ยางรถยนต์หนึ่งในส่วนประกอบของรถยนต์ที่เราควรจะให้ความสำคัญเช่นกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควรตรวจเช็คเป็นประจำ วันนี้ Chobrod มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องยางรถยนต์มาฝากกัน
สำหรับรถยนต์ “ยางรถยนต์” ก็คืออีกหนึ่งด้านของการดูแลรถยนต์ที่สำคัญไม่แพ้ด้านอื่นๆ เพราะนอกจากจะช่วยให้รถอยู่คู่กับเราได้นานๆแล้ว ก็ยังจะช่วยให้ปลอดภัยในการขับขี่ด้วย วันนี้ Chobrod มี 7 เรื่องที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับยางรถยนต์กัน จะได้เป็นความรู้ดีๆเอาไว้ในการดูแลรักษายางรถยนต์
1.ยางเก่าเก็บคือยางด้อย
หลายคนเข้าใจว่ายางเก่าเก็บเป็นยางที่ด้อยคุณภาพกว่ายางใหม่ เนื่องจากสภาพการจัดเก็บในบ้านเราที่ร้อนทำให้บางเสื่อมคุณภาพ ซึ่งบางครั้งยางเก่าเก็บที่นำมาขายก็เป็นยางใหม่เหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วยางรถยนต์ใหม่ที่ยังไม่ได้ใช้งาน แม้จะถูกเก็บเป็นเวลานานก็เสื่อมสภาพน้อยมาก มีรายงานการวิจัยว่ายางใหม่ที่อายุกว่า 2 ปี ยังสามารถใช้ได้ดีเทียบเท่ากับยางใหม่ที่ออกมาจากโรงงาน
ดูเพิ่มเติม
>>เหตุผลที่ยางรถยนต์ระเบิดอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
>>เรื่องน่ารู้....เกี่ยวกับยางรถยนต์
ยางเก่าเก็บแต่ถ้ายังไม่เคยใช้งานก็ยังโอเคอยู่
2.ยางสปอร์ตเกาะถนนดีกว่ายางนุ่มเงียบ
ความจริงที่ว่ายางสปอร์ตเกาะถนนดีกว่ายางนุ่มเงียบ อันนี้คือเรื่องจริง เนื่องจากการออกแบบบางสปอร์ตนั้นจะเน้นสมรรถนะการขับขี่ เพื่อการเข้าโค้งด้วยความเร็ว เรื่องนี้ก็ถูกบ้างแต่ยังไม่ใช่ทั้งหมด เพราะในความเป็นจริงแล้วยางรถยนต์จะเกาะถนนได้ดีแค่ไหน ขึ้นกับสูตรผสมเนื้อยางกับการออกแบบลายดอกยาง ซึ่งในปัจจุบันก็มีการผลิตยางนุ่มเงียบที่ให้ประสิทธิภาพได้ดีพอๆกับยางสปอร์ตแล้ว
3.หน้ากว้างมากคือเกาะถนนมาก
หลายคนเข้าใจว่ายาวที่มีหน้ากว้างจะช่วยให้เกาะถนนดีขึ้น ซึ่งมันก็ช่วยได้จริงๆทำให้ประสิทธิภาพในการเกาะถนนดีขึ้นและเบรกได้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูหน้าสัมผัสล้อด้วยว่ารองรับได้ไหม เนื่องจากยางหน้ากว้างและล้อแคบก็อาจทำให้หน้ายางสัมผัสถนนได้น้อยกว่า และไม่มีประโยชน์ถ้าเราจะเปลี่ยนยางเป็นหน้ากว้างขึ้น ถ้าหากล้อแคบเพราะยังไงก็ไม่ได้สัมผัสถนนได้ทั้งหมดอยู่ดี
ยางหน้ากว้างเกาะถนนดีก็จริง แต่ต้องขึ้นกับฐานล้อด้วย
4.ยางประหยัดน้ำมันคือไม่ปลอดภัย
