ก่อนหน้านี้ก็มีหนังสือของทางขนส่งทางบกออกมา โดยในหนังสือระบุว่า ไม่จ่ายค่าปรับใบสั่ง ตร.จราจร สามารถต่อภาษีรถได้ ซึ่งก็ทำให้ รอง ผบก.จร. ก็ออกมาตัดพ้อว่าหนังสือฉบับนี้ทำให้วินัยจราจรไม่มีผลบังคับใช้ โดยล่าสุดได้มีการยื่นเรื่องให้ สตช. ออกกฎหมาย มาตรา 155 โทษจำปรับผู้ใช้รถใช้ถนนไม่รักษากฎหมาย หรือผู้ที่เบี้ยวค่าปรับนั่นเอง
ก่อนหน้านี้ก็มีหนังสือของทางขนส่งทางบกออกมา โดยในหนังสือระบุว่า ไม่จ่ายค่าปรับใบสั่ง ตร.จราจร สามารถต่อภาษีรถได้” ซึ่งก็ทำให้ รอง ผบก.จร. ก็ออกมาตัดพ้อว่าหนังสือฉบับนี้ทำให้วินัยจราจรไม่มีผลบังคับใช้ โดยล่าสุดได้มีการยื่นเรื่องให้ สตช. ออกกฎหมาย มาตรา 155 โทษจำปรับผู้ใช้รถใช้ถนนไม่รักษากฎหมาย หรือผู้ที่เบี้ยวค่าปรับนั่นเอง
บก.จร. ขอให้สตช. ออกกฎหมายให้เด็ดขาดในเรื่องของการเบี้ยวค่าปรับ
โดยการที่ผู้ไม่จ่ายค่าปรับใบสั่ง ตร.จราจร สามารถต่อภาษีรถได้ก็ไม่ใช่เรื่องผิด โดยก่อนหน้านี้เคยพูดกันปากต่อปากว่า ถ้าไม่จ่ายค่าปรับจะถูกระงับการต่อภาษีรถยนต์ แต่ในความจริงแล้วทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะเป็นการขัดต่อพ.ร.บ.จราจรฯ และปปช.ส่วนใหญ่ก็จะทราบแล้วเวลาที่ได้ใบสั่ง ก็ขยำทิ้ง แล้วไม่ไปจ่าย เพราะไม่ได้มีผลอะไร ทำให้มีผู้ทำผิดกฎจราจรเป็นจำนวนมาก เพราะกฎหมายจราจรเหมือนจะบังคับใช้ไม่ได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยขณะนี้ก็มีใบสั่งที่ค้างชำระมากกว่า 1 ล้านใบ
โดยกฤษฎีกาได้ ให้ข้อแนะนำว่าการขอแก้กฎหมาย พ.ร.บ.จราจรฯ ให้ทำในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตำรวจเท่านั้น ดังนั้นทางตำรวจจึงได้กลับมาดูในรายละเอียดอีกครั้งและเตรียมเสนอใหม่อีกรอบ ในเรื่องการขอเพิ่มอัตราโทษปรับ
ในส่วนที่ 1 หากผู้กระทำผิดได้รับใบสั่งแล้ว ไม่มาชำระค่าปรับจะให้มีโทษปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท ซึ่งจากเดิมปรับไม่เกิน 1,000บาท และปรับขั้นต่ำ 200 บาท
ส่วนที่ 2 เมื่อครบ 60 วัน ยังไม่มาชำระค่าปรับ จะเพิ่มโทษเป็นปรับตั้งแต่ 1,000-5,000 บาท
และส่วนที่ 3 หากครบ 180 วัน ยังไม่มาชำระค่าปรับจะจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับตั้งแต่ 2,000-10,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งในข้อหานี้สามารถนำขึ้นศาลแขวง เพื่อให้ศาลพิจารณาโทษจำคุกได้
โดยก่อนหน้านี้เคยยื่นขอให้แก้ไขในเรื่องอายัดภาษี ไม่ต่อทะเบียนรถ หากไม่มาชำระค่าปรับ แต่ก็ถูกตีตกไป 2 รอบแล้ว จึงไม่ขอเรื่องเดิมอีกแต่ครั้งนี้จึงขอให้พิจารณาเพิ่มโทษ ทั้งนี้เพื่อความมีระเบียบวินัยทางจราจรมากขึ้น