9 การแต่งรถที่นิยม แต่บอกเลยว่าผิดกฎหมาย พร้อมโทษ

ประสบการณ์ใช้รถ | 19 ส.ค 2562
แชร์ 27

สิงห์นักแต่ง เชิญทางนี้! การแต่งรถเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่คุณอาจคิดว่าไม่เป็นไร แต่เข้าข่ายผิดกฎหมายเต็ม ๆ มีอะไรบ้าง อ่านได้ในบทความนี้!

แน่นอนว่า รถยนต์กับการแต่งรถเป็นของคู่กันมานาน ซึ่งการดัดแปลง ตกแต่งรถในแต่ละครั้งต่างก็มีจุดประสงค์ที่ต่างกันไปตามปัจเจกบุคคล บ้างแต่งรถเพื่อความสวยงาม บ้างแต่งรถเพราะความชอบ และบ้างแต่งรถเพราะความเชื่อ ซึ่งบางครั้ง รถแต่งอาจไปสร้างความเดือดร้อนให้ผู้ใช้ถนนคนอื่น ๆ โดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้แล้ว ยังมีกรณีดัดแปลงรถไปใช้ในทางผิดเกิดขึ้นหลายครั้ง จึงทำให้มีกฎหมายออกมา เพื่อป้องกันรถแต่งที่อาจสร้างความเดือดเนื้อร้อนใจให้ผู้อื่น และป้องกันการนำไปใช้ในเจตนาร้าย 

​การแต่งรถ ต้องอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย จึงจะไม่ถูกจับ

การแต่งรถ ต้องอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย จึงจะไม่ถูกจับ

 

ซึ่งวันนี้ Chobrod จะพาไปดูข้อห้าม และข้อควรระวังในการแต่งรถให้อยู่ใต้ขอบเขตของกฎหมายโดยไม่ถูกตำรวจจับไปเสียก่อน 

1. ติดสติ๊กเกอร์บนตัวรถ หรือหรือเปลี่ยนสีรถ 

การติดสติ๊กเกอร์บนตัวรถ อาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่จริง ๆ แล้ว แม้จะติดไม่ถึง 20% ของพื้นที่ตัวรถ แต่ถ้าเป็นการทำให้สาธารณชนเข้าใจว่า สีดังกล่าวเป็นสีของรถ ก็ถือว่าผิดกฎหมาย ส่วนการเปลี่ยนสีรถแล้วไม่ได้แจ้งหลังการเปลี่ยนแปลงภายใน 7 วัน เท่ากับว่ามีความผิดเต็ม ๆ ข้อหาเปลี่ยนแปลงสีรถให้ผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้ ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 13 และมาตรา 60 ต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

การติดสติ๊กเกอร์บนตัวรถ  มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

การติดสติ๊กเกอร์บนตัวรถ  มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

 

2. เปลี่ยนท่อไอเสียที่มีระดับเสียงดังเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด

 คิดว่าผู้ใช้รถหลายท่านน่าจะทราบกันดีว่าการแต่งรถให้ “ท่อดัง” เป็นเรื่องที่เสี่ยงต่อการโดนจับมากแค่ไหน โดยตามกฎหมายแล้ว ท่อรถปกติควรมีความดังไม่เกิน 95 เดซิเบล หากเกินกว่านี้ จะมีความผิดกรณีแก้ไขดัดแปลงรถโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ท่อรถที่มีเสียงดังเกิน 95 เดซิเบล มีโทษปรับสูงสุด 1,000 บาท

ท่อรถที่มีเสียงดังเกิน 95 เดซิเบล มีโทษปรับสูงสุด 1,000 บาท

 