หลายคนคิดว่า “ยางประหยัดน้ำมัน” ไม่ปลอดภัย และเทคโนโลยีที่ทำให้ใช้แรงขับที่ล้อน้อยลง เทคโนโลยีลดแรงต้านการหมุน ช่วยลดแรงเสียดทานที่เกิดขึ้น ทำให้เข้าใจว่ายางประหยัดน้ำมันมีแรงเสียดทานต่ำกว่ายางทั่วไป และคิดว่าเบรกหยุดได้ไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วการเบรกของรถขึ้นกับคุณสมบัติของเนื้อยางและดอกยางที่ออกแบบมาให้สัมผัสกับถนน ยิ่งดอกยางมีพื้นที่มากก็ยิ่งหยุดดี ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับเทคโนโลยีลดแรงต้านการหมุนของยางเลย การเบรกจะดีไม่ดีนั้นขึ้นกับความเร็วรถ สภาพถนน และพฤติกรรมการขับขี่ ส่วนยางนั้นเป็นเหตุผลแค่นส่วนหนึ่งเท่านั้น
5.ยางต่างประเทศดีกว่ายางไทย
เรามักคิดว่ายางรถยนต์ยี่ห้อต่างประเทศดีกว่าไทย แต่ความเป็นจริงแล้วการที่ยางรถยนต์ของแต่ละบริษัทออกมาอาจมีกรรมวิธีการผลิตที่ต่างกัน เครื่องมือต่างกัน แต่ทั้งหมดก็ต้องตรวจสอบคุณภาพก่อนออกมาจำหน่าย ในปัจจุบันแต่ละบริษัทก็ได้ผลิตเพื่อให้สอดคล้องกันในแง่คุณภาพ ซึ่งปัจจุบันไม่ว่าจะผลิตที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย หรือญี่ปุ่น ก็แทบจะไม่ต่างกันเลย
ทุกบริษัทต้องตรวจสอบยางรถยนต์ก่อนออกจำหน่ายอยู่แล้ว
6.ยางโนเนมคุณภาพต่ำ
ความเข้าใจผิดอย่างหนึ่งของเราก็คือ ยางราคาถูกไม่ได้แปลว่าไม่ดี เพราะในความเป็นจริงแล้วยางยี่ห้อดังๆส่วนใหญ่มีการวิจัยและพัฒนามาต่อเนื่อง มีความความรู้ เงินทุน อีกทั้งเป็นบริษัทที่ใหญ่กว่า จึงต้องมีการรักษาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับยางรถยนต์ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก บางยี่ห้อคุณภาพก็ไม่ได้ด้อยกว่ายางชั้นนำเลย เพราะต้นทุนค่าทำการตลาดน้อยกว่า ทำให้ราคาถูกลง ดังนั้นของดีราคาถูกยังคงมี แต่ก็ต้องเลือกดีๆเช่นกัน
7.เปลี่ยนยางเร็วดีกว่า
คนไม่น้อยที่ดูสภาพยางแล้วคิดว่าน่าจะถึงเวลาต้องเปลี่ยนแล้ว ทั้งที่อาจไม่ถึงเวลาเปลี่ยน เพื่อความมั่นใจว่าจะปลอดภัย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยางสมควรเปลี่ยนหรือไม่ก็ขึ้นกับสภาพเนื้อยางว่ายังใช้ได้หรือเปล่า ใช่เล็บจิกแล้วยังนิ่มไหม ดอกยางถึงตำแหน่งสะพานยางหรือยัง ยางมีแตกลายงาหรือเปล่า ถ้าทุกอย่างยังปกติก็ใช้ต่อได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง แม้ว่ายางสมควรใช้เพียง 3 ปี หรือ 50,000 ก.ม. เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็ประมาณนั้นที่จะเปลี่ยน เนื่องจากการใช้รถเป็นประจำ
ยางจะเสื่อมสภาพเร็วหรือไม่ก็ขึ้นกับพฤติกรรมผู้ขับขี่ด้วย
คนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องยางรถยนต์และบางครั้งก็เสียเงินไปอย่างเปล่าประโยชน์เพราะความเข้าใจผิดแต่ทั้งนี้การซื้อของก็ขึ้นกับสิทธิของแต่ละคนอาจเพื่อซื้อความสบายใจอันนี้ก็แล้วแต่บุคคลนะส่วนทางChobrodก็ยังคงจะสรรหาเรื่องดีๆ มาฝากเช่นเคย ถ้าอยากกล่าวอะไรก็คอมเม้นมาได้เลย
ดูเพิ่มเติม
>>สลับยางยืดอายุการใช้งาน เรื่องเล็กๆที่ไม่ควรมองข้าม
>>5 สาเหตุที่ทำให้ยางเสื่อมสภาพเร็วกว่าเวลาอันควร