Clutch car คลัตช์หมด!? เคล็ดลับน่ารู้ วิธีสังเกตและดูแลรักษาคลัตช์รถยนต์

ประสบการณ์ใช้รถ | 25 พ.ค 2561
แชร์ 19

ว่ากันด้วยเรื่อง Clutch หรือ คลัตช์รถยนต์ สมัยนี้ หลายๆ คนคงมองข้ามไป ไม่ได้ให้ความสำคัญหรือความสนใจสักเท่าไหร่ เพราะด้วยเทคโนโลยียานยนต์ในยุคปัจจุบันก้าวล้ำนำสมัยไปมาก ซึ่งผู้ขับขี่รถยนต์หลายๆ คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่รถยนต์ โดยเลือกซื้อรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ หรือ รถเกียร์ออโต้ กันมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความสะดวกสบายในการขับขี่ โดยเฉพาะสุภาพสตรี หรือผู้หญิงสมัยใหม่ที่ขับรถเป็นจำนวนมาก ซึ่งเลือกใช้งานรถเกียร์อัตโนมัตินั่นเอง

ทว่า จริงๆ แล้ว รถเกียร์อัตโนมัติก็มีคลัตช์เช่นเดียวกันนะครับ ไม่ใช่ไม่มี อย่างที่หลายๆ คนเข้าใจผิด  อีกทั้งด้วยเทคโนโลยีที่เปี่ยมล้นพัฒนาก้าวล้ำไปไกลสักแค่ไหน  แต่ คลัทช์ ที่อยู่ในทุกส่วนของกลไกการขับเคลื่อนของเครื่องยนต์ ซึ่งมีหน้าที่หลัก คือ การถ่ายทดกำลังเกียร์  ก็ยังคงเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญอยู่เสมอและขาดเสียมิได้

ทั้งนี้เมื่อพูดถึง Clutch หรือ คลัตช์รถยนต์ หลายคนคงเคยได้ยินผู้ที่ขับขี่ รถยนต์ที่มีคลัตช์ หรือแม้แต่ครอบครัวคนใกล้ตัว คุณพ่อ พี่ชาย น้องชาย เพื่อนร่วมงาน (ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายทีขับขี่ รถยนต์ที่มีคลัตช์ นะครับ)  จะมักบ่นอุทานอยู่บ่อยๆ ว่า คลัตช์หมด!? หรือ รถเก่า คลัตช์กำลังจะหมด!? อะไรทำนองนี้แล้วไอ้ที่เขาพูดกันว่าคลัตช์หมด!? หรือ รถเก่าคลัตช์กำลังจะหมดต้องรีบไปเปลี่ยนเพื่อนๆ ผู้อ่านทราบกันบ้างไหมว่า จริงๆ แล้วอาการของคลัตช์หมดนั้นเป็นอย่างไร? 

เราลองมาเรียนรู้และเข้าใจการทำงานของ Clutch หรือ คลัตช์รถยนต์ไปพร้อมๆ กันดีกว่าครับ ส่วนเพื่อนๆ คนไหนที่มีความรู้อยู่แล้ว ก็สามารถอ่านเพิ่มเติมได้นะ เพื่อเป็นประโยชน์ประดับมันสมอง  เพราะความรู้ไม่เคยทำร้ายใครมีแต่ยิ่งรู้ยิ่งได้ประโยชน์


แชร์เก็บไว้เลย 5อาการฟ้องว่ากะลังเสียเงินเพราะ คลัทช์รถยนต์

คลัตช์ (ภาษาไทย การเขียนใช้ได้ทั้ง คลัตช์ และ คลัทช์)   เป็นอีกชิ้นส่วนสำคัญสำหรับรถที่ช่วยในการขับเคลื่อนให้รถของเราให้ขับขี่ไปได้อย่างปกติ   ถ้าเครื่องดี แต่คลัทช์พัง รถก็วิ่งไปไม่ได้อยู่ดี  เพราะฉะนั้นวันนี้เรามีเคล็ดลับดีๆ มาแนะนำ รวมถึงการสังเกตปัญหาต่างๆ ของคลัทช์ เพื่อที่เราจะได้มาดูแลและรักษาคลัทช์กันอย่างถูกต้องนะครับ

