รถติดเครื่องยนต์เทอร์โบ ดูแลต่างจากเครื่องยนต์ธรรมดาอื่นๆ อย่างไร

ประสบการณ์ใช้รถ | 15 เม.ย 2562
แชร์ 3

รถยนต์แต่ละประเภทก็มีการดูแลแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องยนต์เทอร์โบ แล้วสำหรับการดูแลเครื่องยนต์ที่ติดตั้งระบบเทอร์โบชาร์จเจอร์จะมีการดูแลที่แตกต่างกับเครื่องยนต์อื่นๆ อย่างไร และจะดูแลอย่างไร ให้เครื่องยนต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ วันนี้ Chobrod มีคำตอบมาบอกเพื่อนๆ ค่ะ

วิธีการดูแลเครื่องยนต์เทอร์โบมีอะไรบ้างที่ต้องรู้

วิธีการดูแลเครื่องยนต์เทอร์โบมีอะไรบ้างที่ต้องรู้

สำหรับรถยนต์ที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันนี้ มีการติดตั้งเครื่องยนต์หลากหลายรูปแบบ โดยผู้ผลิตก็ได้คิดค้นพัฒนาระบบของเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ซึ่งหนึ่งในเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพมากประเภทหนึ่งก็คือ เครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จเจอร์ ให้สมรรถนะที่เหนือกว่าด้วยระบบอัดอากาศที่ทำให้เครื่องยนต์เผาไหม้ได้อย่างหมดจด ถือเป็นการลดดมลภาวะได้อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งระบบอัดอากาศ หรือที่เรียกกันว่าเทอร์โบชาร์จเจอร์นั้นติดตั้งทั้งในเครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซล แต่เครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จเจอร์ก็มีความละเอียดอ่อน และแตกต่างในการดูแลมากกว่าเครื่องยนต์ชนิดอื่น วันนี้ Chobrod เลยพามาทำความรู้จักกับการดูแลเครื่องยนต์เทอร์โบกันค่ะ

เครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จเจอร์เป็นเครื่องยนต์ที่มีสมรรถนะมากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซลทั่วไป

เครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จเจอร์เป็นเครื่องยนต์ที่มีสมรรถนะมากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ดีเซลทั่วไป

เรื่องควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อรถติดตั้งเครื่องยนต์เทอร์โบฯ

อย่างหนึ่งที่เราควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อรถที่ติดตั้งเครื่องยนต์เทอร์โบฯ ก็คือเครื่องยนต์เทอร์โบฯ ที่ติดตั้งมาจากโรงงานได้มีการปรับปรุงชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์เพื่อให้สามารถรองรับการทำงานของเทอร์โบชาร์จเจอร์ได้ ทั้งในส่วนของลูกสูบ และฝาสูบ โดยจะต้องทำให้มีความแข็งแรงมากกว่าเดิม รวมถึงส่วนของโครงสร้างรูปแบบท่อไอดี การทนความร้อนของท่อไอเสีย ทั้งหมดนี้จะต้องทำงานได้ดีกว่าเครื่องยนต์ธรรมดา โดยเฉพาะระบบระบายความร้อนของน้ำ และน้ำมันเครื่องที่จะได้รับการออกแบบให้ดีกว่าเครื่องยนต์ปกติเพื่อให้เครื่องยนต์มีความทนทาน แต่ก็ต้องได้รับการเอาใจใส่ และดูแลรักษามากกว่าเครื่องยนต์ปกติเช่นเดียวกัน

นอกเหนือจากเทอร์โบชาร์จเจอร์แล้ว ในเครื่องยนต์เทอร์โบฯ ยังมีอีกกลไกหนึ่งที่สำคัญก็คือ “เทอร์โบไทเมอร์” (Turbo timer) ซึ่งจะเป็นตัวถ่วงเวลาการดับของเครื่องยนต์ ซึ่งเทอร์โบไทเมอร์ได้รับการติดตั้งไว้ที่สวิทช์กุญแจบนขั้วสายไฟสำหรับใช้ดับเครื่องยนต์ โดยเทอร์โบไทเมอร์ก็จะทำงานต่อหลังจากดับเครื่องยนต์ และจะดับตามเวลาที่ตั้งค่าไว้ เหตุผลที่ต้องมีเทอร์โบไทเมอร์ก็คือ เนื่องจากในการทำงานของเครื่องยนต์จะมีน้ำมันสูบฉีดไปหล่อลื่นส่วนต่างๆ อย่างาทั่วถึง เพื่อระบายความร้อน และลดการสึกหรอของชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์

วิธีการดูแลเครื่องยนต์เทอร์โบ

1. ไม่ควรเร่งเครื่องยนต์รอบสูงในทันที

ไม่ควรเร่งเครื่องในรอบสูงทันทีที่สตาร์ทรถ

ไม่ควรเร่งเครื่องในรอบสูงทันทีที่สตาร์ทรถ

การเร่งรอบเครื่องยนต์สูงในทันทีที่สตาร์ทรถย่อมไม่ใช่การกระที่ถูกต้องนัก เนื่องจากการสตาร์ทเครื่องยนต์ในช่วง 1-2 นาทีแรกนั้น ยังไม่ใช่เวลาที่มากพอสำหรับการอัดฉีดให้น้ำมันเครื่องไปเลี้ยงที่แกนเทอร์โบ และเนื่องจากน้ำมันเครื่องจะยังไม่ขึ้นไปเลี้ยงที่แกนเทอร์โบ แล้วเราเร่งเครื่องยนต์รอบสูงในทันทีจะทำให้เกิดการสึกหรอสูงมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลจากการเสียดสีกลไกภายในด้วยความเร็วสูง จนทำให้เกิดความร้อนที่สูงมากนั่นเอง

2. ต้องดูแลไส้กรองอากาศให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ

หากไมม่ดูแลไส้กรองอากาศให้สะอาด จะทำให้เกิดควันขาวที่ก่อมลพิษได้

หากไมม่ดูแลไส้กรองอากาศให้สะอาด จะทำให้เกิดควันขาวที่ก่อมลพิษได้​

เนื่องจากไส้กรองอากาศมีความสำคัญอย่างมากต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์เทอร์โบ ดังนั้นจึงควรดูแลไส้กรองให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ ไม่ขาด ไม่รั่วจนทำให้อากาศที่ไม่ผ่านไส้กรองสามารถแทรกเข้ามาได้ อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องระมัดระวังก็คือ ฝุ่นละออง ที่เป็นศัตรูตัวร้ายของเทอร์โบ และเครื่องยนต์ เพราะหากกรองอากาศเริ่มอุดตันจะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้นโดยไม่จำเป็น อีกทั้งยังทำให้สมรรถนะขอเครื่องยนต์ลดต่ำลง และจะทำให้ตัวเทอร์โบ เสียหายเร็วขึ้น เนื่องจากจะทำให้เกิดสุญญากาศที่ด้านไอดี โอกาสที่น้ำมันหล่อลื่นจะถูกดูดให้เล็ดลอดออกมามีมาก ซึ่งจะทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ รวมทั้งเกิดควันขาวขึ้นอีกด้วย ในส่วนของการซ่อมแซมถือว่ามีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงควรเป่าทำความสะอาดกรองอากาศอยู่เสมอ โดยจะต้องศึกษาคู่มือประจำรถด้วยว่าแนะนำอย่างไร เพราะรถบางรุ่นใช้กรองอากาศแบบเปียกส่งผลให้มีลักษณะการทำความสะอาดที่ต่างกัน

3. อย่าทนใช้น้ำมันเครื่อง และกรองน้ำมันที่เสื่อมสภาพ

อย่าใช้น้ำมันเครื่อง และกรองน้ำมันเครื่องที่เสื่อมสภาพ

อย่าใช้น้ำมันเครื่อง และกรองน้ำมันเครื่องที่เสื่อมสภาพ

น้ำมันเครื่อง และกรองน้ำมันเครื่องที่เสื่อมสภาพ รวมถึงมีสิ่งสกปรกที่ปนอยู่ในน้ำมันเครื่องจะมีผลต่อการใช้น้ำมันเครื่องที่ระบุให้ใช้กับเครื่องยนต์เทอร์โบ ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติในการทนความร้อนได้ดีกว่าน้ำมันเครื่องปกติ โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง หรือน้ำมันหล่อลื่น จะต้องศึกษาจากคู่มือประจำรถ หรือฉลากน้ำมันเครื่องให้ถี่ถ้วน เพราะเนื่องจากในคู่มือประจำรถหรือบนฉลากจะมีระยะเวลากำหนดควบคู่ไปด้วยกัน เช่น เปลี่ยนน้ำมันเครื่องที่ระยะ 10,000 กิโลเมตร หรือทุก 6 เดือน เพราะถ้าอ้างอิงระยะเพียงอย่างเดียวอาจจะส่งผลเสียหายตามมาเนื่องจากบางคนอาจต้องใช้เวลาถึง 1 ปีกว่าจะครบหมื่น แต่บางคนแค่ไม่กี่เดือนก็ครบระยะทางแล้ว ดังนั้นต้องยึดถือคู่มือประจำรถหรือฉลากเป็นสำคัญ

