ขอคืนทุนประกัน (ขายซาก) อะไรบ้างที่คุณต้องรู้

ประสบการณ์ใช้รถ | 19 ธ.ค 2560
แชร์ 31

เมื่อเกิดเหตุการณ์อุบัติเหตุ ชนหนัก หนักระดับที่ซ่อมไม่คุ้มเสีย ตัวรถไม่มีทางกลับมาใช้งานได้ปกติ มีสมรรถนะต่างๆ ได้เหมือนเดิม สำหรับรถที่มีประกันชั้นการต่อรองเจรจาเงื่อนไขการขอคืนทุนประกันเป็นเรื่องสำคัญที่หลายๆ คนอาจยังไม่รู้เพราะไม่เคยเจอกับตัวเอง

ในเมื่อรถก็ยังผ่อนไม่หมด แล้วรถก็ดันมาชนหนักจนหมดสภาพความเป็นยานพาหนะ มีทางออกอยู่สองทางเลือก ว่าจะซ่อมรถให้กลับมาใช้งานได้ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีทางเหมือน ณ ตอนก่อนจะเกิดอุบัติเหตุ หรือจะเลือกขายซากขอคืนทุนประกันดีกว่ากัน

ชนหนักเกิน 70% ของทุนประกัน

ถ้ารถของคุณมีประกันทางบริษัทประกันจะทำการความเสียหายของรถคุณ ถ้าตัวรถมีความเสียหายมาก ต้องมีค่าซ่อมเกิน 70% ของทุนประกัน บริษัทประกันจะพิจารณาเพื่อจ่ายคืนเงินทุนประกันให้แก่คุณหรือผู้เอาประกัน และผู้เอาประกันต้องโอนซากรถนั้นให้เป็นชื่อของบริษัทประกัน จากนั้นจะสิ้นสุดการคุ้มครองของกรมธรรม์ในทันที

ยกตัวอย่างเช่น รถของคุณทำทุนประกันไว้ที่ 1,000,000 บาท ทุนประกันนั้นจะไม่น้อยกว่า 80% ของราคาตลาดรถในขณะที่รับประกัน แต่ถ้าคุณไม่ต้องการขาย ต้องการซ่อมรถคันนั้นกลับมาใช้ซึ่งทำได้ บริษัทประกันจะยอมจ่ายค่าสินไหมให้อยู่ที่ประมาณ 50-60% ของทุนประกันเท่านั้น หรือเป็นเงินประมาณ 5-6 แสนบาทตามที่ยกตัวอย่าง และผู้เอาประกันต้องนำรถไปจัดการซ่อมเองทั้งหมด รวมทั้งสิ้นสุดการคุ้มครองจากประกันทันทีเช่นกัน

ระดับความเสียหาย ของตัวรถ ต้องประเมินแล้วเลือกว่าจะซ่อมหรือขายซากขอคืนทุนประกัน

ระดับความเสียหาย ของตัวรถ ต้องประเมินแล้วเลือกว่าจะซ่อมหรือขายซากขอคืนทุนประกัน

 

ชนหนักไม่ถึง 70% แต่ก็เสียหายมาก เข้าอู่ในเครือประกันไม่ต้องสำรองจ่าย

กรณีที่บริษัทประกันประเมินว่าค่าซ่อมไม่เกิน 70% ขั้นตอนก็จะเหมือนกับการชนปกติทั่วไป ทางประกันจะต้องรับผิดชอบในค่าเสียหาย จะซ่อมกับอู่ในเครือของบริษัทประกันก็ไม่ต้องสำรองจ่าย แต่หากคุณนำไปซ่อมเองในอู่ที่ไม่ได้อยู่ในเครือของบริษัทประกันก็ต้องสำรองจ่ายไปก่อน การคุ้มครองของกรมธรรม์ก็ยังมีผลบังคับใช้ต่อไปตามอายุสัญญา