3 อาการหลัก ที่ให้สันนิษฐานว่าคลัตช์รถของคุณกำลังมีปัญหา

1. คลัทช์ลื่น นี่เป็นอาการเริ่มต้นที่คุณควรจะสนใจ และมันเป็นลางร้ายที่บอกคุณก่อนที่คลัทช์ของคุณจะหมด อาการคลัทช์ลื่นนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ ใน 2 กรณี คือ 1. คลัทช์ใกล้หมด ซึ่งมีสาเหตุใหญ่มาจากผ้าคลัทช์ที่เริ่มบาง และ  2. เครื่องมีกำลังเกินกว่าที่คลัทช์ จะรับได้ ซึ่งมักจะพบในรถยนต์กลุ่มที่มีการโมดิฟายเครื่องยนต์เท่านั้น  ซึ่งหากรถคุณไม่ได้โมดิฟายเครื่องยนต์   แน่นอนว่า นี่เป็นสาเหตุของอาการคลัทช์ใกล้หมดที่เริ่มบ่งชี้อาการว่า รถของคุณกำลังไม่ปกติ

2. ความเร็วลดลงในรอบเครื่องเท่าเดิม บางครั้งในรถยนต์บางรุ่น คุณอาจไม่พบอาการคลัทช์ลื่นก็เป็นไปได้ และ นี่อาจเป็นอาการอย่างที่ 2    โดยเฉพาะ ในรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ  ที่ยากมากที่คุณจะสังเกตอาการคลัทช์ลื่น บางครั้งถ้าคุณพบว่า ที่ความเร็วเท่าเดิม แต่ใช้รอบเครื่องสูงขึ้นกว่าเดิม หรือรอบเครื่องเท่าเดิม แต่ได้ความเร็วต่ำกว่าที่เคยทำได้ นั่นก็เป็นอาการหนึ่งของคลัทช์ลื่นที่ช่วยเตือนคุณก่อนคลัทช์จะหมดเช่นกัน

3. ขึ้นเนินชันได้ช้ากว่าปกติ บางครั้งทั้ง 2 อาการขั้นต้นที่กล่าวไป   คุณอาจจะยังไม่พบอาการ แต่ถ้าคุณสามารถสังเกตได้ว่า รถเริ่มไต่เนินได้ช้า หรือต้องลดจังหวะเกียร์เพื่อขึ้นเนิน   ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนไม่จำเป็นนั้น นี่เป็นอาการเริ่มต้นของอาการคลัทช์บาง  ที่เป็นต้นเหตุอาหารคลัทช์หมด เช่นกันครับ

ดูเพิ่มเติม:
>> 
เทคนิคการขับ เมื่อรถน้ำมันกำลังจะหมด
>> ตัวย่อภาษาอังกฤษในระบบรถยนต์คืออะไรบ้าง?

ส่วนประกอบของคลัตช์รถยนต์

ส่วนประกอบของคลัตช์รถยนต์

ส่วนประกอบของคลัตช์รถยนต์

วิธีใช้งานเพื่อยืดอายุ คลัตช์อย่างถูกต้อง

โดย อาการทั้ง 3 นี้ คุณสามารถสังเกตได้ ถ้ารถคุณเริ่มมีอาการคลัทช์ใกล้หมด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตามปกติแล้วคลัทช์ 1 ชุด  จะมีอายุการใช้งานที่ 150,000-200,000  กิโลเมตร

หากคุณต้องการให้คลัทช์ใช้งานได้นานๆ  ควรจะต้องรู้จักวิธีการใช้คลัทช์ให้ถูกต้อง  ตาม  4 ข้อหลักสำคัญการใช้งานที่ถูกต้องและยืดอายุการใช้งานของ คลัตช์ ดังนี้

1. อย่าเลี้ยงคลัทช์  หลายคนมักนิยมเหยียบแช่คลัทช์ หรือที่เราเรียกกันว่า เลี้ยงคลัทช์ โดยเฉพาะใครก็ตามที่นิยมขับรถในเขตเมืองการเหยียบคลัทช์แช่ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง และสำหรับเกียร์อัตโนมัติ นี่คือคำตอบที่ดีสำหรับ ใครที่ถามว่าทำไมต้องเปลี่ยน D เป็น N ทั้งๆ ที่รถติดไม่นาน  นั่นก็เพราะว่า ในตัว Torque Convertor นั้น มันก็มีคลัทช์เช่นกัน

