สวัสดีค่ะ วันนี้ทาง Unseencar จะมานำเสนอความรู้เกี่ยวกับ Nitrous Oxide Systems หรือเป็นที่รู้จักกันในวงการรถซิ่งว่า “NOS” จัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องยนต์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์สำหรับขาซิ่งที่จะเพิ่มแรงม้าได้ดีเลยทีเดียว
Nitrous oxide หรือ laughing gas (ไนตรัสออกไซด์ หรือ แก๊สหัวเราะ) คือสารประกอบทางเคมีที่มีสูตรทางเคมีว่า N2O ที่อุณหภูมิห้อง จะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เป็นแก๊สที่ไม่สามารมติดไฟได้ โดย N2O มีออกซิเจน มากกว่าอากาศ ซึ่งทำจะให้เกิดการสันดาบ จุดระเบิดรุนแรงกว่าอากาศปรกติ โดยเมื่อฉีดเข้าห้องเผาไหม้ ก็จะแยกตัวออกเป็น ออกซิเจน 33% และ ไนโตรเจน 66% (ออกซิเจน 1 ส่วน ไนโตรเจน 2 ส่วน) โดย อากาศปรกติที่เราหายใจ มี ออกซิเจน 21% ไนโตเจน 78% และ อื่นๆ 1 % (โอโซน, คาร์บอนไดออกไซค์)
NOS ได้ถูกนำมาใช้กับเครื่องยนต์ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือประมาณ 70 ปีที่แล้วได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องยนต์ของเครื่องบิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่เครื่องยนต์ หลังจากนั้นประมาณ 30 ปีให้หลัง ก็ได้มีวิศวกรคิดค้นระบบ NOS ขึ้นมาเพื่อใช้กับรถยนต์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มกำลังให้กับเครื่องยนต์ แล้วก็ประสบความสำเร็จอย่างมากในวงการรถแข่ง และในที่สุดก็ได้รับความนิยมไปทั่วโลกในฐานะของ “แก๊สพิษสูตรผีบอก”
ซึ่งในการติดตั้งจะมีด้วยกันอยู่ 2 แบบ คือ
Dry systems คือ ระบบแห้ง เป็นการฉีด NOS โดยตรงเข้าไปในท่อร่วมไอดี และทันทีที่ ECU ทราบว่า กำลังมีการฉีด NOS เข้าสู่ห้องเผาไหม้ ECU ก็จะทำการสั่งให้หัวฉีดจ่ายน้ำมันเพิ่มเพื่อให้ได้อัตราส่วน A/F ที่เหมาะสมที่สุด แต่ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำมันที่เพิ่มเข้าไปจะขึ้นอยู่กับขนาดของหัวฉีด ถ้าหากเราฉีด NOS เข้าไปแล้ว แต่หัวฉีดน้ำมันมีขนาดเล็กจนไม่สามารถเพิ่มปริมาณน้ำมันได้อย่างเพียงพอ จะส่งผลให้ NOS ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและสร้างแรงม้าได้น้อยกว่าที่ควร ดังนั้น การติดตั้งระบบ NOS แบบ “Dry System” จึงต้องมีการพิจารณาขนาดของหัวฉีดว่าสามารถป้อนน้ำมันได้เพียงพอหรือไม่
Wet systems คือ ระบบเปียก เป็นการฉีด NOS และน้ำมันเข้าไปพร้อมๆกัน การผสมกันการฉีดลักษณะนี้จะมีด้วยกัน 3 แบบ คือการฉีดหน้าลิ้นปีกผีเสื้อ (เหมือนแบบ DRY), แบบหัวฉีดแยกหน้าวาล์วแต่ละวาล์ว แบบนี้จะเหมือนกับหัวฉีดน้ำมันไฟฟ้าแต่ไม่มีรางทำให้ฉีดได้แม่นยำมากที่สุดแต่การติดตั้งก็ยุ่งยากมากที่สุดเช่นกัน, และเป็นแบบรางฉีดการฉีดจะลงหน้าวาล์วโดยตรงเช่นเดียวกันแบบหัวประจำสูบแต่ใช้รางฉีดแทน ประสิทธิภาพจะไม่เท่าแบบหัวประจำสูบเพราะแรงดันอาจไม่เท่ากันทั้งราง แต่การติดตั้งถือว่าสะดวกกว่ามากเลยทีเดียว ดังนั้น ระบบนี้จึงไม่ต้องไม่ยุ่งกับ ECU มากเท่าไร แต่ในการติดตั้ง NOS แบบ Wet System จะมีการใช้อุปกรณ์หลายชิ้นมากกว่าและมีความซับซ้อนมากกว่าแบบ Dry System ส่งผลให้มีราคาแพงกว่าอยู่พอสมควร
ในการยิงก๊าซ NOS นั้นจะเป็นถังขนาด 10 ปอนด์ จะมีการสิ้นเปลืองอยู่ที่ 3 – 5 นาทีต่อเมื่อถังหมดแล้วสามารถเติมก๊าซ NOS ได้ บนถังมีวาวล์นิรภัยในการปล่อยก๊าซส่วนเกินหรือเกิดการกระแทก มีเกจ์วัดแรงดันในตัวเพื่อบอกปริมาณก๊าซ ท่อก๊าซต่อผ่านมายังโซลินอยล์สวิทช์ เพื่อคอยรับคำสั่งการเปิด – ปิดสวิทช์ภายในรถ ในการแข่งขันโซลินอยล์สวิทช์มักรับคำสั่งมาจากกล่องคอมพิวเตอร์์เพื่อให้การยิงก๊าซเป็นไปอย่างอัตโนมัติ หัวฉีดก๊าซมีให้เลือกว่า จะใช้กี่ซีซี และเพิ่มได้กี่แรงม้าการยิงก๊าซต้องจำกัดเวลาในการยิง มิฉะนั้นความร้อนในห้องเครื่องอาจเพิ่มสูงจนเสียหายได้เหมาะในการแข่งขันระยะสั้น
ข้อดีของ NOS ก็คือ สามารถเพิ่มอัตราเร่งให้กับเครื่องยนต์และเพิ่มแรง สามารถเพิ่มอัตราเร่งช่วยในการเร่งแซง หรือผู้ที่ตกแต่งรถในสไตล์ Drag ก็สามารถลดเวลาในการแข่งขันได้ครับ ข้อควรระวัง คือ NOS ไม่สามารถยิงติดต่อกันได้นานครับ ความร้อนในห้องเผาไหม้อาจจะสูงจำได้ ทำให้เครื่องพังได้ เครื่องยนต์ก็จะมีการสึกหรอไวขึ้น เครื่องยนต์ที่จะติดตั้ง NOS ควรมีการโมดิฟาย ลูกสูบ ข้อเหวี่ยงและชิ้นส่วนต่างๆ ให้ทนทานมากขึ้นครับ และไม่เหมาะกับรถบ้านธรรมดาทั่วนะครับ เพราะเป็นก๊าซที่อันตรายมากถ้าเกิดการรั่วค่ะ