ไม้แข็ง กม.จราจร ค่าปรับไม่จ่ายอาจเจอ “หมายจับ”

ตลาดรถยนต์ในประเทศ | 21 พ.ย 2561
แชร์ 0

หากว่ากันในเรื่องของกฎหมายจราจรสำหรับประเทศไทยแล้ว กฎหมายหนึ่งที่น่าจะชะงักและเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถบังคับใช้ได้อย่างเห็นผล นั่นคือ “เมาแล้วขับ”

เพราะมันที่ทำให้ทุกหัวระแหงของนักดื่มที่ต้องขับรถ ขยาดกับความเข้มงวดและค่าปรับสูงสุดคือ 2 หมื่นบาททีเดียว แต่แน่นอนว่าก็ยังมีอีกหลากหลายกฎหมายที่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ผลนักในแง่ของการ บังคับใช้อย่างจริงจัง 

ค่าปรับใบสั่ง อาจเพิกเฉยไม่ได้

ค่าปรับใบสั่ง อาจเพิกเฉยไม่ได้

เอาง่ายๆ กับเรื่อง ค่าปรับตามใบสั่ง ทุกวันนี้คนใช้รถใช้ถนนมองใบสั่งที่แปะหราไว้ที่รถยนต์ หรือถูกส่งมาที่บ้านก็ตามเป็นเพียงแค่ “กระดาษหนึ่งใบ” เท่านั้น เพราะตราบใดที่คำขู่ว่า หากไม่ไปชำระค่าปรับ จะไม่ได้ต่อทะเบียนภาษีรถยนต์ประจำปี ยังไม่ถูกบังคับใช้ได้จริง หรือเป็นระบบที่ครอบคลุมมีการเชื่อมโยงระหว่าง ตำรวจ และ กรมการขนส่งทางบก ผู้ขับขี่ที่ผิดกฎจราจรก็ไม่ต้งการจะไปจ่ายค่าปรับ 

ใบสั่ง ต่อไปอาจไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

ใบสั่ง ต่อไปอาจไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

พฤติกรรมของผู้ขับขี่เช่นนี้ ยืนยันได้จาก พล.ต.ท.ไกรบุญ ทรวดทรง ผู้บัญชาการสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ ในฐานะประธานคณะทำงานติดตามผลบูรณาการแก้ไขปัญหาจราจรกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ที่ระบุสถิติการออกใบสั่งจราจรผ่านระบบออนไลน์ในปี 2561 ถึงปัจจุบัน มีการออกใบสั่งไปแล้วรวม 13,515,036 ราย ในจำนวนนี้มีผู้กระทำผิดมาชำระค่าปรับ 2,338,968 ราย ค้างชำระ 11,176,068 ราย คิดเป็นค้างชำระสูงถึง 83% 

จำนวนนี้ จำแนกออกตามประเภทใบสั่ง 2 รูปแบบที่ส่งถึงมือผู้กระทำความผิด ก็จะเห็นได้ชัดขึ้น คือ 1.แบบสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดและบันทึกในระบบ 2,311,023 ราย มีผู้กระทำผิดมาชำระค่าปรับ 973,262 ราย ค้างชำระค่าปรับ 1,337,761 ราย คิดเป็น 58% 2.แบบส่งทางไปรษณีย์ 11,204,013 ราย มีผู้มาชำระค่าปรับ 1,365,706 ราย ค้างชำระ 9,838,307 ราย คิดเป็น 88%

ดูเพิ่มเติม
>> 
อัตราค่าปรับหากขับรถโดยไม่มีใบขับขี่
>> กฏหมายใหม่ มาตรการตัดแต้มใบขับขี่ มีสิทธิเพิกถอนใบอนุญาต

พล.ต.ท.ไกรบุญ ทรวดทรง

พล.ต.ท.ไกรบุญ ทรวดทรง

“เห็นได้ชัดว่ามีผู้กระทำความผิดกฎหมายจราจรแต่ไม่มาชำระค่าปรับจำนวนมาก เพราะอาจไม่เกรงกลัวต่อต่อกฎหมาย แต่ขณะเดียวกันระบบเชื่อมโยงข้อมูลของตำรวจและกรมการขนส่งทางบกก็ยังไม่พร้อม จึงไม่สามารถใช้มาตรการระงับการต่อภาษีรถยนต์ หรืออายัดทะเบียนรถที่ไม่ชำระค่าปรับได้ แต่เรากำลังเร่งแก้ไข และเชื่อมโยงข้อมูลให้ได้เร็วที่สุด” พล.ต.ท.ไกรบุญ สะท้อนถึงปัญหาเอาไว้ 

แต่เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้น เงินค่าปรับตำรวจก็ไม่ได้ บังคับใช้กฎหมายไม่ได้เต็มที่เพราะติดขัดระหว่างการเชื่อมโยงระบบระหว่างหน่วยงาน จึงอาจนำไปสู่การ “เพิกเฉย” ของประชาชนที่กระทำผิดกฎหมายจราจร มาตรการล่าสุดจากตำรวจกองบังคับการตำรวจจราจร หรือ บก.จร. ที่รับผิดชอบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 

ปริมาณรถมหาศาล แต่ขับขี่ผิดกฎหมาย ก็ง่ายจะเจอใบสั่ง

ปริมาณรถมหาศาล แต่ขับขี่ผิดกฎหมาย ก็ง่ายจะเจอใบสั่ง 

พ.ต.อ.นิธิธร จินตกานนท์ รักษาราชการแทนผู้บังคับการตำรวจจราจร ที่อาจจะใช้มาตรการ “เข้มข้น” กับผู้ที่เพิกเฉยไม่ชำระค่าปรับ หรือชำระค่าปรับล่าช้า ถึงขนาดที่ว่าจะออก “หมายเรียก” ให้มาชำระค่าปรับ และหากเพิกเฉยต่อไปไม่ยี่หระ ก็จะนำไปสู่การพิจารณา “ออกหมายจับ” ในข้อหาชำระค่าปรับล่าช้า ซึ่งอาจทำให้ผู้กระทำผิดต้องเพิ่มเงินค่าปรับกระทำความผิดในการชำระล่าช้าสูงสุดนอกเหนือไปจากค่าปรับความผิดกฎหมายจราจรอีกถึง 1,000 บาท

ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การบังคับใช้กฎหมายของตำรวจในส่วนของการชำระค่าปรับใบสั่ง จะทำให้เห็นผลและเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ก็เพื่อวินัย และความปลอดภัยบนท้องถนนในเมืองไทย เพราะหากผู้ขับขี่ละเลยความผิดเล็กน้อย และการกวดขันอาจไม่มีไม้แข็งมาจัดการ ก็อาจทำให้กลายเป็นนิสัยฝังตัวของผู้ขับขี่ และจะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อความปลอดภัยของการใช้รถใช้ถนนร่วมกันได้ในอนาคต

ดูเพิ่มเติม 
>> 
“ประเทศกูมี...” สาวสุดงง ! รถเสียขึ้นสไลด์ฯ ไหงใบสั่งมาถึงบ้าน ?
>> ไฟไอติมคืออะไร? ติดไประวัง ‘ใบสั่ง’ อาจมาถึงบ้าน

Chobrodขอฝากความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ไว้เพียงเท่านี้เเละคราวหน้าเรื่องอะไรติดตามไปพร้อมกันเลยนะครับ

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่  
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี