เรื่องรถกับความร้อนบนถนนเมืองไทยแถบเป็นของคู่กัน ที่ผู้ใช้รถจะต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษถึงเรื่องความร้อนในเครื่องยนต์ ระบบหล่อเย็นภายในเครื่อง จนเป็นที่มาของ “น้ำยาหล่อเย็น” ที่เห็นเป็นน้ำสีเขียวสะท้อนแสงถูกเติมลงไปในหม้อน้ำ ความจริงแล้วนั้นน้ำยาหล่อเย็นมันจำเป็นแค่ไหนกัน Chobrod ขออาสาพาไปดูกันเลย
น้ำยาหล่อเย็นจำเป็นแค่ไหน?
ทำความรู้จักกับหน้าที่ของน้ำยาหล่อเย็น น้ำยาหม้อน้ำหรืออีกชื่อที่นิยมเรียกกันว่า “Coolant" ซึ่งความจริงหน้าที่ของน้ำยาหล่อเย็นนั้นไม่ได้ช่วยในเรื่องของการระบายความร้อนสักเท่าไร แต่จะอาศัยความเป็นส่วนผสมของสารเคมีที่มีจุดเดือดสูงขึ้น ช่วยทำให้น้ำในระบบหล่อเย็นมีจุดเดือดสูงขึ้น อีกทั้งส่วนผสมน้ำยาหล่อเย็นนั้นยังสามารถช่วยป้องกันสนิมให้กับตัวหม้อน้ำได้และระบบหล่อเย็นได้อีกด้วย
ส่วนผสมของสารเคมีที่มีจุดเดือดสูงขึ้นในน้ำยา Coolant ที่ให้ความร้อนของเครื่องยนต์ลดลง
>> สาเหตุน้ำมันเครื่องลดลงเร็วกว่าที่เคย อย่านิ่งนอนใจเครื่องยนต์อาจพังได้
>> เติมน้ำมันเครื่องมากเกินไปหรือน้อยเกินไปมีผลต่อรถยนต์อย่างไร
Ethylene Glycol คือส่วนผสมสำคัญของน้ำยาหล่อเย็น ซึ่งคุณสมบัติของมันคือมีจุดเดือดสูงกว่าน้ำมากถึงสองเท่าอยู่ที่ 197.3 °C จนถูกนำไปใช้ในเพื่อระบายความร้อนให้กับเครื่องบินเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาถูกทำให้เจือจางลงมาอยู่ใน Antifreeze & Coolant เพื่อสำหรับใช้กับรถยนต์ซึ่งรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่ออกจากโรงงานต่างมีส่วนผสมของน้ำยาตัวนี้อยู่ถึง 50% และด้วยสัดส่วน 30-70 Antifreeze & Coolant 30%, น้ำ 70% จะช่วยทำให้จุดเดือดของน้ำในระบบหล่อเย็นสูงขึ้นไปอยู่ที่ 120 °C เลยทีเดียว อีกทั่งด้วยคุณสมบัติเด่นที่จำเป็นยิ่งขึ้นสำหรับรถยนต์ที่ผ่านการใช้งานมา ในเรื่องของการป้องกันการกัดกร่อนเกิดสนิมของหม้อน้ำได้ทั้งระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหม้อน้ำที่เป็นเหล็กจะเห็นได้ถึงคุณประโยชน์อนันต์ของน้ำยาหล่อเย็นนี้ รวมไปถึงชิ้นส่วนต่างๆ ที่เป็นโลหะไม่ว่าจะเป็นอลูมิเนียม ทองแดง ทองเหลืองหรือกระทั่งตะกั่วบะกรี น้ำยาหล่อเย็นก็สามารถช่วยป้องกันได้ ซึ่งเมื่อเทียบกับการใช้เพียงแค่น้ำเปล่าธรรมดา จะสุ่มเสี่ยงได้มากที่จะเกิดตะกรันจนกัดกร่อนชิ้นส่วนที่เป็นโลหะ ก่อให้เกิดการอุดตันของหม้อน้ำ และระบบหล่อเย็นทั้งระบบ ต้นเหตุของปัญหาใหญ่ที่เรียกว่า “เครื่องฮีท”
รถที่ผ่านการใช้งานมานาน อาจเกิดตะกรันจากสนิมตามส่วนต่างๆ ของระบบหล่อเย็นได้