3. ใส่ไฟไอติม หรือใส่ไฟหน้าหลายสี

การใส่ไฟไอติม หรือเปลี่ยนไฟรถให้เป็นไฟหลากสี ถือว่ามีความผิดเต็มประตู เพราะเป็นการละเมิดข้อกฎหมายซึ่งเป็นข้อบังคับว่า ไฟเลี้ยวต้องเป็นแสงสัญญาณกะพริบสีอำพัน, ไฟหยุด (ไฟเบรก) ต้องเป็นแสงแดงเท่านั้น ตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 

นอกจากนี้ยังผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตราที่ 12 ฐานมีอุปกรณ์ภายในรถไม่ครบถ้วนภายในรถ หรือมีการเพิ่มเข้าไปจนอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่น โดยมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

​ติดตั้งไฟไอติมบริเวณท้ายรถ มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ติดตั้งไฟไอติมบริเวณท้ายรถ มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

 

4. ใส่แผ่นป้ายทะเบียนปลอม ติดป้ายเอียง มีวัสดุปิดทับ 

แน่นอนว่า การใส่ป้ายทะเบียนรถปลอม มีความผิดแน่ ๆ หากตรวจสอบแล้วพบว่า เลขรถไม่ตรงกับสำเนารถที่จดทะเบียนไว้ จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ฐานปลอมเอกสารราชการ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1000 - 10,000 บาท 

รวมถึงการติดป้ายทะเบียนเอียง การทำป้ายทะเบียนใช้เอง หรือนำวัสดุมาปิดทับด้วยเช่นกัน หากฝ่าผืนจะผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2522 มาตราที่ 11 ฐานใช้แผ่นป้ายทะเบียนมีลักษณะไม่ถูกต้องตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

แต่ในกรณีที่ป้ายทะเบียนชำรุด เจ้าของรถสามารถติดต่อขอแผ่นป้ายใหม่ได้ที่สำนักงานขนส่งที่รถคันนั้นจดทะเบียน

ปิดท้ายทะเบียนเพื่อเสริมดวง มีความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ปิดท้ายทะเบียนเพื่อเสริมดวง มีความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

 

ดูเพิ่มเติม 
>>
“BIG Motor Sale 2019” จัดอันดับ 23 รางวัลรถยนต์ดีเด่นแห่งปี 2018-2019
>> 6 ไอเท็มแต่งรถยอดนิยมที่นักแต่งรถต้องรู้ก่อนซื้อว่ามันมีประโยชน์อะไรบ้าง ?

5. การใส่ล้อใหญ่จนแบะเพื่อหลบซุ้มหรือตีโป่งขยายซุ้มล้อ 

แม้ข้อกฎหมายจะไม่ระบุชัดเจนเกี่ยวกับขนาดของล้อ แต่รู้หรือไม่ว่า หากใส่ล้อใหญ่มาก ๆ จนต้องทำการแบะล้อเพื่อหลบซุ้ม ถือว่าผิดกฎหมายเช่นเดียวกัน ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 5, มาตรา 12, มาตรา 14, มาตรา 58, มาตรา 60 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 6 

การตีโป่งขยายซุ้มล้อ มีความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522

การตีโป่งขยายซุ้มล้อ มีความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522

 

6. ถอดเบาะหลังออกแล้วติดโรลบาร์ 

จริง ๆ แล้วการติดโรลบาร์ ไม่ผิด เพียงแค่ต้องทำให้ถูกกฎหมาย คือ ไม่ทำให้จำนวนเบาะนั่งลดลงจากที่ระบุไว้ในเล่มทะเบียนรถ แต่! หากถอดเบาะหลังออกแล้วติดโรลบาร์นั้น ถือเป็นความผิดเต็ม ๆ ข้อหามีอุปกรณ์ภายในรถไม่ครบถ้วนภายในรถ หรือมีการเพิ่มเข้าไปจนอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่น โดยมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาทเลยทีเดียวตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตราที่ 12  

การถอดเบาะแล้วติดโรลบาร์มีความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

การถอดเบาะแล้วติดโรลบาร์มีความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

 

