Mercedes-Benz ประเทศไทยทำพิธีเปิดโรงงานประกอบแบตเตอรีเพื่อใช้กับ PHEV สำหรับขายในไทยด้วยงบมากกว่าสามพันล้านบาท
พิธีเปิดโรงงานแบตเตอรีของ Mercedes-Benz ประเทศไทย cr. Bangkok Post
Mercedes-Benz เปิดโรงงานประกอบแบตเตอรีเพื่อใช้กับรถปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) ที่โรงงาน จ.สมุทรปราการ ด้วยงบลงทุน 3.9 พันล้านบาท โดยพิธีเปิดนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา โดยมีผู้บริหารระดับสูงจาก Mercedes ทั้งจาก Daimler AG, Mercedes-Benz Manufacturing Thailand และบริษัท Mercedes-Benz ประเทศไทยร่วมจัดพิธีเปิดร่วมกัน และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม คุณอุตตม สาวนายน กับเอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย คุณปีเตอร์ พรือเกิล เป็นสักขีพยาน
Mercedes เป็นค่ายแรกที่ผลิตแบตเตอรีภายในประเทศไทย ซึงเป็นประเทศที่หกท่ี่มีโรงงานของ Daimler ถัดจากสามแห่งในเยอรมันเอง และที่สหรัฐอเมริกากับจีน ขณะที่ไทยนั้นเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ผลิตแบตเตอรีรถพลังไฟฟ้า
คุณอันเดรส เล็ตเนอร์ หัวหน้าฝ่ายบริหารของ Mercedes-Benz Manufacturing Thailand กล่าวว่างบลงทุน 100 ล้านยูโร เป็นการลงทุนร่วมกันระหว่าง Mercedes และบริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด ซึ่ง TAAP นั้นเป็นโรงงานผลิตรถ Mercedes 9 รุ่น - C, E, S, GLE, GLA, CLA, GLC, GLC Coupe และ C-Class Coupe - พร้อมๆ กับที่จะผลิตรถ PHEV โดยโรงงานนั้นตั้งอยู่ในจ.สมุทรปราการ
TAAP ได้ตั้งบริษัทใหม่สำหรับโรงงานแบตเตอรีแห่งใหม่ในนามบริษัท ธนบุรี เอเนอร์จี สตอเรจ แมนูแฟคเชอริง จำกัด เมื่อเดือนตุลาคม 2017 โดยตัวบริษัทนั้นได้ยื่นขอสิทธิบัตรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อใช้ประโยชน์จากนโยบายรถพลังไฟฟ้าของรัฐบาล ตัวโรงงานใหม่นั้นจะเริ่มเปิดใช้การต้นปี 2019 ใช้ผลิตแบตเตอรีลิเธียม-ไอออน บนพื้นที่ 30 ไร่ ห่างจากโรงงานรถ 600 เมตร
Mercedes C350e PHEV
คุณเล็ตเนอร์ยังไม่เปิดเผยเรื่องความสามารถในการผลิตของโรงงาน ซึ่งจะทำให้การจ้างงานเพิ่มอีก 300 ตำแหน่ง "ทุกโรงงานประกอบแบตเตอรีในประเทศจะใช้กับรถ PHEV ในตลาดประเทศนั้นๆ และเราเสริมความสามารถในการผลิตได้เมื่อความต้องการในประเทศสูงขึ้น"
>> สนใจซื้อรถ Mercedes-Benz มือสองได้ที่นี่
คุณไมเคิล กรูว์ ประธานและหัวหน้าฝ่ายบริหารของ Mercedes-Benz ประเทศไทยกล่าวว่า รถ PHEV ทำยอดขายได้คิดเป็น 40% ของทั้งหมด 14,484 คันในปี 2017 Mercedes สัญญาแล้วว่าจะให้เทคโนโลยีรถที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า และด้วยเป้าหมายที่ยึดมั่นในตลาด PHEV Mercedes จะได้ประโยชน์จากเทรนด์อนาคตในอุตสาหกรรมยานยนต์ "การลงทุนในปัจจุบันสะท้อนถึงความมั่นใจของเราในตลาดรถยนต์นั่งโดยสารในประเทศไทย โดยเฉพาะรถ PHEV" คุณกรูว์กล่าวต่อว่าการลงทุนบางส่วนจะขยายภายในส่วนการผลิตรถของ TAAP โดยโฟกัสไปที่การพัฒนารถ PHEV เป็นหลัก
คุณวีระชัย เชาว์ชาญกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการของ TAAP กล่าวว่าการขยายความสามารถนั้นตั้งใจจะสร้างการเติบโตของยอดขายรถ Mercedes เฉพาะปี 2017 TAAP ผลิตรถให้ Mercedes 12,000 คัน ตัวโรงงานจ้างพนักงานมากกว่า 1,000 คน Mercedes มีความสัมพันธ์กับ TAAP มายาวนานตั้งแต่ปี 1960 ทั้งสองเริ่มประกอบรถ Mercedes เพื่อการพาณิชย์ก่อน แล้วตามด้วยรถยนต์นั่งโดยสารในปี 1979
เมื่อกลางเดือนมกราคม Mercedes-Benz ประเทศไทยประกาศว่าได้ยื่นขอสิทธิบัตรจาก BOI เพื่อผลิตรถ PHEV และ BEV (รถพลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี) โดยเส้นตายการยื่นคำขอหมดไปตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม ส่วน Mercedes เองยังไม่เผยรายละเอียดเพิ่มเติมใดๆ บอกแค่ว่าจะเปิดตัวรถใหม่ตามนโยบาย EV ของรัฐบาลปีนี้ Mercedes เริ่มผลิตรถ PHEV ในไทยตั้งแต่ต้นปี 2016 ขณะที่ฐานตัวถังรถ HEV ถูกพับเก็บไปแล้ว