10 ที่เที่ยวในญี่ปุ่นเพื่อคนรักรถแต่ง

ประสบการณ์ใช้รถ | 31 พ.ค 2561
แชร์ 4

คอรถไทยชอบแต่งรถ เรื่องแต่งรถต้องญี่ปุ่น และที่ญี่ปุ่นก็ต้องมีสวรรค์ของคอแต่งรถอีกที chobrod จะพาไปดู

เมื่อปี 2006 ผู้เขียนบินไปญี่ปุ่น ตื่นเต้นและกังวลสุดๆ ถึงการผจญภัยที่คอยอยู่ ผู้เขียนหวังพบการแต่งรถแบบญี่ปุ่นสักแห่ง สักวิธี แต่เขาไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะได้เจอเพื่อนของเขาที่เป็นนักแต่งรถญี่ปุ่นรายใหญ่สุดคนหนึ่ง ครั้งหนึ่งมีคนบอกผู้เขียนว่าการเดินทางเป็นสิ่งเดียวที่ซื้อได้แล้วทำให้รวยขึ้น และผลคือ มันก็ถูกเรื่องเงิน ผู้เขียนคิดว่าการตะลุยญี่ปุ่นครั้งนี้บรรยายได้เป็นสำนวนญี่ปุ่นว่า “ไม่เรียกว่ารัก แต่ไม่อาจเรียกว่าฝัน”

ผู้เขียนใช้เวลาหกปีแช่อยู่ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น ได้เจอกับคนดังในวงการแต่งรถและสัมผัสพื้นถนนที่โด่งดังที่สุด จึงเป็นเหตุผลในการเลือก 10 ประสบการณ์ พร้อมเคล็ดลับสำหรับผู้ที่พร้อมขึ้นเครื่องไปสัมผัสจริงๆ หมายถึง ว่าตามตรง ผู้อ่านจะจำไม่ได้ว่ากำลังทำงานในออฟฟิซหรือตัดหญ้าอยู่สินะ? และนี่คือสวรรค์ของการแต่งรถญี่ปุ่นที่ผู้อ่านควรไปตามรอยแบบไม่เรียงลำดับ

>> 5 หลักควรจำแต่งรถสวย สบายใจ จ่าไม่โบก

Ebisu D1GP 2017

Ebisu D1GP 2017

Ebisu Circuit (เอบิสุ เซอร์กิต) – Nihonmatsu (นิฮงมัตสึ), Fukushima (ฟูกูชิมะ)

สนามนี้ไม่ต้องเกริ่น นี่คือสนามดริฟท์หายากและหนี่งในสนามที่สมควรขนานนามว่า “สังเวียนศักดิ์สิทธิ์” ถนนยางมะตอยเป็นผืน ที่คดเคี้ยวภายในเขานิฮงมัตสึ ปราบเซียนตัวเก่งระดับโลกและแจ้งเกิดตำนานหลายๆ คน

ยืนชมบนกำแพงมินามิเวลาตี 2 ขณะที่รถดริฟท์แล่นดังผ่านหน้าไป ยางถูพื้น ควันลอยใต้ฟ้าดำหมึก เป็นประสบการณ์ที่ส่งคลื่นความสั่นสะท้านแต่ละลูกทะลวงเข้าไปในกระดูกสันหลัง หยุดสักแปปและมองไปรอบๆ สีที่ซีด รอยชนบนกำแพง และเศษรถกระจายรอบสนาม ทั้งหมดทำให้วิญญาณจากอดีตดูเหมือนจริงทันที ผู้เขียนตะเกียกตะกายจะบรรยายเอบิสุเป็นคำที่แม่นยำ นี่ไม่ใช่สนามดริฟท์ มันคือมรดกมีชีวิตต่อศิลปะของการดริฟท์

เราจะไล่ความลับเล็กน้อยว่าผู้อ่านควรปฏิบัติตัวยังไงเมื่อไปที่นั่น เพื่อป้องกันเหตุการณ์อึดอัดและน่าอับอาย ญี่ปุ่นอบอุ่นและน่าต้อนรับ แต่วัฒนธรรมไม่อาจรู้ได้อย่างที่เป็นเสน่ห์ของคนมาครั้งแรก วัฒนธรรมมีพื้นฐานจากประเพณีและค่านิยม และบ่อยครั้งที่ผู้อ่านมีโอกาสเดียวที่จะสร้างความประทับใจที่ดีกับนักแต่งรถ วัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ดีที่สุดไม่ใช่ “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” เพราะนำมาใช้ที่นี่ไม่ได้ นี่คือมารยาทแบบญี่ปุ่นที่ต้องใช้

