9 อาการเสี่ยงอันตราย ที่ไม่เหมาะกับการขับรถบนท้องถนน

ประสบการณ์ใช้รถ | 21 เม.ย 2563
แชร์ 0

9 อาการเสี่ยงอันตรายขณะขับรถบนท้องถนน อาการไหนบ้าง ที่ต้องงด หรือระวังเมื่อจำเป็นต้องขับรถยนต์ ผลเป็นอย่างไร อาการแบบไหนมารู้พร้อม ๆ กันได้เลย

>> เส้นตาย! จ่ายค่างวดรถช้าได้กี่วัน ถึงจะไม่โดนยึดรถ
>> ทำไงไม่ให้สับสน !? ระว่าง “เบรก” และ “คันเร่ง”

การเดินทางด้วยยาพาหนะส่วนตัว หรือรถสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักยานยนต์ แม้กระทั่งรถบัส หรือรถตู้สาธารณะ ล้วนแล้วก็ต้องเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเดินทางเสมอ เนื่องจากในปัจจุบันอัตราการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทยนั้นสูงมาก ต้นเหตุหลักมาจากความประมาท เมาสุรา ขับรถกระชั้นชิด แต่ก็ยังไม่ใช่ทั้งหมด เพราะการก่อให้เกิดอุบัติเหตุยังมีปัจจัยอื่นทางสุขภาพส่วนตัว แม้กระทั่งยาที่ได้รับไป วันนี้ CHOBROD.COM จะบอกกล่าวให้ข้อมูลเพื่อน ๆ ได้ทราบถึง 9 อาการเสี่ยง ที่ไม่ควรขับรถ จะมีอะไรอาการใดบ้างนั้น มาดูกัน ผลของมันคืออะไรอันตรายไหม และสำรวจดูว่าเพื่อน ๆ มีภาวะเสี่ยงกับอาการเหล่านี้หรือเปล่า

9 อาการเสี่ยงอันตราย ที่ไม่ควรขับรถบนท้อง

9 อาการเสี่ยงอันตราย ที่ไม่เหมาะกับการขับรถบนท้องถนน​

1.อาการเกี่ยวกับสายตา

อาการทางสายตาซึ่งการขับขี่รถยนต์นั้นต้องใช้สายตาอย่างมากในการรับรู้ ถ้าท่านใดมีอาการโรคเกี่ยวกับตา อาทิ ต้อหิน ต้อกระจก หรือจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งโรคเหล่านี้จะสร้างปัญหาอย่างมากในการขับขี่รถยนต์เวลากลางคืน เพราะจะทำให้วิสัยทัศน์การมองเห็นไม่ชัดเจน อาการต้อหินจะทำให้การมองเห็นนั้นจะแคบลง การมองเห็นแสงไฟที่พล่ามัว และทำให้มองเห็นภาพบริเวณรอบ ๆ ได้ไม่ชัดเจน

2.โรคพาร์กินสัน

โรคนี้หลายคนคงมองว่าเป็นโรคแก่ แต่นั่นมันไม่ใช่อย่างที่คิดเพราะโรคพาร์กินสันคนวัยหนุ่มก็สามารถเป็นได้เช่นกัน โดยอาการดังกล่าวจะเป็นแบบนี้ มีอาการเกร็ง มือสั่น เท้าสั่น ทำอะไรช้าลง เมื่อต้องขับรถจะไม่สามารถขับขี่ได้ดี เป็นโรคที่เกิดจากอาการทางระบบประสาท ทำให้การเคลื่อนไหวช้า มักจะสั่นขณะอยู่เฉย ๆ หากขยับตัวอาการสั่นก็ทุเราลง นั่นก็เป็นความเสี่ยงอยู่บ้างเวลาขับขี่ ถึงจะไม่มากแต่ก็ควรระวัง

อาการเกี่ยวกับสายตาจะทำให้การมองเห็นไม่ได้ชัดเจน

อาการเกี่ยวกับสายตาจะทำให้การมองเห็นไม่ได้ชัดเจนขับรถคนเดียวจะอันตรายมาก

3.โรคลมชัก

มาถึงโรคลมชัก โรคนี้มีความอันตรายขณะขับขี่อย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอาการชักเกร็ง และกระตุกโดยที่ไม่รู้ตัว สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย สาเหตุเกิดจากได้หลากหลายปัจจัย แต่หลัก ๆ จะมาจากไฟฟ้าในสมองมีความผิดปกติ หากมีการกระตุ้น อาจทำให้อาการกำเริบ และชักได้

4.อาการทางสมอง

อาการเกี่ยวกับสมองขั้นต้น อาทิ อาการหลง ๆ ลืม ๆ อาจจะเกิดได้กับหลายคน หลายอย่าง หลายสาเหตุ เนื่องจากนอนไม่พอ ทำให้สมองตื้อคิดไม่ออก ลืมว่าจะต้องไปไหน ไปยังไง ซึ่งอาจจะมีผลต่อการตัดสินใจในการขับขี่รถยนต์ ที่ต้องมีการตัดสินใจที่เด็ดขาดอยู่สมควร

