ต่อภาษีมอเตอร์ไซค์ 2566 มีขั้นตอนอย่างไร ราคาเท่าไหร่?

ประสบการณ์ใช้รถ | 15 มิ.ย 2566
แชร์ 219

การต่อภาษีรถจักรยานยนต์เป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ แล้วต่อภาษีมอเตอร์ไซค์ 2566 ทำอย่างไร ต้องใช้เอกสารอะไร จ่ายเงินเท่าไหร่ ทำได้ที่ไหนบ้าง และมีขั้นตอนอย่างไร?

การต่อภาษีมอเตอร์ไซค์ หรือต่อทะเบียนรถจักรยานยนต์เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องทำควบคู่ไปกับการทำ พ.ร.บ. ตามข้อบังคับทางกฎหมาย ซึ่งวันนี้เรารวบรวมการต่อภาษีมอเตอร์ไซค์ 2566 ทุกขั้นตอนมาไว้ให้คุณแล้ว! 

ต่อภาษีมอเตอร์ไซค์ 2566 ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ใช้อะไรบ้าง ?

  • เล่มทะเบียน หรือสำเนาเล่มทะเบียน
  • ใบตรวจสภาพรถ (สำหรับรถที่มีอายุเกิน 5 ปี)
  • ใบพ.ร.บ.

สำหรับการต่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์เฉพาะรถอายุมากกว่า 5 ปี ที่สำนักงานขนส่งทางบก คุณสามารถจัดการได้ด้วยตนเอง หรือจะใช้บริการ ตรอ. เอกชนมาจัดการเรื่องให้ก็ได้ ปัจจุบัน เราสามารถต่อภาษีประจำปีได้ผ่านช่องทางออนไลน์อีกด้วย

ต่อ พรบ รถจักรยานยนต์
ตัวอย่างใบรับรองการตรวจสภาพรถ (ขอบคุณ : สถานตรวจสภาพรถพันท้ายนรสิงห์)

ขั้นตอนการต่อภาษีรถมอเตอร์ไซค์

ขั้นตอนการต่อภาษีรถมอเตอร์ไซค์สามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนหลัก ดังนี้:

  1. หาข้อมูลและเอกสารที่จำเป็น: คุณต้องมีข้อมูลส่วนบุคคลของคุณและข้อมูลของรถมอเตอร์ไซค์ เช่น ใบขับขี่ ทะเบียนรถ รายละเอียดเกี่ยวกับรถ เป็นต้น
  2. เตรียมเอกสารที่จำเป็น: ตรวจสอบว่าคุณมีเอกสารที่จำเป็นทั้งหมด เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาใบขับขี่ สำเนาทะเบียนรถ ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถมือสอง) เป็นต้น
  3. ส่งเอกสารและค่าธรรมเนียม: นำเอกสารทั้งหมดที่คุณเตรียมไว้ไปยื่นที่สำนักงานภาษีท้องถิ่น ในขั้นตอนนี้คุณจะต้องชำระค่าธรรมเนียมต่อภาษีรถมอเตอร์ไซค์ตามอัตราที่กำหนดโดยท้องถิ่น
  4. ตรวจสอบข้อมูลและรับใบอนุญาต: หลังจากยื่นเอกสารและชำระเงินเสร็จสิ้น คุณต้องรอการตรวจสอบและอนุมัติจากสำนักงานภาษีท้องถิ่น หากเอกสารของคุณถูกต้องและค่าธรรมเนียมถูกชำระครบถ้วน คุณจะได้รับใบอนุญาตต่อภาษีรถมอเตอร์ไซค์
  5. ติดตามการต่อภาษี: หลังจากได้รับใบอนุญาตต่อภาษีรถมอเตอร์ไซค์แล้ว คุณต้องติดตามการต่อภาษีในอนาคต แนะนำให้ติดต่อสำนักงานภาษีท้องถิ่นเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการต่อภาษีในปีต่อไป

=> สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ที่มีอายุเกิน 5 ปี ต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพก่อน ส่วนรถที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ และสามารถต่อภาษีที่ขนส่งหรือต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ออนไลน์ได้เลย 

=> เมื่อได้ใบรับรองการตรวจสภาพรถมาแล้ว สามารถนำยื่นควบคู่ไปกับเล่มทะเบียน และใบพ.ร.บ. เพื่อดำเนินการต่อภาษีที่กรมการขนส่งทางบกได้เลย 

ทั้งนี้ หากพ.ร.บ. หมดอายุ สามารถต่อพ.ร.บ. ได้ที่บริษัทกลางฯ ทั่วประเทศ, ตัวแทนประกันภัย, เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11 หรือธนาคารเพื่อการเกษตร (ธ.ก.ส.) ทุกสาขา

อย่าลืมตรวจสอบกฎหมายและขั้นตอนการต่อภาษีรถมอเตอร์ไซค์ที่สำนักงานภาษีท้องถิ่นหรือเว็บไซต์ทางราชการที่เกี่ยวข้อง นี่เป็นแนวทางทั่วไปเท่านั้นและอาจมีการแตกต่างขึ้นอยู่กับพื้นที่และกฎหมายท้องถิ่นในที่ทำการของคุณ

>> ต่อภาษีรถยนต์ 7-11 และต่อทะเบียนรถง่ายๆ

ต่อพรบรถจักรยานยนต์กี่บาท 2565
ตัวแทนประกันภัย

ต่อภาษี ต่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ ราคาเท่าไหร่ ?

ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ ราคา 2566 ต่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ราคาเท่าไหร่ ?

  • ค่าตรวจสภาพรถ 60 บาท (ที่ต.ร.อ.) / 15 บาท (อาคารตรวจภาพรถภายในขนส่ง)
  • ค่าต่อภาษี 100 บาท/คัน
  • ค่า พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์

สำหรับค่า พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ นั้น จะมีค่าใช้จ่ายตามความจุรถ  ดังนี้

รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล

  • ไม่เกิน 75 ซี.ซี. 161.57 บาท
  • เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. 323.14 บาท
  • เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. 430.14 บาท
  • เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป 645.21 บาท
  • รถจักรยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 323.14 บาท

​รถจักรยานยนต์รับจ้าง​​

  • ไม่เกิน 75 ซี.ซี. ปีละ 161.57 บาท
  • เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. ปีละ 376.64 บาท
  • เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. ปีละ 430.14 บาท
  • เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป ปีละ 645.21 บาท
  • รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ปีละ 323.14 บาท

มอเตอร์ไซค์ให้เช่า

  • ไม่เกิน 75 ซี.ซี. ปีละ 161.57 บาท
  • เกิน 75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. ปีละ 376.64 บาท
  • เกิน 125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. ปีละ 430.14 บาท
  • เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป ปีละ 645.21 บาท
  • รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ปีละ 323.14 บาท

พรบ.มอเตอร์ไซค์ ราคา
ต่อพรบรถจักรยานยนต์กี่บาท

ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ที่ไหนดี?

นอกจากการต่อภาษีรถจักรยานยนต์ที่กรมการขนส่งทางบกแล้ว รถที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี และไม่ต้องตรวจสภาพรถ สามารถต่อภาษีในช่องทางอื่น ๆ ได้เหมือนรถยนต์ ดังนี้

  • สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ (ได้ทุกจังหวัด ไม่ว่ารถของคุณจะจดทะเบียนอยู่ที่ไหนก็ตาม)
  • ที่ทำการไปรษณีย์
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • ร้านค้าที่มีสัญลักษณ์เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ เปิดให้บริการทุกวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 07.30-15.30 น.
  • ห้างสรรพสินค้า โครงการ "ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)"
  • ห้างบิ๊กซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เปิดให้บริการ เวลา 09.00-17.00 น. จำนวน 14 สาขา ได้แก่ ลาดพร้าว, รามอินทรา, รัชดาภิเษก, บางปะกอก, เพชรเกษม, สุขาภิบาล3, อ่อนนุช, แจ้งวัฒนะ, สำโรง, บางบอน, สุวินทวงศ์, สมุทรปราการ, บางใหญ่ และบางนา
  • ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขารามอินทรา เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น.
  • ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น. 
  • ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 11.00-18.00 น.
  • ศูนย์บริการร่วมคมนาคม ณ เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เปิดให้บริการวันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30-15.00 น.
  • ต่อภาษีรถยนต์ผ่านช่องทางออนไลน์ ที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/ 

สำหรับรถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี ต้องยื่นดำเนินการที่กรมการขนส่งทางบกเท่านั้น เพราะเจ้าหน้าที่จะเป็นคนเช็กใบตรวจสภาพรถด้วยตนเอง โดยสามารถตรวจสภาพรถมอเตอร์ไซค์ด้วยการใช้บริการร้าน ตรอ. (ตรวจสภาพรถเอกชน) ซึ่งจะมีค่าบริการตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท

พรบ.มอเตอร์ไซค์ ราคา
สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ

ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์

วิธีต่อทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ ออนไลน์ สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

  • เข้าสู่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf 
  • หากเคยลงทะเบียนแล้วให้เข้าสู่ระบบโดยกรอกรหัสประจำตัวประชาชนและรหัสผ่าน

เข้าสู่ระบบโดยกรอกรหัสประจำตัวประชาชนและรหัสผ่าน
เข้าสู่ระบบโดยกรอกรหัสประจำตัวประชาชนและรหัสผ่าน

  • หากยังไม่เคยลงทะเบียน ให้คลิกลงทะเบียนสมาชิกใหม่จากนั้นก็กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทั้งที่อยู่ปัจจุบันและที่อยู่ส่งเอกสารด้วย จากนั้นก็ใช้รหัสประจำตัวประชาชนเข้าสู่ระบบ
  • เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วให้ดูที่หัวข้อบริการ > ชำระภาษีรถประจำปี > ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต

รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ที่ไม่เคยลงทะเบียนมาก่อนให้คลิกที่ลงทะเบียนรถ จากนั้นก็ลงทะเบียนให้เรียบร้อยแล้วกดชำระภาษี
รถที่ไม่เคยลงทะเบียนมาก่อนให้ลงทะเบียนรถให้เรียบร้อย แล้วกดชำระภาษี

  • เมื่อเว็บไซต์เข้าสู่หน้าค้นหาข้อมูลการลงทะเบียนรถ จะมีข้อมูล 3 ช่องให้ระบุ ได้แก่ ประเภทรถ จังหวัด และเลขทะเบียนรถ เมื่อกรอกครบถ้วนแล้วให้กดบันทึก จากนั้นจะมีรายการข้อมูลลงทะเบียนรถปรากฏด้านล่าง ให้คลิกช่องสี่เหลี่ยมด้านหน้ารายการแล้วกดชำระภาษี
  • เมื่อเว็บไซต์เข้าสู่หน้าข้อมูลการยื่นชำระภาษี จะมีข้อมูล 3 ช่องปรากฎ ได้แก่ รายละเอียดรถ ข้อมูล พ.ร.บ. และรายการที่ต้องชำระ สำหรับการต่อพรบรถจักรยานยนต์ออนไลน์ ให้ดูที่หัวข้อ ข้อข้อมูล พ.ร.บ. คลิกที่ช่องไม่มี (ซื้อผ่านระบบ) หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมา ให้คลิกเลือก ต้องการซื้อ พ.ร.บ. ใหม่
  • หลังจากนั้นก็กรอกข้อมูลข้างล่างช่องซื้อ พ.ร.บ. เพิ่ม ให้กรอกข้อมูลบริษัทประกันภัยและรายละเอียดสถานที่จัดส่งเอกสารให้ครบถ้วน
  • คลิกเลือกวิธีชำระเงิน สามารถเลือกวิธีชำระเงินต่าง ๆ ที่มีให้เลือกตามสะดวก เมื่อชำระเงินเรียบร้อยจะมีใบเสร็จขึ้นเป็นหลักฐาน จากนั้นก็รอรับ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ตามที่อยู่ที่กรอกไว้ได้เลย