มารยาท: ฝึกคำนับ

นี่คือการทักทายคนอื่นแบบญี่ปุ่น นำมือแนบข้างตัวและโน้มตัวไปข้างหน้า 45 องศา แนวคิดของการคำนับคือการสะท้อนโดยตรงของสถานะ ถ้าพบคนมีฐานะทางสังคมสูงกว่า ต้องเอาตัวเองไว้ในตำแหน่งที่ “อ่อนแอ” กว่าของการคำนับเพื่อยืนยันว่าไม่ได้ซ่อนเจตนาไม่ดีต่อใคร การคำนับเป็นการทักทาย ขอบคุณ ขอโทษ ยินดี และขอร้อง ญี่ปุ่นไม่ใช่ประเทศที่ความรู้สึกอ่อนไหว การคำนับจึงเป็นวิธีดีที่สุดเมื่อทักทาย มากกว่าขอจับมือ

Mazda Hiroshima

พิพิธภัณฑ์ข้างบนที่ Mazda Hiroshima

Mazda Hiroshima (มาสด้า ฮิโรชิมะ)

เป็นสักขีพยานการให้กำเนิดรถยนต์ยุคนี้เป็นประสบการณ์เหมือนฝัน และยืนอยู่บนสะพานเหนือไลน์การผลิตที่มีรถออกมาทุกนาทีมีผลต่อจิตใจง่ายมาก Mazda ให้ประสบการณ์ยานยนต์เต็มรูปแบบ จัดแสดงเหตุการณ์ทางยานยนต์ที่น่าภูมิใจที่สุด เช่นเดียวกับแสดงความสุดยอดของการผลิตที่เสร็จในเวลา ขึ้นไปพิพิธภัณฑ์ข้างบน จะพบกับ 787B ที่ชนะเลอมังส์คันจริงและรถรุ่นดังรุ่นอื่นๆ ที่ทำให้ Mazda มีวันนี้ การทำงานในโรงงานทั้งหมดที่ใช้พื้นที่มากกว่า 1.6 ตร.กม. มีแม้แต่ท่าเรือส่งออกรถของตัวเองและชิ้นส่วนต่างๆ ไปรอบโลก

มารยาท: ลองเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น

ผู้อ่านไม่น่าพูดญี่ปุ่นคล่อง นักแต่งรถไม่น่าพูดอังกฤษคล่องเหมือนกัน ก่อนขึ้นเครื่อง เรียนรู้ประโยคพื้นฐานสักเล็กน้อย ไม่มีปัญหาว่าจะพูดผิดพูดถูก ขอแค่พยายาม ก็ปลอดภัยในสายตาชาวญี่ปุ่นแล้ว ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่กลัวชาวต่างชาติเพราะเรื่องเดียว พวกเขาจะพูดอังกฤษใส่

326power

Lexus ที 326power

326power – Hiroshima (ฮิโรชิมะ)

ถ้าผู้อ่านชอบประเพณีและสไตล์ดั้งเดิม งั้นควรไปดูต้นตำรับของความสุดยอดที่ไม่ไกลกว่านี้แล้ว มิตสึรุ ฮารากูจิเป็นนักแต่งที่ยังยึดมั่นตามรากฐานจริงๆ ของตน สมดุลการใช้งานขณะที่ไม่รามือในด้านสุนทรียศาสตร์ มีชื่อเสียงเรื่องระดับความบ้าของหลังเต่าสถิตและอย่าได้แคร์กับความคิดใคร เขาได้มีชื่อเสียงในฐานะหนึ่งในนักแต่งรถที่มีสีสันที่สุดในญี่ปุ่น สร้างวิสัยทัศน์ไม่เหมือนใคร

ฮารากูจิซังบริหารธุรกิจกับพวกนอกกฏหมาย ผลิตรถที่แตกแยกทางความคิด และเสี่ยงในผลงานของเขา ศรัทธาของเขาทำให้ 326power เป็นประสบการณ์ยานยนต์ที่ต้องสัมผัส

