 78,061 คัน