ขับรถเสียงดังระวังโดนจับ! มารู้จักกฎหมายว่าด้วยการควบคุมเสียงในรถ

ประสบการณ์ใช้รถ | 14 พ.ค 2562
แชร์ 3

ทุกวันนี้จะสังเกตได้ว่าการผลิตรถออกมาของแต่ละค่าย ต่างแข่งขันกันเรื่องของการเก็บเสียงภายในรถ ยิ่งเงียบกว่าเท่าไหร่ยิ่งเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจแก่ผู้เลือกใช้งานได้มากกว่า โดยเรื่องของเสียงไม่ได้เป็นเพียงข้อบัญญัติมาตรฐานทั่วไปของรถยนต์ แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายด้วย

ในวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมเสียงในรถ ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่หลายคนยังไม่รู้และคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่อันที่จริงเป็นเรื่องที่ต้องตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะมีการกำหนดข้อกฎหมายไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นรถของใครไปแต่งท่อ ปรับเสียงใหม่ ระวังให้ดี ๆ อาจมีผลต่อทางกฎหมายได้

มาตรฐานระดับเสียงและวิธีการวัดระดับเสียงของรถยนต์

ประกาศจากกรมขนส่งทางบกเรื่องการกำหนดมาตรฐานเสียงของรถยนต์

ประกาศจากกรมขนส่งทางบกเรื่องการกำหนดมาตรฐานเสียงของรถยนต์

เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมมลพิษทางเสียงที่เกิดจากรถยนต์ที่มีเสียงดังเกินค่ามาตรฐาน กรมการขนส่งทางบกจึงได้ออกประกาศกรมการขนส่งทางบกกำหนดมาตรฐานระดับเสียงและวิธีการวัดระดับเสียงของรถยนต์ พ.ศ. 2561 เพื่อกำหนดวิธีการตรวจวัดระดับเสียงที่ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ และค่าระดับเสียงตามที่กฎหมายกำหนด โดยจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2561 เป็นต้นไปกับรถยนต์ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522  ประกอบด้วยประเภทรถดังต่อนี้

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
  • รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด
  • รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน
  • รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง
  • รถยนต์บริการ
  • รถยนต์สามล้อ
  • ยกเว้นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว

โดยรถยนต์ทุกประเภทมีข้อกำหนดเรื่องของระดับเสียงรายละเอียดดังนี้

รถที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 1 มกราคม 2557

  • ค่าระดับเสียงต้องไม่เกิน 100 เดซิเบลเอ

รถที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557

  • กรณีน้ำหนักรถเปล่าเกินกว่า 2,200 กิโลกรัม ค่าระดับเสียงต้องไม่เกิน 99 เดซิเบลเอ
  • กรณีเป็นรถขนาดเล็กมีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม ค่าระดับเสียงต้องไม่เกิน 95 เดซิเบลเอ
  • ยกเว้นรถยนต์สามล้อทุกคันค่าระดับเสียงต้องไม่เกิน 95 เดซิเบลซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของคณะกรรมาธิการยุโรปเพื่อเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติ (United Nations Economic Commission for Europe : UNECE) ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือพัฒนามาตรฐานยานยนต์มาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ส่วนรถจักรยานยนต์อยู่ระหว่างการพิจารณาให้มีความสอดคล้องกับเทคโนโลยียานยนต์ในปัจจุบัน จึงยังคงกำหนดค่าระดับเสียงเท่าเดิมคือไม่เกิน 95 เดซิเบลเอ

ดูเพิ่มเติม
>> กฎหมายน่ารู้! หากกระทำผิดกฎจราจรจะโดนค่าปรับอะไรบ้าง?

>> รวมเหล่า 10 ค่าปรับจราจร .. ที่มือใหม่และบุคคลทั่วไปควรรู้

ขั้นตอนการตรวจวัดระดับเสียงของรถยนต์

ตรวจวัดระดับเสียงของรถ

ตรวจวัดระดับเสียงของรถ

ขั้นตอนในการตรวจวัดระดับเสียงของรถยนต์ตามประกาศดังกล่าวกำหนดให้ดำเนินการตรวจวัดเมื่อเครื่องยนต์ทำงานได้ความเร็วรอบคงที่ตามที่กำหนดเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น

  • กรณีรถยนต์สามล้อตรวจวัดที่ 3 ใน 4 ของความเร็วรอบที่ให้กำลังสูงสุดของเครื่องยนต์
  • รถที่เครื่องยนต์มีความเร็วรอบให้กำลังสูงสุดไม่เกิน 5,000 รอบต่อนาที ให้ตรวจวัดที่ 3 ใน 4 ของความเร็วรอบที่ให้กำลังสูงสุด
  • กรณีเครื่องยนต์ที่มีความเร็วรอบที่ให้กำลังสูงสุดเกินกว่า 5,000 รอบต่อนาที แต่ไม่ถึง 7,500 รอบต่อนาที ให้ตรวจวัดที่ 3,750 รอบต่อนาที
  • กรณีเครื่องยนต์ที่มีความเร็วรอบที่ให้กำลังสูงสุดตั้งแต่ 7,500 รอบต่อนาที ให้ตรวจวัดที่ 1 ใน 2 ของความเร็วรอบที่ให้กำลังสูงสุด