เพื่อความปลอดภัยถ้ามีหนึ่งในก้าวโรคดังนี้คุณไม่ควรจะขับรถคนเดียว

เพื่อความปลอดภัยถ้ามีหนึ่งในก้าวโรคดังนี้คุณไม่ควรจะขับรถคนเดียว

5.อาการข้อเสื่อม ข้ออักเสบต่าง ๆ

โรคปวดข้อ ปวดกระดูก อาการข้อเสื่อม ข้ออักเสบในส่วนต่าง ๆ อาการนี้อาจจะไม่หนักเท่าไหร่ แต่ทรมานมาก ๆ เมื่อมาขับขี่รถยนต์บนถนน โดยเฉพาะขับขี่เป็นเวลานาน ๆ ไม่สามารถเอี้ยวตัว หรือบิดไปมาได้ ทำให้เพื่อมีอาการจะทำให้เราใช้สมรรถภาพทางร่างกายได้น้อยลงมาก

6.โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดในสมอง ทำให้แขนขานั้นไม่มีแรงขับรถ หรือ เหยียบคันเร่ง เหยียบเบรก อาจมีการเกร็งและชักกระตุก หรือ ขากระตุก ส่งผลต่อการเหยียบเบรกหรือเหยียบคันเร่ง โดยไม่ตั้งใจ ทำให้เกิดเหตุสุดวิสัย ระบบสมองสั่งการได้ไม่เต็มที่ ทำให้แขน ขาตอบสนองได้ช้าลง เมื่อเกิดเหตุการกระชั้นชิดก็ยากที่จะตอบสนอง

7.โรคหัวใจ

โรคยอดฮิตของคนไทย โรคหัวใจ ขับรถอยู่ดี ๆ มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง แน่นหน้าอกหายใจไม่ออก เมื่อต้องขับขี่รถยนต์เป็นเวลานาน ความเครียดเมื่อรถติด ทำให้อาการดังกล่าวกำเริบ แล้วนำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรงได้

8.โรคเบาหวาน

เมื่อน้ำตาลในเลือดจะเกิดอะไรขึ้น หลาย ๆ ท่านคงจะรู้แล้วว่า ต้องมีอาการวูบอย่างแน่นอน และหากกำลังขับรถยนต์อยู่ล่ะ เราจะวูบไม่ได้เลยนะ นั่นแหละคืออาการของโรคเบาหวาน หน้ามืด ใจสั่น สมาธิไม่ดีเหมือนคนปกติ ตาพร่ามัว ทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดลงมาก

9.การกินยา

การรับประทานยา ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน เนื่องจากฤทธิ์ของยานั้น มีหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะยาแก้แพ้ต่าง ๆ ควรเลี่ยงการขับขี่รถยนต์อย่างมาก เนื่องจากจะทำให้ง่วง มึอาการมึนงง การตอบสนองการขับขี่ทำได้ไม่ดีเหมือนเดิม ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้อย่างง่ายดาย เพราะฉะนั้นไม่ควรรับประทานยาที่มีฤทธิ์แรงก่อนขับรถทุกครั้ง

โดยอาการทั้งหมดนั้น ล้วนแล้วก่อให้เกิดความเสี่ยงบนท้องถนน มากหรือน้อยก็อยู่ที่อาการของแต่ละบุคคล ต้องมั่นดูแลสุขภาพ ตรวจสุขภาพประจำปี เตรียมตัวเองให้พร้อม พักผ่อนให้เพียงก่อนที่จะใช้รถใช้ถนนเสมอ สุดท้ายสิ่งสำคัญที่สุดนั่นก็คือต้องไม่ประมาทเมื่ออยู่บนท้องถนน เพราะไม่ได้มีเพียงแค่เราเท่านั้นที่อยู่บนถนน มีอีกหลากหลายชีวิตที่ฝากไว้ร่วมกับคุณ เพียงแค่ปฏิบัติตามนี้ก็สามารถหลีกเลี่ยงจากการเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดกันได้บ้างแล้ว ไม่มากก็น้อย สำหรับวันนี้ช่วงทิป เคล็ดลับดี ๆ จาก ตลาดรถยนต์ออนไลน์ CHOBROD.COM ต้องขอลากันไปก่อน แต่ครั้งหน้าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไรต่อไปนั้นโปรเติดตามกันต่อไป

ติดตาม ข่าวรถยนต์ใหม่ ได้ที่นี่
ติดตามเรื่อง รีวิวรถยนต์ใหม่ ได้ที่นี่
ติดตามเรื่อง ราคารถยนต์ใหม่ๆ ได้ที่นี