คลัทช์แต่ง หรือเราเรียกว่า Racing Clutch ทำหน้าที่เป็นตัวตัด หรือต่อกำลัง ที่ส่งมาจากเครื่องยนต์ในการเปลี่ยนเกียร์ โดยอาศัย 3 อย่าง ได้แก่ ความฝืดระหว่างแผ่นคลัทช์ แผ่นกดคลัทช์ และอย่างสุดท้ายคือ ล้อช่วยแรง หรือฟลายวีล (Fly Wheel)
สวัสดีครับ เพื่อนๆชาว Unseencar วันนี้ทางทีมงานได้มีวิธีการเปลี่ยนคลัทช์ซิ่ง และการบำรุงรักษาคลัทช์ เพื่อเพิ่มแรงม้าให้กับตัวรถของเรามาฝากเพื่อนๆ กันค่ะ จะเป็นยังไงมาดูกันเลยครับ…
คลัทช์แต่ง หรือเราเรียกว่า Racing Clutch ทำหน้าที่เป็นตัวตัด หรือต่อกำลัง ที่ส่งมาจากเครื่องยนต์ในการเปลี่ยนเกียร์ โดยอาศัย 3 อย่าง ได้แก่ ความฝืดระหว่างแผ่นคลัทช์ แผ่นกดคลัทช์ และอย่างสุดท้ายคือ ล้อช่วยแรง หรือฟลายวีล (Fly Wheel)
ส่วนประกอบของคลัทช์ที่ช่วยในการส่งกำลัง
– ล้อช่วยแรง หรือฟลายวีล(Fly wheel) มีหน้าที่หมุนไปตามแรงเพลาข้อเหวี่ยง หน้าสัมผัสล้อช่วยแรงอีกด้านหนึ่ง จะสัมผัสกับแผ่นคลัทช์ และแรงสัมผัสนี้มีน้ำหนักมาก ในเวลาที่ล้อช่วยแรงหมุน แกนเพลาคลัทช์ในห้องเกียร์จะสามารถหมุนตามได้
– แผ่นคลัทช์ หรือ Clutch disc มีลักษณะเป็นวงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า เส้นผ่านศูนย์กลางของล้อช่วยแรง เรียกว่า ผ้าคลัทช์ ทำมาจากวัสดุที่เป็นใยหิน และสารสังเคราะห์ คุณสมบัติเหนียว และทนทานต่อการเสียดทาน ฉาบอยู่ด้านหน้า และหลังจานคลัทช์
– แผ่นกดคลัทช์(Clutch Pressure Plate) เรียกกันว่าหวีคลัทช์ จะประกบยึดอยู่กับฝาครอบคลัทช์ และล้อช่วยแรง ซึ่งจะทำงานเมื่อผู้ขับขี่ออกแรงเหยียบแป้นคลัทช์ แรงเหยียบจะถ่ายทอดออกไปสู่ กระเดื่องกดแบริ่ง ที่มีแกนยื่นออกมานอกห้องคลัทช์ จากนั้นจะส่งแรงไปยังชุดกดแบริ่งที่ติดอยู่บนแกนเพลาคลัทช์ ตรงศูนย์กลาง ของแผ่น สปริงไดอะเฟรม
วิธีการเปลี่ยนคลัทช์ให้มีแรงม้าที่สูงมากขึ้นกว่าเดิมเพื่อขั้นตอนง่ายๆ แค่ 4 ขั้นตอน
1.) เปลี่ยนผ้าคลัทช์ใหม่ โดยมองหาผ้าคลัทช์ที่มีวัสดุส่วนผสมที่ดีกว่าที่ใช้อยู่ เช่นผ้าคลัทช์ใยสังเคราะห์ (คลัทช์เดิม), ผ้าคลัทช์ใยผสม คือการนำใยสังเคราะห์ผสมกับเนื้อทองแดง แต่โดยส่วนมากมักจะนิยมทองแดงมาเป็นส่วนผสมให้มากขึ้น และจับตัวได้ดีกว่า
2.) เปลี่ยนชุดคลัทช์ให้ใหญ่ขึ้น โดยมองหาชุดคลัทช์ของรุ่นอื่นมาใส่แทน แต่มีขนาดที่โตกว่า แต่ต้องไม่โตกว่าฟลายวีลเดิม ที่ติดกับเครื่องยนต์ มาดัดแปลงเจียร์หน้า Fly Wheel ใหม่ เจาะรูยึดหวีครัทช์ เปลี่ยนเฟืองขับเกียร์ตรงกลางผ้าคลัทช์ให้สามารถสวมกับ เฟืองเกียร์ได้ สามารถทำให้คลัทช์จับตัวได้ดีขึ้น เพราะมีพื้นที่ในการจับเกาะได้มาก บวกกับหวีคลัทช์ที่มีแรงกดที่สูงขึ้น
3.) เปลี่ยนสปริงกดคลัทช์ ที่หวีคลัทช์จะมีสปริงกดคลัทช์อยู่ระหว่าง จานกดคลัทช์กับโครงหวีคลัทช์ เป็นแผ่นเหล็กซ้อนกันอยู่ 2- 3 แผ่น แบบไม้ไอติม ตัวนี้จะเป็นตัวสร้างแรงกดให้กับจานกดคลัทช์ นิยมเสริมให้มากขึ้นเช่นจาก 2 เป็น 3 แผ่น หรือเปลี่ยนให้มีขนาดโตขึ้น สามารถสร้างแรงกดได้มากขึ้น
4.) เสริมแผ่นเพลท(Plate) หรือตีนผี ตามปกติแล้วตีนผีของหวีคลัทช์ จะเป็นแผ่นสปริงที่สร้างแรงกดได้มาก แต่ยังไม่เพียงพอ นิยมที่จะเปลี่ยนแผ่นเพลทให้มีขนาดหนา สร้างแรงกดได้มากขึ้น หรือซ้อนแผ่นเพลทให้เป็นลักษณะ 2 ชั้น แบบนี้อาจเพิ่มแรงกดได้กว่าเท่าตัว แบบนี้ข้อเสียมักจะทำให้ต้องออกแรงเหยียบคลัทช์มากกว่าปกติ ทำให้เกิดความยากลำบากในการขับขี่ และอาจต้องมีการเสริมก้ามปูให้แข็งแรงขึ้น เนื่องจากจะทำให้ก้ามปูหักได้ง่าย
อ่านข่าวสารยานยนต์เพิ่มเติมคลิกที่นี่!