7. ติดตั้งอุปกรณ์ออกนอกตัวถังรถ 

การติดตั้งอุปกรณ์นอกตัวรถ อาทิ ติดขนตา หรือไขลานบริเวณตัวรถเพื่อความสวยงาม หรือแฟชั่น ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตราที่ 14 ฐานติดตั้งส่วนประกอบรถโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

การติดขนตาบนตัวรถเพื่อความสวยงาม มีโทษปรับปรับไม่เกิน 1,000 บาท

การติดขนตาบนตัวรถเพื่อความสวยงาม มีโทษปรับปรับไม่เกิน 1,000 บาท 

 

8. ยกสูง หรือ โหลดเตี้ยเกินไป 

การโหลดต่ำหรือยกสูง มีข้อควรระวังในการปฏิบัติ รถของคุณจะเข้าข่ายผิดหรือไม่ ดูได้ดังนี้

สำหรับการยกสูง ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ระบุว่า จะต้องไม่ยกสูงเกิน 135 เซนติเมตร ส่วนกระบะ 4W ที่มีความจำเป็นต้องยกสูงเกินมาตรฐานดังกล่าว จะต้องขอหนังสือจากวิศวกรไปแจ้งต่อกรมการขนส่งทางบกเสียก่อน ไม่เช่นนั้น จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย 

หากยกรถ ห้ามยกสูงเกิน 135 เซนติเมตร

หากยกรถ ห้ามยกสูงเกิน 135 เซนติเมตร

 

ส่วนการโหลดเตี้ยนั้น ห้ามต่ำกว่า 40 เซนติเมตร โดยวัดจากระยะกึ่งกลางไฟหน้า กับระดับพื้นถนน ซึ่งจุดกึ่งกลางไฟหน้าต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานดังกล่าว 

การโหลดต่ำ ห้ามโหลดต่ำกว่า 40 เซนติเมตร

การโหลดต่ำ ห้ามโหลดต่ำกว่า 40 เซนติเมตร

 

โดยหากมีการดัดแปลง โหลดต่ำหรือยกสูงเกินที่กฎหมายกำหนด เท่ากับมีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 14, มาตรา 60 มีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท 

9. การเสริมแหนบและเบิลโช้ก

การเสริมแหนบและเบิลโช้ก มักพบในบรรดารถกระบะที่ใช้ในการค้าขาย เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้บรรทุกของได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น หากจะเสริมแหนบหลัง หรือเบิลโช้กย่อมทำได้ แต่ต้องแจ้งนายทะเบียน ไม่เช่นนั้น จะมีความผิดข้อหาดัดแปลงสภาพรถ ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ฐานดัดแปลงตัวรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้แล้ว มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

หากเสริมแหนบรถแล้วไม่ได้แจ้งนายทะเบียน มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

หากเสริมแหนบรถแล้วไม่ได้แจ้งนายทะเบียน มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท 

 

การแต่งรถไม่ใช่เรื่องที่ผิด ทั้งนี้ ล้วนขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม หากทำการดัดแปลงมาแล้ว ต้องแจ้งกรมขนส่งทางบกให้ทราบ และทำทุกอย่างให้อยู่ในของเขตของกฎหมาย จะได้ไม่ต้องเสียเงิน เสียเวลา และเสียความรู้สึกโดยใช่เหตุ ด้วยความหวังดีจาก Chobrod 

ดูเพิ่มเติม 
>>
ขนส่งทางบกเตือน "ป้ายรถซีด-ชำรุด" ไม่เปลี่ยนเจอปรับ 2 พันบาท
>> “แต่งรถ” ไม่ได้มีดีแค่ความสวย มาดูประโยชน์ของการแต่งรถกันเถอะ

ติดตามข่าวสารรถยนต์ คลิกที่นี่
ต้องการซื้อรถมือสองสภาพดี เชิญเข้าดูที่ตลาดรถตรงนี้

M.BABE