การใช้รถ 7 ข้อ ที่คนขับ “รู้ว่าผิด” แต่ก็ทำจนเคยชิน

ประสบการณ์ใช้รถ | 28 ส.ค 2560
แชร์ 4

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การจราจรในกรุงเทพฯ หรือตามเมืองที่มีจำนวนรถหนาแน่นต้องติดขัดมากกว่าที่ควรจะเป็น คือการไม่ปฎิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ทั้งที่บางกฎข้อบังคับต่างเป็นที่รู้อยู่แล้วของผู้ใช้รถว่าผิด ทำให้รถติด ทำให้ผู้ใช้รถคันอื่นเดือดร้อน แต่ก็ยังทำจนติดเป็นนิสัย เราไปดูกันว่ามีข้อไหนบ้างที่ผู้ใช้รถชอบทำผิดอยู่เป็นประจำ อาจจะด้วยความประมาทหรือตั้งใจ จนทำให้คนอื่นเดือดร้อน

1. ไม่รู้จักทางม้าลาย ไม่เกรงใจคนข้าม

การที่มีสะพานลอยในบ้านเราทำให้ผู้ใช้รถลืมถึงการให้ความสำคัญของคนใช้ทางม้าลาย  ไม่ค่อยใส่ใจเรื่องสัญลักษณ์ของทางม้าลาย ว่าอีกไม่ไกลข้างหน้าอาจมีคนข้ามถนนผ่าทางม้าลาย ไม่ลดความเร็วจนคนข้าม ต้องระวังตัวว่าจะมีรถคันไหนพุ่งมาโดยไม่ลดความเร็วหรือเปล่า ทั้งๆ ที่อยู่บนทางม้าลาย ซึ่งมันคือพื้นที่ไว้ให้สำหรับคนข้ามถนนแท้

รถยนต์ควรมีน้ำใจแก่ผู้เดินข้ามถนนด้วย
รถยนต์ควรมีน้ำใจแก่ผู้เดินข้ามถนนด้วย

2. ผ่าไฟเหลือง

สัญญาณไฟเหลืองเป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลายแม้ไม่ต้องไปอบรบ กฎหมายจราจรเพื่อเตรียมสอบใบขับขี่ ว่าเมื่อไฟเขียวเปลี่ยนเป็นไฟเหลืองนั้นหมายความว่าผู้ขับขี่ต้องเบรก ชะลอรถเพื่อเตรียมจอด แต่ปรากฎว่าผู้ขับขี่ส่วนใหญ่กลับติดนิสัยเหยียบคันเร่งส่งเพื่อที่จะให้รถตัวเองได้พ้นจากไฟแดงนั้น  มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตราย เพราะถ้าเกิดเร่งไม่พ้นไฟแดงแล้วหน้าแยกนั้นเป็นทางม้าลาย มีคนกำลังจะเดินข้ามถนนพอดี  ก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ อัตราโทษของการขับฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดงจะปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตาม พรบ. จราจรทางบก

ขับรถหรู
ขับรถหรูแต่ไม่ได้หมายความว่าจะขับรถตามกฎจราจร ผ่าไฟเหลืองเป็นขบวน

>> “ฝ่าไฟเหลือง” ผิดกฏหมายหรือไม่??

3. “จอมล้ำ”  จอดล้ำเส้น

ตอนที่รถติดไฟแดง จะมีเส้นกั้นจราจรระบุว่ารถต้องจอดอยู่หลังเส้นทุกคัน เพื่อความปลอดภัย และเพื่อไว้สำหรับคนข้ามถนน ข้ามแยก แต่ด้วยความเคยชินหรืออะไรก็ไม่ทราบ ทั้งรถยนต์หรือมอเตอร์ไซร์ต้องจอดล้ำเส้นจราจรนั้นมา ทั้งๆ ที่ก็สามารถจอดหลังเส้นได้ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากรถที่มาจากแยกอื่น และคนข้ามถนนก็ต้องเดินอ้อม เดินหลบรถที่จอดล้ำเส้นมาเหล่านั้น

คนเดินข้ามทางม้าลายต้องลำบากเดินหลบพวกรถที่จอดล้ำเส้นมา
คนเดินข้ามทางม้าลายต้องลำบากเดินหลบพวกรถที่จอดล้ำเส้นมา

ถึงแม้จะมีกฎหมายมาบังคับใช้อย่างจริงจังในเรื่องนี้ อัตราโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตาม พรบ. จราจรทางบกที่ให้ผู้ขับขี่หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด แต่ก็มีผลแค่ช่วงเวลาหนึ่ง ที่มีข่าวบังคับใช้เท่านั้น ถ้าไม่มีตำรวจคอยยืนที่หน้าแยกไฟแดง ผู้ใช้รถก็ยังคงจอดรถยื่นออกมาเลยเส้น ซึ่งมีให้เห็นอยู่เป็นประจำ

4. ขับช้าแช่ขวา

“เลนขวา” แม้ว่าจะขับมาใช้ความเร็วสักแค่ไหนก็ตาม แต่ถ้ามีรถที่ขับมาข้างหลังใช้ความเร็วมากกว่า รถที่อยู่ข้างหน้าต้องเปลี่ยนเลนหลบไม่เช่นนั้นจะผิด พรบ. จราจรในข้อกฎหมายเป็นการกีดขวางการจราจรและยังเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ด้วย