ถ้าไม่ต่อภาษีรถจักรยานยนต์จะเป็นอย่างไร

หากไม่ต่อภาษีรถจักรยานยนต์ หรือต่อทะเบียนช้าเกินกว่าวันที่กำหนด จะมีกฏหมายที่เข้ามาดูแลดังนี้

  • หากขาดต่อภาษีรถจักรยานยนต์ 1 ปี - 3 ปี จะต้องเสียภาษีร้อยละ 1 ต่อเดือน
  • กรณีที่ขาดการต่อภาษีมากกว่า 3 ปีขึ้นไป ป้ายทะเบียนรถคันนั้น ๆ จะถูกระงับทันที
  • หากต้องการต่อภาษีรถยนต์ใหม่ จะต้องนำป้ายทะเบียนเดิมไปคืนที่สำนักงานขนส่งทางบก พร้อมชำระค่าปรับ 1% ต่อเดือน และต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ค่าตรวจสภาพ ค่าป้ายใหม่ นอกจากนี้ ยังทำธุรกรรมอื่น ๆ เกี่ยวกับรถไม่ได้อีกด้วย

พ.ร.บ. จักรยานยนต์ต่างกับ พ.ร.บ. รถยนต์อย่างไร?

พ.ร.บ. จักรยานยนต์ต่างกับ พ.ร.บ. รถยนต์ตรงที่ค่าใช้จ่ายที่ไม่เท่ากัน โดยมีรายละเอียดคร่าว ๆ ดังนี้

ค่าใช้จ่ายในการต่อพ.ร.บ. รถยนต์

  • รถส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง 600 บาท
  • รถส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาท
  • รถส่วนบุคคลเกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท
  • รถส่วนบุคคลเกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท
  • รถส่วนบุคคลเกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาท

ค่าใช้จ่ายในการต่อพรบรถจักรยานยนต์

  • เครื่องยนต์ไม่เกิน 75 ซีซี 161.57 บาท
  • เครื่องยนต์ 75-125 ซีซี 323.14 บาท
  • เครื่องยนต์ 125-150 ซีซี 430.14 บาท
  • เครื่องยนต์ 150 ซีซีขึ้นไป 645.12 บาท

หากไม่ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ จะเป็นอย่างไร ?

  • มีโทษทางกฎหมาย หากนำรถที่ไม่ได้ต่อพรบรถจักรยานยนต์ไปใช้ จะมีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท
  • ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย หากเกิดอุบัติเหตุจะไม่สามารถเบิกเงินค่ารักษาพยาบาล หรือเงินชดเชยได้
  • ไม่สามารถต่อภาษีรถจักรยานยนต์ได้ ทำให้อาจจะต้องเสียค่าปรับ หากขาดการต่ออายุ 1-3 ปี และถ้าไม่ต่อภาษี 3 ปีขึ้นไป ทะเบียนรถจะถูกระงับ
  • ต้องเสียค่าปรับย้อนหลังเดือนละ 1%

อย่างไรก็ตาม อย่าละเลยการต่อภาษีมอเตอร์ไซค์ และพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครอง และมีสิทธิ์ใช้รถจักรยานยนต์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ต้องเสี่ยงถูกปรับ หรือโดนระงับทะเบียน นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเสียเงิน และเสียเวลาโดยใช่เหตุอีกด้วย 

>> อ่านเพิ่มเติม