4. ต้องคูลดาวน์เครื่องยนต์ก่อนดับ

ต้องคูลดาวน์ก่อนดับเครื่อง ซึ่งการใช้เทอร์โบไทเมอร์อาจช่วยได้ไม่มากนัก ควรวิ่งรอบต่ำสักระยะก่อนดับเครื่อง

ต้องคูลดาวน์ก่อนดับเครื่อง ซึ่งการใช้เทอร์โบไทเมอร์อาจช่วยได้ไม่มากนัก ควรวิ่งรอบต่ำสักระยะก่อนดับเครื่อง

ภายหลังจากการใช้งานรถยนต์ในรอบความเร็วที่สูงมาก ควรมีการคูลดาวน์เครื่องยนต์ก่อนถึงที่หมายด้วยการให้เครื่องเดินเบาประมาณ 2-5 นาที และไม่ควรเร่งเครื่องก่อนดับเครื่อง ซึ่งหลายครั้งที่เราก็มักจะเข้าใจการใช้งานของเทอร์โบไทเมอร์ผิดไป เนื่องจากเข้าใจว่ามีเทอร์โบไทเมอร์ที่ช่วยหน่วงเวลาก่อนเครื่องดับได้เป็นอย่างดีแล้ว จะชับรถด้วยรอบสูงเท่าใดก็ได้ แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิดค่ะ เนื่องจากระยะเวลา 1-3 นาทีที่มักตั้งเวลาหน่วงของเทอร์โบไทเมอร์ไม่เพียงพอต่อการลดอุณหภูมิของเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยควรลดความเร็วและรอบเครื่องยนต์ก่อนถึงที่หมาย อย่างเช่นอีก 4 กิโลเมตรจะถึงจุดหมายก็ควรลดความเร็วลงมาที่ประมาณ 80-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือวิ่งในรอบเครื่องต่ำประมาณ 2,000 รอบต่อนาที เนื่องจากการวิ่งด้วยความเร็วต่ำในระยะทางที่มากพอจะช่วยปรับอุณหภูมิของชิ้นส่วนต่างๆ ให้อยู่ในระดับปกติได้มากที่สุด

5. ตรวจเช็คระบบหล่อเย็นเป็นประจำ

ตรวจสอบระบบหล่อเยนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องการเครื่องยนต์ที่ร้อนจนเกินไป

ตรวจสอบระบบหล่อเยนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องการเครื่องยนต์ที่ร้อนจนเกินไป

ระบบหล่อเย็นมีความสำคัญไม่น้อยกว่าน้ำมันเครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่เดินทางไกลเป็นประจำ หรือคนที่ชอบใช้ความเร็วใช้รอบเครื่องยนต์สูงๆ จะต้องหมั่นดูเรื่องน้ำยาหล่อเย็นให้ดี นอกจากตรวจเช็คน้ำหล่อเย็นในถังพักแล้ว ต้องตรวจในหม้อน้ำควบคู่กันด้วย มีบางคนที่เช็คแต่ถังพักอย่างเดียว ไม่ได้เช็คในหม้อน้ำว่าน้ำหล่อเย็นลดลงไปมาก ปัญหาที่ตามมา คือ ทำให้ความร้อนขึ้นสูงกว่าปกติ หรือประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนลดต่ำลง เนื่องจากน้ำในระบบน้อยหรือมีคราบสนิมปนเปื้อน เมื่อตรวจเช็คแล้วพบว่าน้ำหล่อเย็นมีสนิมปนอยู่ ควรทำการเปลี่ยนถ่าย และเติมสารควบคุมอุณหภูมิและสนิม เพื่อให้ระบบระบายความร้อนทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

6. หมั่นตรวจเช็คการรั่วซึม

หมั่นตรวจเช็คการรั่วซึมของระบบต่างๆ ภายในห้องเครื่องอยู่เสมอ

หมั่นตรวจเช็คการรั่วซึมของระบบต่างๆ ภายในห้องเครื่องอยู่เสมอ

โดยจะต้องตรวจเช็คทั้งการรั่วซึมของระบบน้ำมันหล่อลื่น และน้ำหล่อเย็น โดยจุดที่ต้องดูเป็นพิเศษ คือ บริเวณที่มองเห็นยาก เช่น ใต้เครื่องยนต์อาจจะใช้จังหวะที่เข้าเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ซึ่งมีจุดต้องระวัง คือ ท่อทางน้ำมันหล่อลื่นไหลกลับสู่ถัง และประเก็นหน้าแปลนของท่อน้ำมันหล่อลื่นมักรั่วซึมได้ง่าย รวมถึงอยู่ในจุดที่มองเห็นยาก เมื่อตรวจพบต้องรีบซ่อมแซมโดยเร็ว

