บขส. ต้องย้ายกลับมาหมอชิตเดิม ซึ่งจะถูกพัฒนาให้เป็นคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่พื้นที่ใช้สอย 1.2 แสน ตร.ม. มีทั้งศูนย์การค้า ศูนย์ประชุม โรงแรม รวมอยู่ในที่เดียว
บขส. ต้องย้ายกลับไปที่เก่า ซึ่งปัจจุบันคือ BTS หมอชิต (พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า BTS หมอชิต) แต่กลับไปครั้งนี้จะอลังการ ครบวงจร กว่าเดิม เพราะต้องไปรวมอยู่ในโครงการพัฒนาคอมเพล็กซ์ขนาดมหึมา ด้วยพื้นที่ใช้สอย 120,000 ตารางเมตร มีทั้งห้างสรรรพสินค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน รวมถึงอาคารจอดรถเพื่อรองรับผู้โดยสารเดินทางเชื่อมต่อรถไฟฟ้า รถโดยสารสาธารณะ รถไฟ รวมถึง บขส. มูลค่าการลงทุนถึง 26,000 ล้านบาท
นายปัญญา ชูพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
นายปัญญา ชูพานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ในการพัฒนาโครงการสมาร์ต ซิตี้ (smart city) พื้นที่ย่านพหลโยธิน มีแนวทางการดำเนินงานชัดเจนว่า บขส. ต้องปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะพื้นที่บางซื่อ โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน และในการหารือทุกครั้งระบุชัดว่า บขส.จะต้องย้ายออกจากพื้นที่ปัจจุบัน (หมอชิต 2) เพื่อไปให้บริการในพื้นที่สถานีรถโดยสารแห่งใหม่
พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า BTS หมอชิตปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของสถานีขนส่งสายเหนือมาก่อน
อย่างไรก็ตาม “พื้นที่สถานีรถโดยสารใหม่” ของ บขส. ก็คือ “หมอชิตเก่า” ที่เดิม (ก่อนจะย้ายไปหมอชิต 2) ปัจจุบันเป็นพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า BTS หมอชิต ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นโครงการพัฒนาคอมเพล็กซ์ (Complex) ขนาดใหญ่ ของ บริษัท บางกอกเทอร์มินอล (BKT) ซึ่งเช่าพื้นที่จากกรมธนารักษ์
ด้านหน้าติดถนนพหลโยธิน ฝั่งตรงข้ามคือสวนจตุจักร
โดยด้านหน้าโครงการที่ติดกับถนนพหลโยธินนั้น จะกลายเป็นอาคารคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ ประกอบด้วยศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน ศูนย์ประชุม ส่วนด้านหลังเป็นอาคารจอดรถ รวมถึงสถานีปล่อยรถของ บขส. ซึ่งจะรวมสำนักงาน บขส. อยู่ในพื้นที่เดียวกัน
ด้านหลัง Complex ติดกับวิภาวดีรังสิต ซอย 5 ทะลุถนนวิภาวดีรังสิต
สำหรับโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุบริเวณสถานีขนส่งหมอชิตเก่าให้กลายเป็นคอมเพล็กซ์ โดยบริษัท บางกอกเทอร์มินอล (BKT) จะมีขนาดพื้นที่ใช้สอย 120,000 ตารางเมตร มูลค่าการลงทุนประมาณ 26,000 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี ซึ่งจะพร้อมรองรับสถานีขนส่งหมอชิต พร้อมบริการแบบครบวงจร ทั้งศูนย์การค้า โรงแรม รวมถึงที่จอดรถเพื่อรองรับผู้โดยสารในการเดินทางเชื่อมต่อเข้า-ออก กรุงเทพฯ ได้อย่างสะดวก
บขส หมอชิต 2 ปัจจุบัน
ทั้งนี้ การพิจารณาย้ายสถานีขนส่งหมอชิต 2 ที่ผ่านมา บขส. และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้มีการเจรามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมเห็นว่า ทั้งสองหน่วยงานอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม น่าจะสามารถเจรจาหาข้อยุติเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่สถานีรถโดยสารให้ชัดเจนได้
แต่คณะกรรมการและผู้บริหาร บขส. ต้องการใช้พื้นที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 ต่อไป เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกับอู่รถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่อยู่ติดกัน และสถานีรถตู้ถนนกำแพงเพชร (ฝั่งตรงข้ามสถานีหมอชิต 2) อีกทั้งยังใช้เวลาในการเดินทางด้วยรถ Shuttle Buss ไปยังสถานีกลางบางซื่อ (ศูนย์รวมของระบบรถไฟ, รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด) ไม่นานนัก
ซึ่งทั้งการรถไฟ และ บขส. ต้องการหาข้อสรุปในการใช้พื้นที่ให้ชัดเจน ทั้งสองหน่วยงาน รวมถึงกระทรวงคมนาคมจึงได้มอบหมายให้ สนข. เป็นผู้ทำแผนศึกษาเพื่อให้ได้ข้อยุติดังกล่าว
ลองค้นหา รถมือสอง ที่ถูกใจมีให้เลือกกว่าหมื่นคัน
อ่านเพิ่มเติม : นิสสัน ใจป้ำบริจาค Nissan Leaf จำนวน 5 คันให้สถาบันและการศึกษา