ขับช้ากว่ารถคันหลังก็ควรหลบให้เขาไปก่อน
ขับช้ากว่ารถคันหลังก็ควรหลบให้เขาไปก่อน

การขับแช่เลนขวาแม้จะอยู่ภายใต้ความเร็วที่กฎหมายกำหนด แต่ก็มีความผิดตามมาตรา 34 ที่บัญญัติไว้ว่าถนนที่มีการแบ่งเส้นจราจรมากกว่า 2 เลนขึ้นไป ผู้ขับขี่ต้องขับชิดขอบทางด้านซ้าย หากไม่ปฏิบัติตามอาจมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ใช้เลนขวาไว้สำหรับเวลาจะแซงเท่านั้นดีกว่า ไม่ใช่ขับแช่ขวาจนเคยชิน กีดขวางรถที่ขับมาเร็วกว่าไม่สามารถแซงไปได้ อย่าถือทิฐิมองว่าตัวเองขับมาเร็วแล้วจะไม่ยอมเปลี่ยนเลนให้คนอื่นไป

5. จอดในที่ห้ามจอด จอดรถในเส้นทางจราจร

นิสัยมักง่ายของการใช้รถ ของพวกคิดจะจอดตรงไหนก็จอด ไม่สนใจสีของฟุตบาทว่าจะเป็นสีแดงขาว ไม่คำนึงถึงผู้ใช้รถอื่นๆ ว่าจะทำให้การจราจรจำติดขัดมากแค่ไหน การจอดในที่ห้ามจอดยังอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ถ้าเกิดกรณีที่ตำแหน่งที่ห้ามจอดเป็นมุมอับรถที่สัญจรมามองไม่เห็น

นิสัยมักง่ายโดยเคยชินจนทำให้เลนถนนหายไป 1 เลน
นิสัยมักง่ายโดยเคยชินจนทำให้เลนถนนหายไป 1 เลน

หรือประเภทพวกจอดซื้อของที่คิดว่าจอดแค่ไม่นานไม่เป็นไร ขวางเส้นทางจราจร เปิดไฟผ่าหมากทั้งที่ถนนก็เลนแคบ จำนวนเลนไม่มาก รถที่ขับตามมาต้องเบี่ยงรถหลบทำให้การจราจรแทนที่จะไหลลื่นก็ต้องติดขัดเพราะรถคันเดียว ข้อหาจอดรถในที่ห้ามจอดและจอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจรตาม พรบ. จราจรทางบก มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

>> จอดรถตากแดดนานๆ มีผลเสียต่อรถ หรือไม่?

>> จอดรถแย่ ต้องโดน!! มาชมปฏิกิริยาเจ้าของรถ ที่โดนแก้เผ็ดกัน ว่าเป็นอย่างไร

>> โคตรแสบ!! จอดรถไม่ดี ต้องโดนแบบนี้

6. ขับเร็วเกินกำหนด

ความเร็วที่กฎหมายกำหนดถูกระบุมาเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถ ตามลักษณะของเส้นทางประเภทต่างๆ จะด้วยความเคยชินที่เคยขับรถด้วยความเร็วบนเส้นทางหนึ่ง พอเปลี่ยนเส้นทางแต่ยังใช้ความเร็วเท่าเดิมอยู่ ก็ทำให้ผิดกฎหมายได้ ป้ายบอกความเร็วระบุไว้ที่เท่าไรก็ควรขับเท่านั้น แต่ผู้ขับขี่มักขับด้วยความเคยชินจนทำความเร็วเกินกำหนดที่กฎหมายระบุไว้ จนสุด

ท้ายมีรูปถ่ายของรถส่งตรงไปถึงหน้าบ้าน

เมื่อรู้ว่าทำผิดในลักษณะนี้บ่อยๆ ก็ต้องมีสมาธิในการใช้เส้นทางมากขึ้นสักหน่อย อย่าใช้ความเร็วตามที่เคยชิน ถนนไหนให้ใช้ความเร็วเท่าไรก็ปฎิบัติตาม ขับในเมืองอย่าเกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกเมืองอย่าเกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทางด่วนหรือมอเตอร์เวย์อย่าเกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

7. เปลี่ยนเลนเส้นทึบ

พบเห็นได้บ่อยกับการขับเบียด ทับเส้นทึบห้ามแซง มาแทรกรถคันที่ต่อแถวมาเพื่อขึ้นสะพานนอกจากจะผิดกฎหมายจราจรแล้วยังแสดงให้เห็นถึงความเห็นแก่ตัวของผู้ขับ มารยาทในการใช้รถที่คนอื่นเขาต่อแถวมาตั้งนานแล้วจะมาแทรกง่ายๆ ซึ่งตาม พรบ จราจรทางบก ระบุโทษในข้อหา แซงในเส้นทึบ อัตราโทษปรับไม่เกิน 400 ถึง 1,000 บาท

ปาดแซงบนเส้นทึบ
ปาดแซงบนเส้นทึบ นอกจากผิดกฎหมาย ยังโดนคนอื่นด่าเรื่องมารยาทด้วย

แม้จะเป็นความเคยชิน จนทำให้เกิดพฤติกรรมที่ทำผิดกฎหมายซ้ำซาก ที่อาจส่งผลให้ผู้อื่นเดือดร้อน เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็ควรจะรีบแก้นิสัยความเคยชินที่ไม่ควรทำเหล่านี้ ถึงโทษค่าปรับต่างๆ อาจจะไม่รุนแรงแพงมาก แต่สิ่งที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการฝ่าฝืนกฎจราจรไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ ความเสียหาย ความสูญเสีย สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่จะร้ายแรงกว่าค่าปรับที่ต้องจ่ายไป