มารยาท: ใช้สองมือให้และรับสิ่งของ

หลังทักทายผู้อ่านแล้ว นักแต่งรถส่วนใหญ่จะรีบยัดนามบัตรเลย นี่คือการแนะนำตัวอย่างเป็นทางการในญี่ปุ่น เพื่อช่วยในการจำชื่อแต่ละฝ่ายและช่วยเหลือด้านความร่วมมือในอนาคต การรับนามบัตรใช้ทั้งสองมือ แล้วคำนับเล็กน้อยเพื่อให้ดูพิเศษหน่อย มองที่นามบัตรสักแปปและสนใจที่เนื้อหาในนั้น อย่างที่คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ภูมิใจกับมันค่อนข้างมาก จากนั้น เก็บในกระเป๋าเงินให้เรียบร้อย ไม่ใช่กระเป๋ากางเกง ซึ่งหยาบคายมาก ถ้าได้รับของฝากหรือของขวัญจากนักแต่งรถตอนออกจากร้าน ใข้ทั้งสองมือรับอีกรอบเพื่อแสดงคำขอบคุณอย่างเหมาะสม

Nissan DNA Museum

Nissan DNA Museum

พิพิธภัณฑ์ Nissan DNA Museum – Kanagawa (คานากาวะ)

นานมาแล้ว ประตูสู่สิ่งมหัศจรรย์ที่เก้าของโลกถูกปิดสำหรับสาธารณชน แต่ เมื่อเวลาผ่านไป ประตูเปิดออกมาเพื่อเผยหนึ่งในชุดสะสมรถที่บ้าดีเดือดที่สุดในโลก และผู้นำเที่ยวเป็นคนรักรถสุดๆ ที่ดีไซน์รถเหล่านั้นมาก่อน

ถ้าเป็นแฟน Nissan นี่คือของหายากของประสบการณ์ยานยนต์ บ้านของเจ้าก๊อดซิลล่าอย่างเป็นทางการถูกสร้างเพื่อดึงดีไซเนอร์ขึ้นมาจากวังวนหลังต้องออกแบบรถครอบครัวสี่ประตูดูน่าเบื่อมาหลายวัน และตอนนี้มีรถอยู่มากกว่า 300 คัน ไม่มีอะไรให้เตรียมใจสำหรับรถ Nissan และรถแข่งเกือบทุกคัน ในหลังคาเดียว Calsonic R32, Hasemi Skyline Super Silhouette, Xanavi R35 Super GT 500, และ Nissan R390 GT1, นี่แค่น้ำจิ้ม, เอาล่ะ เรียกว่าบ้านเถอะ

มารยาท: ขออนุญาต ทุกอย่าง

ไม่ว่าจะถ่ายรูป ใช้สุขา หรือดูรถในเวิร์คช็อป แน่ใจด้วยว่าขอเขาแล้ว ผู้อ่านอาจเห็นรูปของเวิร์คช็อปเป็นล้านในเน็ตหรือนิตยสาร แต่เวิร์คช็อปก็ยังเป็นทรัพย์สินเอกชน จึงอย่าคิดไปเองหมด นักท่องเที่ยวที่ดี๊ด๊าหลายคนต้องเจอปัญหาที่ร้านแต่งรถหลังสูบบุหรี่และถ่ายรูปโดยไม่ขออนุญาตก่อน

Tec-Art’s

เคอิจิ สึชิยะให้ Tec-Art’s ปรับรถให้

Tec-Art’s – Saitama (ไซตามะ)

Tec-Art’s เป็นอู่รถที่ไม่เป็นที่รู้จักอยู่ไกลออกไปจากท้ายเมืองไซตามะ เชี่ยวชาญในการแต่ง Toyota 86 อู่นี้เป็นผู้รอบรู้ที่สุดในโลกเกี่ยวกับเจ้า “ฮาจิ(8)–โรกุ(6)” และผลงานอยู่ในนั้นแล้ว รถคันต่างๆ กระจายรอบเวิร์คชอบประกอบด้วยรถสีม่วงรุ่น N2 16 วาล์วที่กรำศึกในสึกุบะมาแล้วกับ 86 รุ่น 7A-GE 20 วาล์วของเคอิจิ สึชิยะ คามาตะซัง หัวหน้าวิศวกร ได้รับรถที่ส่งมาหาเขาจากทั่วญี่ปุ่น และเป็นที่ไว้วางใจจากสึชิยะ ราชาดริฟท์ตัวจริง เพื่อนำรถส่วนตัวของเขาไปปรับแต่งค่อนข้างเป็นเกียรติทีเดียว