ในกรณีนี้ถ้าประกันประเมินให้ความเสียหายไม่ถึง 70% แต่ถ้ารถเสียรุนแรงพอตัว 40%-50% นั่นหมายความว่าเงินที่คุณต้องหามาสำรองจ่ายในการซ่อมไปก่อน จะเป็นจำนวนเงินไม่น้อยเลยทีเดียว แนะนำว่าควรซ่อมกับอู่ในเครือประกันเพื่อคุณจะได้ไม่ต้องหาเงินมาสำรองจ่ายก่อน เพราะระยะเวลาที่ประกันจะคืนเงินให้กับคุณนั้นก็ไว้ใจไม่ได้ว่าจะต้องรอนานแค่ไหน อีกทั้งเพื่อจะได้ตัดปัญหาการคุมราคาจัดซ่อมที่ไม่ตรงกันที่คุณระบุเบิกกับที่ประกันยอมจ่าย เผื่อจุดไหนเบิกไม่ได้ จุดไหนเบิกได้ไม่เต็มจำนวนที่จ่ายไป ก็จะเป็นคุณอีกนั่นแหละที่ต้องรับภาระจ่ายส่วนต่างนั้นแทน ขาดทุนเข้าไปอีก

ชนหนักมากขายซากเหอะ

ในกรณีที่ความเสียหายของรถเกินกว่า 70% ของทุนประกัน ทางเลือกที่จะขอคืนทุนประกันเป็นอีกหนึ่งทางออก ถามว่ากรณีที่คุณไม่ขอคืนทุนประกัน นำรถไปซ่อมเอง สภาพรถจะกลับมาใช้งานได้แต่ไม่เหมือนเดิมไหม? ไม่มีทางอย่างแน่นอน เมื่อการชน ความเสียหายที่เกิดกับรถจนถึงขั้นโครงสร้าง ระบบต่างๆ ซ่อมยังไงก็ไม่เหมือนรถที่ไม่เคยชน ปวดหัวทั้งในงานซ่อมและการใช้งานรถที่มีสภาพไม่สมบูรณ์ แถมยังต้องจ่ายค่างวดรถไปทุกเดือนๆ อีกทั้งถ้าซ่อมไปแล้วจะขายเป็นมือสอง ราคาขายต่อก็ขาดทุนย่อยยับเช่นกัน สิ่งที่ทำได้คือ “ทำใจ”

รถชนหนัก เสียหายทั้งคันแบบนี้ ขายซากเรื่องจบเร็วกว่า

รถชนหนัก เสียหายทั้งคันแบบนี้ ขายซากเรื่องจบเร็วกว่า


แต่ถ้าขายซาก หรือขอคืนทุนประกันปัญหาต่างๆ จะหมดไป เรื่องจบได้ง่ายกว่า จบทั้งไฟแนนซ์ที่คุณยังค้างจ่ายค่างวดอยู่ โดยการนำเงินทุนประกันที่ได้คืนมานี้ไปปิดกับไฟแนนซ์ที่ยังค้างอยู่ ขาดทุนมากน้อยก็เป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ แต่จบปัญหา ไม่ต้องปวดหัวกับตัวรถ ทั้งการซ่อม การใช้งาน หาซื้อรถคันใหม่ที่สภาพรถสมบูรณ์มาใช้งานได้อย่างมีความสุข

การเกิดอุบัติเหตุนอกจากได้รับบาดเจ็บแล้ว เอฟเฟคต่อเนื่องมีแต่เสียกับเสีย จากความเสียหายทำให้ขาดทุนจากการขายซาก หรือเป็นหนี้ไฟแนนซ์แล้วได้ใช้รถสภาพไม่สมบูรณ์ ดังนั้นการใช้ควรขับรถด้วยความไม่ประมาทเพราะผลที่จะตามมาหลังเกิดอุบัติเหตุนั้น แม้มีประกันรถยนต์ชั้นอะไรก็ตามก็ยังทำให้คุณขาดทุนได้อยู่ดี

>> ดูเพิ่มเติม:

- ค่าใช้จ่ายต่อปีที่จะตามมาหลังจากชื้อรถใหม่ ป้ายแเดงมีอะไรบ้าง

- ‘ติดเถอะ อุ่นใจกว่า’ กับ 5 ประโยชน์ของกล้องติดรถยนต์