2. อย่าเหยียบคลัทช์โดยไม่จำเป็น  ตามปกติแล้ว คลัทช์เราจะต้องใช้งานมันนั้นก็ต่อเมื่อ เราต้องการเปลี่ยนเกียร์ ซึ่งนั่นเป็นจังหวะเดียวที่เราจะใช้ ดังนั้นใครที่ใช้คลัทช์บ่อยๆ โดยไม่จำเป็น ก็จะทำให้คลัทช์หมดไว

3. อย่าพักเท้าที่คลัทช์  หลายคนมักจะชอบพักเท้ารอที่คลัทช์ เพื่อรอจังหวะเปลี่ยนเกียร์ แต่ความจริงแล้วมันเป็นพฤติกรรมที่ผิด  เพราะเพียงน้ำหนักนิดเดียวที่กดลงแป้นคลัตช์   ก็อาจทำให้จานกดคลัทช์หนีห่างจาก ฟลายวีล และทำให้คลัทช์สึกหรอมากกว่าปกติได้

4. หลีกเลี่ยงการทำคลัทช์ไหม้  นี่เป็นเรื่องที่ต้องจำเอาไว้เลย  สำหรับขาลุยที่ชอบเฮอาตามต่างจังหวัด การขับรถทางไกล โดยเฉพาะใครที่ขึ้นเขาลงห้วยบ่อยๆ  พยายามหลีกเลี่ยงการทำคลัทช์ไหม้ให้ดี เพราะการทำคลัทช์ไหม้นี้จะทำให้หน้าสัมผะสของคลัทช์ เสื่อมไวกว่าปกติ และท้ายที่สุด มันก็นจะเป็นอาการเรื้อรังไปถึงคลัทช์หมด

รูปร่างหน้าตาของ ชิ้นส่วนและ แผ่นคลัตช์รถยนต์

รูปร่างหน้าตาของ ชิ้นส่วนและ แผ่นคลัตช์รถยนต์  

รูปร่างหน้าตาของ ชิ้นส่วนและ แผ่นคลัตช์รถยนต์

รูปร่างหน้าตาของ ชิ้นส่วนและ แผ่นคลัตช์รถยนต์

หมั่นสังเกต และหมั่นนำรถไปเปลี่ยนหรือเช็คระยะการใช้งานของคลัตช์

ทั้งนี้ ขอแถมท้ายในส่วนของ วิธีการเช็คและสังเกต คลัทช์หมด ของรถเกียร์ออโต้ (รถเกียร์อัตโนมัติ) โดย  เวลาเครื่องเย็น พอเราใส่เกียร์เหยียบคันเร่งแล้วใช้รอบสูงกว่าปกติ เช่น รอบเครื่องของคุณ 25,000 ถ้าเกิน 30,000 แสดงว่าคลัทช์ใกล้หมด แต่ถ้าอยู่ที่ 22,000 – 25,000 คือยังปกติดีอยู่   และข้อควรระวัง  คือ   ขณะเหยียบคันเร่ง ห้ามปล่อยเบรคเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นรถอาจจะพุ่งไปชนกับสิ่งที่อยู่ข้างหน้าจนเกิดอุบัติเหตุได้

และอีกหนึ่งข้อสังเกต เวลารถเข้าเกียร์ถอย แล้วรถไม่ถอยตามปกติ เตรียมใจซ่อมไว้เลยนะครับ   และตามปกตินั้นเกียร์ออโต จะเริ่มจากคลัทช์หมดก่อน แล้วจึงจะลามไปส่วนอื่นๆ   ซึ่งเวลาซ่อมควรเปลี่ยนใหม่ยกชุดไปเลย จะง่ายและราคาถูก ดีกว่ามาเปลี่ยนทีละเกียร์

Clutch car คลัตช์หมด!? เคล็ดลับน่ารู้ วิธีสังเกตและดูแลรักษาคลัตช์รถยนต์

บทสรุปทิ้งท้าย ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง ความหมายการทำงานของคลัตช์ และวิธีการใช้งานและสังเกตอาการคลัตช์หมดที่ได้นำเสนอไปนี้   ก็เพื่อดูแลรถที่คุณรักให้อยู่กับคุณไปนานๆ   และอย่าลืมตรวจสอบ และสังเกตอาการผิดปกติของส่วนต่างๆ ของรถยนต์อย่างสม่ำเสมอนะครับ  เพื่อจะได้แก้ไข้ปัญหาได้ทัน

Chobrodขอฝากความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ไว้เพียงเท่านี้และอย่าลืมแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องรถยนต์ของคุณให้เราด้วยโดยการให้ Comment ด้านล่างนี้ได้เลย