Tec-Art’s ไม่ได้แต่งแค่ 86 แต่ใช้ชีวิตและหายใจกับมันด้วย รถในชีวิตประจำวันของคามาตะเป็นรุ่น black limited edition ปรับแต่งและเสริมชุดเครื่องยนต์ให้แพงขึ้น นอกจากอุปกรณ์ชั้นสูงแล้ว คามาตะและทีมงานเป็นคนติดดินที่ชอบแบ่งปันความหลงใหลกับผู้อื่น พวกเขาตื่นเต้นที่จะต้อนรับแขกทั่วโลก ที่มาดูสิ่งที่ทีมงานทำ

>> 5 ของแต่งรถยนต์สำหรับผู้เริ่มต้น เป็นนักแต่งควรรู้คุณประโยชน์ก่อนควักเงินในกระเป๋า

มารยาท: อ่อนน้อมและยินดี

บรรดานักแต่งรถที่กลุ่มผู้เขียนพบเจอตลอด 8000 กม. เป็นพวกงานยุ่ง มีตารางงานทั้งปี ถ้าพวกเขามีเวลาว่างแปปเดียวมาถ่ายรูปหรือโชว์ผลงาน ยิ่งขอบคุณมาก พวกเขาจะยิ่งอุทิศให้ แค่ต้องพูดอาริกาโตะง่ายๆ ถ้าคำนับอีกนิดไปด้วย ผู้อ่านก็เป็นคนลูกครึ่งญี่ปุ่นแล้ว

TRA Kyoto Nissan

Nissan Silvia S14 Rocket Bunny

TRA Kyoto – Kyoto (เคียวโตะ)

เคอิ มิอูระได้พาตัวเองทะยานสู่แถวหน้าของวงการแต่งรถญี่ปุ่นด้วยสไตล์ที่แปลกทั้งชุดอากาศ ทรงผม และแนวรถแบบเก่าๆ ผู้เขียนได้ยินเขาบ่นกันว่า “มันเคยทำให้ตายได้นะ” แต่นั่นมันพวกนักเลงคีย์บอร์ดที่ปฏิเสธโอกาสตรงหน้าไป ผู้ชายคนนี้มีออร่าที่ไม่มีทางเห็นในอินเตอร์เน็ต เขาไม่สนใจเทรนด์ เขาไม่สนว่าใครจะรักหรือเกลียด และ ที่ TRA Kyoto (ใช่ ไม่ได้เป็นที่รู้จักแค่ Rocket Bunny นะ) รถยุค 70 ไม่มีวันตาย และเวลายังคงหยุดต่อไป แจ็คเก็ตนักบินหนัง ยีนส์โป่งที่สวมเข้ารองเท้าบู๊ทขี่รถปลดหนัง ปิดท้ายด้วยทรงผมโด่งดังทำให้ผู้ชายคนนี้ “เกิดด้วยสไตล์” จริงๆ การแต่งรถที่แหวกแนวถูกสร้างจากความรักในการซิ่งบนทางด่วนกลางคืนผิดกฎหมาย และเขาเป็นตำนานในวงการ ลืมวลีเกรียนคีย์บอร์ดที่เรียกว่า “ชุดก็อปแล้ววาง” และมาเจอนักแข่งคันโจของแท้ที่สุดแห่งคันไซตัวจริงเสียงจริง

>> Hella Flush ‘โหลดเตี้ย ล้อแบะ ยางดึง’ อีกหนึ่งสไตล์การแต่งยอดนิยมจากทั่วโลก

มารยาท: เบาเสียงหน่อย

ฟังดูแปลกๆ แต่ชาวต่างชาติที่ดี๊ด๊าเสียงดังมักเจอสายตาขู่ฆ่าจากคนแถวนั้น การคุยเสียงดังในที่สาธารณะไม่ใช่เรื่องยอมรับได้ในสังคมญี่ปุ่น ระวังเสียงดังด้วย เรื่องนี้เป็นปัญหาโดยเฉพาะในรถไฟ ที่ควรใช้เสียงเบาที่สุด ว่าตามตรง ทั้งตู้ไม่ได้อยากฟังพวกเราคุยกันว่าเที่ยงนี้กินไรดี อะไรก็ได้ อะไรดี งั้นก็... พอเหอะ เดี๋ยวยาว

Mazda FD RX-7

Mazda FD RX-7

Car Shop Glow (คาร์ ช็อป โกลว์) – Tokyo (โทเกียว)

