บขส. หมอชิต 2 ย้ายกลับที่เก่า แต่สร้างใหม่เป็นคอมเพล็กซ์ยักษ์ 2.6 หมื่นล้าน

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 7 ต.ค 2563
แชร์ 0

บขส. ต้องย้ายกลับมาหมอชิตเดิม ซึ่งจะถูกพัฒนาให้เป็นคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่พื้นที่ใช้สอย 1.2 แสน ตร.ม. มีทั้งศูนย์การค้า ศูนย์ประชุม โรงแรม รวมอยู่ในที่เดียว

บขส หมอชิต 2

บขส. ต้องย้ายกลับไปที่เก่า !?!

บขส. ต้องย้ายกลับไปที่เก่า ซึ่งปัจจุบันคือ BTS หมอชิต (พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า BTS หมอชิต) แต่กลับไปครั้งนี้จะอลังการ ครบวงจร กว่าเดิม เพราะต้องไปรวมอยู่ในโครงการพัฒนาคอมเพล็กซ์ขนาดมหึมา ด้วยพื้นที่ใช้สอย 120,000 ตารางเมตร มีทั้งห้างสรรรพสินค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน รวมถึงอาคารจอดรถเพื่อรองรับผู้โดยสารเดินทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้า รถโดยสารสาธารณะ รถไฟ รวมถึง บขส. มูลค่าการลงทุนถึง 26,000 ล้านบาท

บขส หมอชิต 2
นายปัญญา ชูพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)

นายปัญญา ชูพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ในการพัฒนาโครงการสมาร์ต ซิตี้ (smart city) พื้นที่ย่านพหลโยธิน มีแนวทางการดำเนินงานชัดเจนว่า บขส. ต้องปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะพื้นที่บางซื่อ โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน และในการหารือทุกครั้งระบุชัดว่า บขส.จะต้องย้ายออกจากพื้นที่ปัจจุบัน (หมอชิต 2) เพื่อไปให้บริการในพื้นที่สถานีรถโดยสารแห่งใหม่

บขส หมอชิต 2

ที่ใหม่คือย้ายกลับไป "หมอชิตเก่า"

บขส หมอชิต 2
พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า BTS หมอชิตปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของสถานีขนส่งสายเหนือมาก่อน

อย่างไรก็ตาม “พื้นที่สถานีรถโดยสารใหม่” ของ บขส. ก็คือ “หมอชิตเก่า” ที่เดิม (ก่อนจะย้ายไปหมอชิต 2) ปัจจุบันเป็นพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า BTS หมอชิต ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นโครงการพัฒนาคอมเพล็กซ์ (Complex) ขนาดใหญ่ ของ บริษัท บางกอกเทอร์มินอล (BKT)  ซึ่งเช่าพื้นที่จากกรมธนารักษ์

บขส หมอชิต 2
ด้านหน้าติดถนนพหลโยธิน ฝั่งตรงข้ามคือสวนจตุจักร

โดยด้านหน้าโครงการที่ติดกับถนนพหลโยธินนั้น จะกลายเป็นอาคารคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ ประกอบด้วยศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน ศูนย์ประชุม ส่วนด้านหลังเป็นอาคารจอดรถ รวมถึงสถานีปล่อยรถของ บขส. ซึ่งจะรวมสำนักงาน บขส. อยู่ในพื้นที่เดียวกัน

บขส หมอชิต 2
ด้านหลัง Complex ติดกับวิภาวดีรังสิต ซอย 5 ทะลุถนนวิภาวดีรังสิต

สำหรับโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุบริเวณสถานีขนส่งหมอชิตเก่าให้กลายเป็นคอมเพล็กซ์ โดยบริษัท บางกอกเทอร์มินอล (BKT)  จะมีขนาดพื้นที่ใช้สอย 120,000 ตารางเมตร มูลค่าการลงทุนประมาณ 26,000 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี ซึ่งจะพร้อมรองรับสถานีขนส่งหมอชิต พร้อมบริการแบบครบวงจร ทั้งศูนย์การค้า โรงแรม รวมถึงที่จอดรถเพื่อรองรับผู้โดยสารในการเดินทางเชื่อมต่อเข้า-ออก กรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวก

บขส หมอชิต 2

บขส หมอชิต 2
บขส หมอชิต 2 ปัจจุบัน

ทั้งนี้ การพิจารณาย้ายสถานีขนส่งหมอชิต 2 ที่ผ่านมา บขส. และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้มีการเจรามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมเห็นว่า ทั้งสองหน่วยงานอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม น่าจะสามารถเจรจาหาข้อยุติเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สถานีรถโดยสารให้ชัดเจนได้

บขส หมอชิต 2

แต่คณะกรรมการและผู้บริหาร บขส. ต้องการใช้พื้นที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 ต่อไป  เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกับอู่รถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่อยู่ติดกัน  และสถานีรถตู้ถนนกำแพงเพชร (ฝั่งตรงข้ามสถานีหมอชิต 2) อีกทั้งยังใช้เวลาในการเดินทางด้วยรถ Shuttle Buss ไปยังสถานีกลางบางซื่อ (ศูนย์รวมของระบบรถไฟ, รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด) ไม่นานนัก

ซึ่งทั้งการรถไฟ และ บขส. ต้องการหาข้อสรุปในการใช้พื้นที่ให้ชัดเจน ทั้งสองหน่วยงาน รวมถึงกระทรวงคมนาคมจึงได้มอบหมายให้ สนข. เป็นผู้ทำแผนศึกษาเพื่อให้ได้ข้อยุติดังกล่าว

ลองค้นหา รถมือสอง ที่ถูกใจมีให้เลือกกว่าหมื่นคัน
อ่านเพิ่มเติม : นิสสัน ใจป้ำบริจาค Nissan Leaf จำนวน 5 คันให้สถาบันและการศึกษา

ATS
แท็ก บขส.