จะเก็บสี ทำสีรถใหม่ ต้องรู้! สี 2K, สีแห้งช้า คืออะไร

ประสบการณ์ใช้รถ | 2 พ.ย 2560
แชร์ 17

สำหรับใครที่คิดจะเปลี่ยนสีรถใหม่ หรือเก็บสี เก็บความเรียบร้อย ริ้วรอยต่างๆ ให้หมดไป ให้รถกลับมาปิ๊งเหมือนกับตอนออกใหม่ๆ หรืออยากเปลี่ยนคาแรคเตอร์ให้กับรถกลับเป็นสีอื่นเหมือนกับได้รถใหม่ อารมณ์ใหม่ น่าจะเคยได้ยินคำเหล่านี้อย่าง สีแห้ง, สี 2K กันมาบ้าง ไปดูความหมายและคุณสมบัติของคำเหล่านี้กันเลยดีกว่า เวลาเลือกทำสีจะได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุด ตอบเงื่อนไขในการทำสีรถของคุณได้ตรงจุด


 

สี 2K คืออะไร

ที่คุ้นหูกันส่วนใหญ่จะเป็นคำว่า ‘สี 2K’ แต่ความจริงแล้วสีระบบ 1K ก็มี ซึ่งสี 1K อีกชื่อเรียกคือ

‘สีแห้งเร็ว’ สีประเภนี้ตอนที่ใช้พ่นจะใช้ตัวทำละลายอื่นๆ เพื่อเข้ามาช่วยให้สะดวกในการใช้พ่น เมื่อสีแห้งแล้วตัวทำละลายเหล่านั้นก็จะละเหยออกไปด้วย ไม่นับเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสี
 

สีรถยนต์เรื่องยี่ห้อก็มีความสำคัญ ควรเลือกอู่สีที่ใช้สียี่ห้อคุณภาพ

สีรถยนต์เรื่องยี่ห้อก็มีความสำคัญ ควรเลือกอู่สีที่ใช้สียี่ห้อคุณภาพ
 

ส่วนอีกหนึ่งประเภทที่ได้ยินกันจนติดหูคือสีระบบ 2K ที่มาจากสององค์ประกอบคือตัวเนื้อสีและตัวเร่งปฏิกิริยา (Hardener หรือ Activator) ตอนที่ใช้พ่นก็ต้องนำทั้งสองส่วนนี้มาผสมกันตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้ ซึ่งสีระบบ 2K ที่ใช้สำหรับงานรถยนต์มีอยู่ 2 ชนิดได้แก่ แบบ ‘อีพ็อกซี่’ และแบบ ‘โพลียูรีเทน’(หรือผสมกับอะครีลิค) และจะใช้ ไอโซไซยาเนท (Isocyanate) เป็นตัวช่วยในการเร่งปฎิกิริยา ช่วยทำให้เมื่อสีแห้งตัวมีคุณสมบัติในด้านการปกป้องเป็นเหมือนชั้นฟิล์มของสี ทนทานต่อสารเคมีต่างๆ ได้ดีอ ย่างนำมันเครื่อง น้ำมันเบรค และความร้อนจากแสงแดด อีกทั้งยังมีดีในเรื่องการยึดเกาะที่ดีเยี่ยม ให้ความเงางามสูงอีกด้วย
 

สีระบบ 2K ที่มาจากสององค์ประกอบคือตัวเนื้อสีและตัวเร่งปฏิกิริยา

สีระบบ 2K ที่มาจากสององค์ประกอบคือตัวเนื้อสีและตัวเร่งปฏิกิริยา
 

ระบบสี 2K โดยทั่วไปเป็นที่รู้กันว่าจะเรียกว่า ‘สีแห้งช้า’ แต่ความจริงในปัจจุบันสี 2K ก็มีทำออกมาให้แห้งเร็วได้แล้วเหมือนกัน โดยที่คุณสมบัติต่างๆ ยังคงยอดเยี่ยมไม่แพ้แบบแห้งช้า
 

ทำสี 1K หรือ 2K แบบไหนดีกว่ากัน

ด้วยคุณสมบัติของตัวทำปฎิกิริยาทั้งเรซิ่นและตัวฮาร์ดเดนเนอร์ จึงทำให้สีระบบ 2K มีคุณสมบัติเทียบเท่าสี OEM ในรถที่ออกมาจากโรงงาน อีกทั้งเรื่องความทนทานในการรักษาสภาพคงเดิมของสีไว้ได้ถึง 5 ปี ทนทานได้ดีต่อสภาพอากาศที่แสนโหดร้าย ไม่ซีด ไม่จางแม้จะถูกแดดเลียแค่ไหน และเรื่องความเงางาม
 

นอกจากเลือกสีคุณภาพแล้วก็ต้องมีช่างสีคุณภาพใช้งานด้วย

นอกจากเลือกสีคุณภาพแล้วก็ต้องมีช่างสีคุณภาพใช้งานด้วย
 

ทำที่อู่สีหรือที่ศูนย์บริการ

ในการซ่อมสีหรือเปลี่ยนสี ไม่ว่าจะทำที่อู่สีหรือที่ศูนย์บริการจะใช้สีอยู่เพียงแค่ 2 ประเภทนี้เท่านั้นทั้งระบบ 1K หรือ 2K ไม่สามารถใช้สีประเภทเดียวกับที่โรงงานประกอบรถยนต์ใช้ได้ที่เรียกว่าสี OEM (สีอบ) เพราะด้วยเรื่องของขั้นตอนการอบสีที่ไม่ว่าอู่หรือศูนย์บริการ ก็ไม่สามารถอบสีที่อุณหภูมิสูงเท่าโรงงานผลิตรถยนต์ได้ที่อุณหภูมิสูงถึง 120-160 องศาเซลเซียส โดยปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นอู่หรือศูนย์ต่างนิยมหันมาใช้สีประเภท 2K มากว่าแล้ว
 

รถที่ออกมามาจากโรงงานจะใช้สี OEM ที่สีระบบ 2K คุณภาพเทียบเท่า

รถที่ออกมามาจากโรงงานจะใช้สี OEM ที่สีระบบ 2K คุณภาพเทียบเท่า
 

คุณสมบัติของสีที่ใช้กับรถยนต์ถ้าจะให้งานออกมาดีนอกจากประเภทสีที่ใช้แล้ว ยังมีปัจจัยทั้งเรื่องของยี่ห้อสี, เกรดสีโป้ว, สีรองพื้น, ความละเอียดและฝีมือของช่าง ซึ่งก็ต้องเลือกอู่สีหรือศูนย์บริการที่ทำสีด้วยว่ามีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน เรื่องราคาค่าทำอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้าย อู่สีบางที่ค่าทำราคาแพงแต่ผลงานแย่ๆ ก็มีหลายเจ้า ลองดูงานของอู่จากรถที่ทำเสร็จแล้ว และความพอใจของเจ้าของรถที่ทำออก มาหาข้อมูลก่อนที่จะตัดสินใจเข้าทำสีน่าจะดีที่สุด

 

>> เผย! สีรถยนต์มาแรง Archon Bronze และ Shadow Gold ส่วนขาว-ดำ ขึ้นแท่นฮิตตลอดกาล
>> 8 รุ่นแม็กซ์สวย ยอดนิยมในเมืองไทย ทั้งแต่งซิ่งแต่งสวย ก็ต้องโดน

>> [Infographic] 6 วิธีดูแล “สีรถ” ช่วงหน้าฝน ใส่ใจสักนิดเพื่อความเงางามของรถคุณ