7. อย่าปรับแต่งเวสเกสต์

ห้ามดัดแปลงเวสต์เกสต์ หรือประตูไอเสียโดยเด็ดขาด

ห้ามดัดแปลงเวสต์เกสต์ หรือประตูไอเสียโดยเด็ดขาด

เวสเกสต์ หรือประตูไอเสีย มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมแรงดันด้านไอดีไม่ให้สูงเกินกำหนด หลายคนเข้าใจผิดว่าการดัดขาเวสเกสต์ จะทำให้ประตูไอเสียเปิดช้าขึ้น เท่ากับเป็นการเพิ่มอัตราการบูสต์ไปในตัว เพราะการดัดขาเวสต์เกทจะทำให้แรงดันในท่อไอดีผิดเพี้ยนไปในทางที่แย่ลง ที่เจอได้ง่าย และเป็นประจำ คือ อัตราการบูสต์ต่ำลงสามารถตรวจเช็คได้ด้วยเครื่องมือเฉพาะทาง และการปรับบูสต์เพิ่มในเครื่องรุ่นใหม่ๆ ที่มี ECU ควบคุมนั้น ไม่ใช่ผลดี เพราะจะทำให้เครื่องยนต์ตัดเข้าสู่ระบบสำรอง คือ ควบคุมให้ใช้รอบเครื่องยนต์ต่ำกว่าปกติและจะจ่ายน้ำมันหนาเพื่อเลี้ยงเครื่องยนต์ไม่ให้อุณหภูมิสูงจนเกิดอันตราย ถ้าคิดจะโมดิฟายด์เครื่องยนต์เทอร์โบ ที่มี ECU อย่างได้ผล การทำกล่องหรือแต่งกล่องนั้น ดีที่สุดเพราะสามารถปลดล็อคเงื่อนไขต่างๆ ได้ สามารถเพิ่มสมรรถนะได้ 20-30 % โดยไม่ต้องทำอย่างอื่น แต่ต้องแลกมาด้วยงบที่ค่อนข้างสูง

8. การซ่อมแซมเทอร์โบ

ซ่อมแซมเทอร์โบได้ด้วยการถ่วงบาลานซ์

ซ่อมแซมเทอร์โบได้ด้วยการถ่วงบาลานซ์

เมื่อถึงอายุการใช้งานที่ต้องยกออกมาโอเวอร์ฮอล เนื่องจากเทอร์โบ มีความร้อนสะสมสูงและมีรอบการหมุนนับ 100,000 รอบต่อนาที แม้แต่ศูนย์บริการยังไม่มีเครื่องมือหรือช่างที่ซ่อมได้เฉพาะทาง จะบอกว่าถ้าเสียหรือรั่วก็ต้องเปลี่ยนทั้งลูก แต่ในบ้านเรามีบริษัทที่รับซ่อมเทอร์โบ เป็นเรื่องเป็นราวสามารถรีบิลท์ใหม่ได้ ในงบประมาณต่ำกว่าครึ่งของเทอร์โบใหม่ เปลี่ยนไส้ในใหม่เกือบหมดเหลือเพียงเปลือกนอกเท่ากับได้เทอร์โบใหม่เลยทีเดียว ปัญหาที่พบในร้านที่เครื่องมือไม่ครบหรือประสบการณ์น้อย คือ เรื่องการประกอบกังหันเทอร์ไบน์ เข้ากับแกนไอเสีย ต้องทำการถ่วงบาลานซ์ทุกครั้ง

ดูเพิ่มเติม
รถหมดประกัน หรือใกล้หมดประกัน เริ่มเช็คตรงไหนก่อนดี
จริงหรือไม่ที่ว่า Honda Accord 2.0 G8 MC มีปัญหาเรื่องเกียร์และเบรค

เพียงแค่ดูแลเครื่องยนต์เทอร์โบฯ แบบนี้ รถของเพื่อนๆ ก็จะใช้งานได้อย่างยาวนานมากยิ่งขึ้น รวมถึงไม่ทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์เทอร์โบฯ ลดน้อยถอยลงอีกด้วย ฉะนั้นอย่าลืมดูแลเครื่องยนต์ และรถยนต์ของเพื่อนๆ กันนะคะ เพื่อให้รถยนต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพยาวนาน และปลอดภัยนะคะ สำหรับบทความดีๆ เรื่องรถยนต์สามารถติดตามได้ที่ Chobrod.com นะคะ

ติดตามข่าวสารรถยนต์ เชิญที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้