ปัจจุบัน ยูกิมิตสึ ฮาระเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญ LED ด้านยานยนต์ชั้นนำของญี่ปุ่น งานของเขามักพบได้ตามรถโชว์ใน Tokyo Auto Salon แต่เขาเป็นที่รู้จักว่ามีความสนใจอีกอย่าง แข่งจับเวลา ถ้าผู้อ่านไม่คุ้นหน้า ก็ต้องคุ้นกับรถของเขา Mazda FD RX-7 ที่กดเวลาแค่ 56 วินาทีรอบสนามสึกุบะ

RX-7 13B โดย Zest Racing ให้กำลัง 395 กิโลวัตต์และเป็นหนึ่งในรถไร้ลูกสูบที่สวยที่สุดที่ผู้เขียนเคยได้ถ่ายภาพ RX-7 ของฮาระซังมีความเท่คือ รถที่เขาเคยใช้ทุกวันถูกพัฒนาตามวิสัยทัศน์ว่า RX-7 เพื่อจับเวลาควรออกมาเป็นยังไง และวิสัยทัศน์นั้นเปลี่ยนแปลงตลอดและไม่เคยเสร็จสิ้น

เท่าที่รถต่างๆ ของบริษัทผ่านไป คันนี้ต้องไปด้วย! ถ้าผู้อ่านชอบการใส่ใจรายละเอียด กับรถแข่งที่อาจขับผ่านโชว์ไปเฉยๆ ได้ นี่คือรถที่ต้องดู

มารยาท: ล้างเท้าให้หอม

ถ้าเท้าเหม็น ล้างก่อนออกไป ญี่ปุ่นเป็นพวกชอบถอดรองเท้ามากๆ และหลายแห่ง ผู้อ่านต้องถอดรองเท้าหน้าประตูแล้วใส่รองเท้าแตะในอาคาร ไม่มีอะไรแย่กว่าไปทานข้าวเย็นแล้วกลิ่นถุงเท้าเตะจมูกหนักกว่าปลาเผาอีก

RWB
RWB Tokyo

RAUH-Welt Begriff – Tokyo (โทเกียว)

ถ้าผู้เขียนตอบแบบขวานผ่าซาก ปัจจัยดึงดูดของแบรนด์นี้ไม่ใช่รถ หลักๆ คือคนที่เข้าใจแบรนด์ และจะเข้าใจ RWB จริงๆ ต้องไปเยี่ยมชมถ้ำที่ชิบะ เวิร์คช็อปไฟหรี่ของนากาอิซังสาดกลิ่นด้วย Sikaflex และธินเนอร์สี ขณะที่เพลง Pandora One บรรเลงอยู่ในพื้นหลัง และทำให้ผู้อ่านเข้าถึงการทำงานภายในของจิตใจ เขาเป็นศิลปินที่ต่อต้านเมล็ด ไม่ทำตามสภาพเป็นอยู่ และหลอมชื่อเสียงของตัวเองออกจากความหลงใหลที่ไม่เคยดับเพื่อสิ่งที่ทำ

บางอย่างที่อธิบายไม่ถูก ผู้อ่านต้องไปเห็นเองจึงจะเข้าใจ นี่คือหนึ่งในนั้น

มารยาท: นักแต่งรถก็คนนะ

อย่ากลัวที่จะคุยกับสาวๆ คุยกับคนอื่นให้ได้มากที่สุด พวกเขาไม่ได้มองตัวเองพิเศษอะไรและไม่รู้วิธีจัดการกับความน่าทึ่งของตัวเองยังไง หลายคนอ่อนน้อมและจะตื่นเต้นมากที่ผู้อ่านไปเยี่ยมชมเขาไม่ไปรอให้เขาเรียกเข้าชม มันแปลกที่คาโตะซังอยากถ่ายรูปด้วยทุกที่ แต่ช่างมันเถอะ (และอย่าลืมหาหมวกกันน็อคสีทองอร่ามมาใส่ตอนถ่ายด้วยล่ะ)

Tsukuba GT Sport
สึกุบะยังอยู่ในตระกูล GT และภาพนี้มาจาก PS4

Tsukuba Circuit (สึกุบะ เซอร์กิต) – Shimotsuma (ชิมตสึมะ), Ibaraki (อิบารากิ)