หน้าที่หลักๆขอน้ำยาหล่อเย็นหรือ Coolnt ได้แก่
1.เพิ่มจุดเดือดน้ำ จะช่วยชะลอการระเหยของน้ำในระบบหล่อเย็นเวลาเครื่องยนต์ร้อนจัด เพราะเวลาน้ำเดือดน้ำจะระเหยกลายเป็นไอที่ 100 °C แต่ถ้าผสมน้ำยาหล่อเย็นลงไปก็จะระเหยที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็น 105-115 °C ตามยี่ห้อ และเกรดคุณภาพความเข้มข้นของน้ำยาหล่อเย็นแต่ละตัว
2.ป้องกันการเกิดสนิม ตะกอน เมื่อมีสนิมก็ผุ กร่อน มีตะกอน ช่วยป้องกันสาเหตุของการอุดตันในรังผึ้งของหม้อน้ำ และระบบหล่อเย็นของเครื่องยนต์
3.ช่วยหล่อลื่นปั๊มน้ำ วาล์วน้ำ และซีลปั๊มน้ำของระบบหล่อเย็นในเครื่องยนต์
น้ำยาหล่อเย็นมีให้เลือกซื้อ 2 ประเภท ได้แก่ แบบผสมมาให้พร้อม เปิดแล้วเติมใส่หม้อน้ำได้เลย กับอีกแบบคือแบบเข้มข้นที่ผู้ใช้ต้องนำมาผสมกับน้ำในระบบหล่อเย็นเองตามสัดส่วนที่ผู้ผลิตได้กำหนดไว้ ซึ่งในแบบผสมเองนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ส่วนผสมอยู่ในอัตราส่วนแบบเป๊ะๆ ไม่เช่นนั้นแล้วในระยะยาวอาจส่งผลเสียต่อชิ้นส่วนการทำงานของระบบหล่อเย็นได้
เราจะพาไปดูขั้นตอนเปลี่ยนถ่ายน้ำในระบบหล่อเย็น แล้วเติมน้ำยาหล่อเย็นไปแทนทำเองได้ง่ายตามวีดีโอข้างล่างนี้เลย
จากวีดีโอจะเห็นว่าควรมีการเติม-ถ่าย น้ำออกจากระบบ 2-3 ครั้งเพื่อเป็นการชะล้างคราบตะกรัน ต่างๆ ที่ติดอยู่ในระบบหล่อเย็นออกมาให้หมด และเติมน้ำยาหล่อเย็นเข้าไปตามส่วนสัดส่วนที่ระบุไว้ข้างขวด และต้องไม่ลืมที่เปลี่ยนถ่ายน้ำที่อยู่ในหม้อพักน้ำใหม่เข้าไปด้วย เพียงแค่นี้ระบบหล่อเย็นของรถคุณก็จะทำงานได้ดีขึ้นจากประสิทธิภาพของน้ำยาหล่อเย็น ช่วยให้เครื่องยนต์ร้อนช้าลง หมดกังวลเรื่องความร้อนที่อาจกวนใจคุณเมื่อยามขับขี่
น่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับใครที่กำลังเจอปัญหาในเรื่องความร้อนของเครื่องยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถที่เริ่มมีอายุการงานมากๆ รถที่มีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลเรื่องระดับความร้อนของเครื่องยนต์ และการทำงานของระบบหล่อเย็นเป็นพิเศษ การเลือกที่จะเติมน้ำยาหล่อเย็นถือเป็นอีกหนึ่งทางป้องกันปัญหาความร้อนของเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี ลองนำไปปรับใช้กับรถของคุณดูแล้วอย่าลืมสังเกตเข็มความร้อนที่หน้าปัดรถของคุณด้วยว่าดีขึ้นหรือไม่ อย่างไร
ดูเพิ่มเติม
>> ระดับน้ำยาหล่อเย็นก็สามารถตรวจสอบเองได้ไม่ต้องง้อช่าง
>> “น้ำยาหล่อเย็น” กับ “น้ำยาหม้อน้ำ” มันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ???