3 ขั้นตอนดูแลรถที่สาวๆ ทำเองได้!! หลังจากขับรถลุยน้ำ

ประสบการณ์ใช้รถ | 1 ก.ย 2560
แชร์ 1

ฝนตกแทบจะทุกวันแบบนี้ สาวๆ หลายท่านคงต้องเผชิญกับปัญหาการขับรถลุยน้ำ ขั้นหนักๆอาจต้องได้จอดแช่น้ำบ้างเพราะรถติด มิหนำซ้ำยังมีรถข้างๆกวาดน้ำมาใส่รถเราอีก ปัญหาเหล่านี้อาจทำให้จิตตก พากังวลว่ารถจะเป็นอะไรมั้ย ต้องเสียเงินอีกแล้วแน่ๆ ใจเย็นๆ ก่อนนะครับ วันนี้เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากคุณผู้หญิงทุกท่าน ให้หายกังวลหลังขับรถลุยน้ำท่วมมา

ก่อนอื่นควรทำใจยอมรับสักหน่อยนะครับ ว่ารถเราไปลุยน้ำมา การบำรุงรักษาซ่อมแซมนั้น หากจะหวังผลร้อยเปอร์เซนต์คงยาก แต่ก็สามารถทำได้ถ้ารีบแก้ไขก่อนที่ความชื้นจากการขับลุยน้ำจะไปทำร้านรถที่รัก ไปชมขั้นตอนกันได้เลย

น้ำท่วม
น้ำท่วมอาจเป็นเรื่องที่ไม่ไกลตัวสาวๆ อีกแล้วสำหรับการดูแลรถ

อันดับแรก ควรทำทันทีหลังจากลุยน้ำมา

  • การเปลี่ยนถ่ายของเหลว

เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรค น้ำมันพาวเวอร์ น้ำยาหม้อน้ำ เพราะน้ำ ดิน โคลน หรือสิ่งสกปรกแปลกปลอมอาจเข้ามาผสมอยู่ สังเกตุได้จากสีของน้ำมันที่เปลี่ยนโดยการดึงก้านวัดออกมาดู จากนั้นอย่าลืมทำความสะอาดรังผึ้งด้วยล่ะ

  • เปลี่ยนไส้กรอง

เช่น กรองเชื้อเพลิงเบนซิล/โซล่า กรองดักน้ำ กรองแอร์

อันดับสอง ตรวจดูระบบเกียร์-คลัตช์ เบรค

  • หากคุณขับรถเกียร์ธรรมดาแล้วเกียร์แข็งผิดปกติหรือเข้าเกียร์ยาก แสดงว่ามีน้ำหรือ มีสนิมจับในระบบเกียร์-คลัตช์
  • หากเบรคไม่ปกติ ลื่นหรือแข็ง ให้ไปเช็คที่ระบบเบรค ลูกยางและลูกสูบ ว่ามีสนิมหรือไม่

หาสาเหตุของการเกิดปัญหาเกี่ยวกับรถ และแก้ไขได้ถูกจุด
รู้ที่มาก็สามารถหาสาเหตุของการเกิดปัญหาเกี่ยวกับรถ และแก้ไขได้ถูกจุด

อันดับสุดท้าย สายพานและระบบแอร์

  • หากเวลาสตาร์ท  (หลังจากที่จอดรถไว้ข้ามคืนแล้ว) มีเสียงดังเอี๊ยดอ๊าด!! ผิดปกติอาจ

เป็นเพราะสายพานเจอความชื้นทำให้ฝืด  ลองหยอดจารบีหรือสเปร์ยหล่อลื่นฉีดที่สายพาน แล้วลองสตาร์ทเครื่องดูใหม่

  • หากแอร์มีกลิ่นอับ ควรตรวจเช็คที่คลัตช์คอมแอร์

สายพานเมื่อเจอความชื้นหรือเสื่อมสภาพมักจะมีเสียงดัง
สายพานเมื่อเจอความชื้นหรือเสื่อมสภาพมักจะมีเสียงดัง

ขั้นตอนต่างๆที่กล่าวไปนี้ บางขั้นตอนสามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่บางขั้นตอนควรให้ช่างที่มีความชำนาญช่วยแก้ไขให้ เมื่อคุณพอทราบหลักสักหน่อยแล้ว ก็จะสามารถแก้ไขได้ถูกจุดโดยเฉพาะสาวๆ ที่เรื่องรถอาจไม่ได้รู้อะไรมากแต่ก็สามารถนำไปใช้ได้เบื้องต้น ไม่ต้องลองผิดลองถูกหรือที่เรียกว่าไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน

ขั้นตอนที่เรามานำก็มีเพียงเท่านี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆท่านที่กำลังกลุ้มใจ แล้วโอกาศหน้าเราจะนำความรู้ดีๆ มาฝากอีกนะครับ

>> ดูเพิ่มเติม:

- ระวัง! “น้ำมันเครื่องปลอม” คุณก็สังเกตเองได้ ง่ายนิดเดียว

- วิธีแก้ไขเบื้องต้น เมื่อสายพานเสียงดัง

- เครื่องยนต์ความร้อนขึ้นสาเหตุจากอะไร