โอไอไฟเขียวเอกชนรายแรกของไทยลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท ตั้งสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า 3,000 หัวจ่าย กระจายในทุกภาคทั่วประเทศ พร้อมอนุมัติโครงการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า หนุนการเติบโต หลังค่ายรถยนต์ชั้นนำของโลกหันลงทุนในไทยป้อนความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลกว่า 1.2 ล้านคันภายในปี 2564
ถือเป็นข่าวด้านวงการรถยนต์รับปีใหม่ที่แสดงให้เห็นถึงความรุดหน้าอย่างมาก โดยล่าสุด นายโชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการส่งเสริมการลงทุน ได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนโครงการสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ของบริษัทพลังงานมหานคร จำกัด เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,092 ล้านบาท โดยเป็นโครงการลงทุนแห่งแรกในกิจการสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าของภาคเอกชนที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นการลงทุนเพื่อรองรับการขยายตัวของรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก หรือปลั๊กอินไฮบริด (Plug-In Hybrid Electric Vehicle: PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) ซึ่งปัจจุบันค่ายรถยนต์ได้ให้ความสนใจและวางแผนจะตั้งฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยตามแผนของการขับเคลื่อนด้านพลังงาน และส่งเสริมการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาล คาดว่าจะมีรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 1.2 ล้านคันภายในปี 2564
ดูเพิ่มเติม
สถานีชาร์จไฟฟ้า 3,000 หัวจ่ายจะอุบัติในปีนี้
ขณะที่ปัจจุบันมีหน่วยงานต่างๆ เช่น ขสมก. กฟน. กฟผ. และปตท. จัดให้มีสถานีอัดประจุไฟฟ้าบ้างแล้ว แต่เป็นเพียงโครงการนำร่องสำหรับรถโดยสารสาธารณะไฟฟ้า หรือรถไฟฟ้าในหน่วยงาน ดังนั้นการลงทุนในครั้งนี้ ทางบริษัทดังกล่าวมีแผนที่จะกระจายการจัดตั้งสาขาสถานีบริการทั่วประเทศ มากกว่า 3,000 หัวจ่าย ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด อาทิ เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น ระยอง ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ภูเก็ต สงขลา และสุราษฎร์ธานี เป็นต้น นอกจากจะเป็นการบริการและอำนวยความสะดวก สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ใช้รถ ยังเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญให้บริษัทรถยนต์ลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น
นายโชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ
สำหรับปัจจุบันมีค่ายรถยนต์ได้รับส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ แล้วหลายโครงการ อาทิ โครงการผลิตรถยนต์ไฮบริดของ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท นิสสันมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ส่วนกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก หรือ ปลั๊กอินไฮบริด ได้แก่ เมอร์เซเดสเบนซ์ บีเอ็มดับเบิลยู เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามสนับสนุนและผลักดันให้เแนวทางการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเป็นทางเลือกสำหรับยานพาหนะสำหรับในอนาคตของประเทศไทย และการติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าทั่วประเทศ 3,000 หัวจ่าย จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการเลือกหารถยนต์พลังงานไฟฟ้ามาใช้งานได้มากขึ้น
รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยจะเป็นอีกทางเลือกในอนาคตแน่ๆ
ดูเพิ่มเติม
รถยน์ที่จะสร้างความฮ็อทฮิตในตลาดไทยปี 2019 นี้ มีรุ่นไหนบ้าง
คาดตลาดรถปี 62 ยอดขายรถไฟฟ้าโตขึ้น! สวนทางตลาดรถยนต์ในประเทศคาดว่าอาจหดตัวลง 2-5%
ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี