รถบรรทุกดัดแปลง - ภาพประกอบจาก
Chobrod
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า แผนระยะเร่งด่วนในการตรวจสอบรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ปัจจุบันจะมีการตั้งด่านตรวจชั่งน้ำหนัก หากพบกระทำผิดจริงทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะจับแล้วปรับตามกฎหมาย
ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า
รถบรรทุกที่กระทำความผิดบรรทุกน้ำหนักเกินของรถแต่ละชนิดเกินกว่ากฎหมายถึง 2 เท่า ย่างเช่น รถพ่วง 24 ล้อ กฎหมายกำหนดให้บรรทุกไม่เกิน 50.5 ตัน แต่ในทางปฏิบัติกลับบรรทุกน้ำหนักถึง 100 ตัน
ในปี 2560 กระทรวงคมนาคมจะเพิ่มความเข้มงวดตรวจสอบการบรรทุกน้ำหนักเกินและรถบรรทุกที่มีการดัดแปลงสภาพ เพราะว่าในการขออนุญาตต่อทะเบียน ทางกรมการขนส่งทางบกจะมีสเป็กว่า
รถบรรทุกหรือรถสิบล้อ รูปร่างเป็นอย่างไร มีความสูง ความกว้าง ความยาวเท่าไร แต่ปัจจุบันจะมีรถดัดแปลงเพื่อเพิ่มการบรรทุกน้ำหนักให้มากขึ้นกว่าเดิม เช่น ทำที่คล่อมตัวแคปช่วงคนขับ ต่อท้ายยาว ต่อความสูงและขยายข้าง เพราะฉะนั้น ทางกระทรวงคมนาคมจะเข้าไปควบคุมดูแลรถบรรทุกดัดแปลงให้มากขึ้น
“หากไม่มีรถแปลงสภาพ เราเชื่อว่า จำนวนรถบรรทุกน้ำหนักเกินก็จะน้อยลง โดยจะเข้มงวดตรวจสอบรถแปลงสภาพทุกชนิด ทั้งรถพ่วง
รถกระบะ รถ 10 ล้อ แต่การแก้ไขปัญหาในระยะยาวต้องวางพื้นฐานของอัตราค่าบรรทุก เช่น รถบรรทุกอ้อย ที่ต้องแบกน้ำหนัก เนื่องจากค่าขนส่งเป็นภาระของชาวไร่ เมื่อค่าขนสงน้อย ก็ต้องแบกน้ำหนัก จึงจะต้องมีการหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรมว่า ควรมีการขยายฐานการขนส่ง ลดภาระต้นทุนค่าขนส่งให้ชาวไร่อ้อย โดยกำหนดให้สอดคล้องกับอัตราการบรรทุกตามกฎหมาย”
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการตรวจพบรถบรรทุกดัดแปลง จะลงโทษโดยการพักใช้ใบอนุญาต และให้ไปแก้ไข ก่อนนำมาตรวจสภาพรถใหม่ ถ้าถูกต้องก็จะอนุญาตให้บรรทุกต่อได้ โดยสาเหตุสำคัญที่ต้องเข้มงวดกับเรื่องนี้มาก เพราะหากเกิดอุบัติเหตุเป็นอันตรายและกระทบคนที่ใช้รถใช้ถนน
นอกจากนี้ ในปี 2560 กระทรวงคมนาคมจะเน้นเรื่องการจัดทำป้ายบอก เพื่อช่วยให้คนขับรถได้อย่างปลอดภัย และมีมาตรการช่วยให้คนขับรถด้วยความปลอดภัย โดยตั้งด่านเตือนประชาชนในจุดที่จะต้องเฝ้าระวัง เช่น ก่อนขึ้นเขา ลงเขา เป็นต้น
“งบซ่อมบำรุงถนนถูกตัดลงมาเรื่อยๆ เพราะต้องการถนนตัดใหม่ แต่ถ้าเราช่วยกันรักษามาตรฐานก็จะช่วยลดงบ ที่ผ่านมามีคนเสนอให้ใช้ช่องรถบรรทุกทำเป็นคอนกรีตเพื่อรับน้ำหนัก แต่ทำไม่ได้ เพราะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ขณะนี้จึงมีการเสริมความแข็งแรงของถนนบริเวณสี่แยกแทน”