ประกาศจากกรมขนส่งทางบกเรื่องการกำหนดมาตรฐานเสียงของรถยนต์

ประกาศจากกรมขนส่งทางบกเรื่องการกำหนดมาตรฐานเสียงของรถยนต์

โดยการตรวจสอบว่าค่าระดับเสียงของรถยนต์ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดระดับเสียงของรถจักรยานยนต์ข้อ 4 ให้กระทำตามวิธีการดังต่อไปนี้

  • ให้ทำการตรวจสอบค่าระดับเสียงของสภาพแวดล้อมและลมในขณะนั้นก่อน
  • ให้จอดรถยนต์อยู่กับที่ในตำแหน่งเกียร์ว่าง และเดินเครื่องยนต์ไม่น้อยกว่า 5 นาที ก่อนทำการตรวจสอบ ถ้ามีขอบทางเท้าจะต้องจอดรถยนต์ห่างจากขอบทางเท้าอย่างน้อย 1 เมตร
  • หันแกนความไวสูงสุดของไมโครโฟนของมาตรวัดระดับเสียงเข้าหารถยนต์ที่จะทำการตรวจสอบตำแหน่ง ระยะและวิธีการที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดสำหรับกรณีตามข้อ 2 (1)
  • เร่งเครื่องยนต์ให้มีความเร็วรอบเท่ากับความเร็วรอบสูงสุดของรถยนต์หากรถยนต์นั้นใช้เครื่องยนต์ดีเซล หรือเร่งเครื่องยนต์ให้มีความเร็วรอบเท่ากับสามในสี่ของความเร็วรอบสูงสุดหากรถยนต์นั้นใช้เครื่องยนต์เบนซิล สำหรับการตรวจสอบค่าระดับเสียงของรถจักรยานยนต์ให้เร่งเครื่องยนต์ให้มีความเร็วรอบเท่ากับกึ่งหนึ่งของความเร็วรอบสูงสุด หากเครื่องยนต์นั้นมีความเร็วรอบสูงสุดเกินกว่า 5,000 รอบต่อนาทีหรือเร่งเครื่องยนต์ให้มีความเร็วรอบเท่ากับสามในสี่ของความเร็วรอบสูงสุดหากเครื่องยนต์นั้นมีความเร็วรอบสูงสุดไม่เกิน 5,000 รอบต่อนาที
  • ให้ตรวจสอบค่าระดับเสียง 2 ครั้ง และให้ถือเอาค่าสูงสุดที่วัดได้เป็นค่าระดับเสียงของรถยนต์
  • ถ้าค่าระดับเสียงที่ตรวจสอบทั้ง 2 ครั้ง แตกต่างกันเกินกว่า 2 เดซิเบล เอ ให้ตรวจสอบค่าระดับเสียงโดยเริ่มต้นใหม่

ตำรวจตั้งจุดตรวจวัดเสียงรถยนต์ก่อนปรับจริง

ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการตรวจวัดค่าระดับเสียง กรมการขนส่งทางบกได้ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจริง พร้อมให้สำนักงานขนส่งจังหวัดประชาสัมพันธ์และซักซ้อมแนวทางปฏิบัติให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ ผู้ควบคุมการตรวจสภาพรถ และเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ในพื้นที่รับผิดชอบ รวมถึงประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชนเจ้าของรถ เกี่ยวกับขั้นตอนและระยะเวลาในการตรวจสภาพรถ ทั้งนี้ แนะนำให้ประชาชนเจ้าของรถใช้ท่อไอเสียที่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และไม่ดัดแปลงอุปกรณ์ส่วนควบของรถ เพื่อป้องกันปัญหารถที่อาจมีค่าระดับเสียงดังเกินที่กฎหมายกำหนด

ดูเพิ่มเติม
>> กฎหมายรถป้ายแดงอัปเดตใหม่ 2562 กับ 10 วิธีขับรถใหม่อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย
>> กฎหมายน่ารู้ ! โดนใบสั่งทางปณ. แต่ไม่อยากไปจ่ายที่โรงพัก สามารถไปที่ไหนได้บ้าง ?

ติดตามข่าวสารรถยนต์ คลิกที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้

Knong NTP
Avatar

Knong NTP

บรรณาธิการ
ในตอนเด็ก ที่บ้านของผมเป็นอู่ซ่อมรถ ผมมักจะได้ไปเรียนรู้เรื่องเครื่องยนต์รถและงานเทคนิคช่างต่าง ๆ กับพ่อ และสนใจเรื่องแต่งรถกระบะจากน้า จากนั้นก็ซึมซับมาเรื่อย ๆ จากความชอบก็เป็นความรัก ความผูกพัน เริ่มสะสมนิตยสาร มอเตอร์แทร็ก,...