นี่คือสนามแข่งที่รู้สึกเหมือนอยู่บ้านก่อนจะมาถึงซะอีก สงสัยต้องขอบคุณ Gran Turismo (ตั้งแต่ GT4) ความยาวแค่ 2 กม.รอบสนาม ที่นี่เป็นบ้านเชิงจิตวิญญาณของการแข่งจับเวลาอย่างที่เราทราบ และมีแค่ไม้บรรทัดเท่านั้นที่ตัดสินได้ นี่คือบ้านของรถปีกใหญ่, diffuser อันมหึมา, และที่ๆ แค่ 1 ใน 10 ของวินาทีมีค่าทั้งชีวิต ระหว่างช่วงเดือนฤดูร้อนที่อากาศร้อนเหนอะหนะมันกึกก้องไปด้วยเสียงดริฟท์รถ และในเดือนฤดูหนาวที่น้ำแข็งผุกร่อน มันคำรามไปยังเสียงของการจับเวลา เหมือนที่เอบิสุ มีความรู้สึกที่บรรยายไม่ถูกแปลกๆ มันค้างเติ่งอยู่ในอากาศหนาวเหน็บขณะที่กำลังยืนรอบๆ แล้วถือกาแฟกระป๋องร้อนๆ ตอนเจ็ดโมงเช้า นี่คือสนามเล็กๆ ที่มีลักษณะน่าประทับใจมาก ซึ่งไปชิลได้ดีที่สุด อย่างที่คุณซูซูกิเคยบอกว่า “เมื่ออุณหภูมิเหลือ 6°C ทั้งวันเราเสร็จละ”

>> 6 วิธีแต่งรถยังไง ไม่ให้ใครแซวว่า “เสี่ยว”

มารยาท: อย่าเทน้ำเอง

ถ้าผู้อ่านต้องไปทานข้าวเย็นกับนากาอิซังทันที เมื่อมีเบียร์ขวดใหญ่ถึงโต๊ะ อย่าเทเบียร์เอง ควรขอให้คนอื่นเทให้ เริ่มจากการถือขวดแล้วเทให้หัวหน้าดื่มก่อน ต่อด้วยเพื่อนๆ สุดท้าย เก็บขวดแล้วให้คนอื่นเทให้แทน จำไว้ว่าให้ชนแก้วกับทุกคนโดยพูดว่า kanpai (คันไป) ก่อนดื่ม

Liberty Walk

Liberty Walk

Liberty Walk (ลิเบอร์ตี้ วอล์ค) – Nagoya (นาโกยะ)

สุดท้าย แต่ไม่ท้ายสุดแน่นอน นักแต่งรถที่ชอบใช้เสน่ห์ดึงดูดทั้งหมดของยุโรปแล้วโปรยปรายด้วยไอซิ่งโบโซโซกุแบบคลาสสิก วาตารุ คาโตะเป็นหนึ่งใน character ที่มีสีสันที่สุดที่ผู้อ่านอาจได้พบ เพราะอาจไม่เจอคนไม่มากเกินกำลังยิ้มขณะสไลซ์กันชนออกจากรถ Ferrari 458 กับ McLaren 650S คาโตะซังกล้าที่จะแตกต่าง

เขาเป็นนักแต่งรถอีกคนที่ไม่เคยคิดเผื่อว่าใครจะชอบวิธีการสร้างของเขา และรถทุกคนในคลังของเขาถูกสร้างตามสไตล์ของเขาเอง เขาออกมาเพื่อสนุก ไม่ว่าสถานการณ์จะจริงจังแค่ไหน ไม่แม้แต่ตอนถ่ายนิตยสารที่เขาใส่หมวกกันน็อคสีทองอร่ามขณะยืนขาเดียวและตะโกน “บันไซ!” เขาอาจเหมือนเด็กบ้าคนนึงที่ไม่เคยโต แต่ที่จริงเขาเป็นหนึ่งในนักแต่งรถแบบดั้งเดิมที่สุดที่ผู้เขียนเคยเจอและมีมารยาทมากๆ

มารยาท: เรียนรู้ศิลปะ Omiyage (โอมิยาเกะ)

Omiyage แปลว่าของฝาก และเมื่อผู้อ่านไปเยี่ยมชม ก่อนจากไป นักแต่งรถจะให้ของขวัญชิ้นเล็กๆ แทนคำขอบคุณที่มาชม สินค้าเช่นเสื้อยืดและสติ๊กเกอร์เป็นของฝากทั่วไป ถ้าชาว Chobrod จะไปสักร้านในญี่ปุ่น ลองหาของฝากไทยไป แล้วจะเซอร์ไพรส์ว่า...

ชาว Chobrod จะซื้ออะไรไปฝากดีครับเพื่อให้เหมาะสมกับสินค้าเกี่ยวกับรถ JDM จากนักแต่งรถเป็นการตอบแทน?